วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิสาหกิจชุมชน



วิสาหกิจชุมชน
วิสาหกิจ ชุมชน คืออะไรโดยนิยามกว้าง ๆ วิสาหกิจชุมชนคือ การประกอบการขนาดย่อมและขนาดจิ๋วของชุมชนเพื่อการจัดการ "ทุน" ของชุมชนอย่างสร้างสรรค์เพื่อการพึ่งเอง (SMCE -Small and Micro Community Enterprise) วิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม มีสมาชิกมากกว่า 15 คน วิสาหกิจชุมชนขนาดจิ๋ว มีสมาชิกตั้งแต่ 5 คน ถึง 15 คน
"ทุนชุมชน" มีอะไรบ้าง ทุนชุมชนมีทั้งทุนที่เป็นเงิน ทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ทุนที่เป็นผลผลติทุนความรู้ ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นพี่น้องและความไว้ใจกันของชุมชน
องค์ประกอบของวิสาหกิจชุมชนมีอะไรบ้าง มี อยู่อย่างน้อย 7 อย่าง คือ
1) ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ
2) ผลผลิตมาจากระบวนการในชุมชน
3) ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน
4) มีฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับภูมิปัญญาสากล
5) มีการดำเนินการแบบบูรณาการเชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
6) มีกระบวนการการเรียนรู้เป็นหัวใจ
7) มีการพึ่งพาตนเองเป็นเป้าหมาย
วิสาหกิจชุมชนแตกต่างจากธุรกิจชุมชนอย่างไร
ขณะ ที่ธุรกิจชุมชนเน้นที่การบริหารจัดการมุ่งสู่ตลาดและมุ่งกำไร วิสาหกิจเน้นความร่วมมือกันทำกิจกรรมเพื่อให้พึ่งตนเองได้ ขณะที่ธุรกิจชุมชนมีเป้าหมายได้ "รวย" วิสาหกิจชุมชนมีเป้าหมายให้ "รอด" ธุรกิจชุมชนมักจะดำเนินกิจกรรมเป็นเรื่อง ๆ อย่าง ๆ วิสาหกิจชุมชน เป็นระบบที่มีหลากหลายกิจกรรมเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เสริมกันแบบบูรณาการ ธุรกิจชุมชนดำเนินการตามรูปแบบและมักเลียนแบบ วิสาหกิจชุมชนมีความคิดสร้างสรรค์ ถ้าเปรียบเทียบธุรกิจชุมชนกับการทำการเกษตรก็คล้ายกับการปลูกพืชเดี่ยว ขณะที่วิสาหกิจชุมชนคล้ายกับการทำเกษตรผสมผสานหรือวนเกษตร คือ แทนที่จะ 2-3 อย่าง ก็ทำ 20-30 อย่าง
วิสาหกิจ ชุมชนเน้นที่เรื่องใดมากที่สุดเน้นที่วิธีคิดและกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด เพราะปัญหาที่ผ่านมาไม่ใช่เรื่องการผลติ ซึ่งชุมชนผลิตอะไรได้มาก มากมายจนไม่รู้จะขายที่ไหน ประเด็นวันนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ "วิธีทำ" แต่อยู่ที่ "วิธีคิด" ต้องปรับวิธีคิดใหม่ ถ้าทำแบบ "ปลูกพืชเดี่ยว" แต่ถ้าทำแบบเกษตรผสมผสานและวนเกษตรก็จะเน้นการทำวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้พอกิน พอใช้ก่อนแล้วค่อยพัฒนาไปสู่การจัดการเชิงธุรกิจ เมื่อพอเพียงและพึ่งตนเองได้ก็สามารถผลติให้เหลือเผื่อตลาดได้ ถ้าเกิดขายไม่ได้ก็ไม่เสียหาย ถ้าขายได้ก็เป็นกำไรวิสาหกิจชุมชนไม่ได้เอาตลาดมาเป็นตัวตั้ง แต่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ไม่ได้ปฏิเสธตลาด แต่ไม่เอาตลาดเป็นเป้าหมาย อย่างไรก็ดี ถ้าหากคิดจะนำผลผลติออกสู่ตลาดตั้งแต่ต้นก็อาจทำได้ แต่ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อาจเรียกได้เป็น "สูตรเด็ดเคล็ดลับ" มาจากการรู้จักใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ หรือทรัพยากรในท้องถิ่น บวกกับความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม
อย่าง ไรก็ดี ควรเริ่มจากเล็กไปหาใหญ่ สร้างรากฐานเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งก่อนทำกินทำใช้ก่อนทดแทนสิ่งที่ซื้อจาก ตลาดให้มากที่สุด และหากจะนำผลิตภัณฑ์ตัวเก่งออกสู่ตลาดก็ควรเรียนรู้จักการจัดการและกลไกของ ตลาดให้ดี และไม่หวังพึ่งพาตลาดเป็นหลักแต่พึ่งตนเองและพึ่งพากันเองมากกว่า
วิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงหรือ วิสาหกิจชุมชนมีฐานคิดอยู่บนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยยกตัวอย่างเพื่ออธิบายเรื่องนี้
วิสาหกิจ ชุมชนไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว ๆ ที่พอเริ่มต้นก็ทำเยอะ ๆ เพื่อมุ่งสู่ตลาดใหญ่ แต่เป็นกลุ่มกิจกรรมที่ชุมชนคิดได้จากการเรียนรู้ จาการสำรวจวิจัยสภาพชีวิตของตนเองรวมทั้งศักยภาพและทรัพยากรต่าง ๆ ที่เป็นทุนของตนเอง ที่ยังไม่ได้มีการพัฒนา ยังไม่มีกระบวนการเพิ่มมูลค่าให้สิ่งเหล่านั้น กิจกรรมเหล่านี้ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน ล้วนแต่เป็นการทำกิน ทำใช้ แทนการซื้อจากตลาด เป็นการจัดการระบบการผลิตและการบริโภคใหม่นั้นเอง เช่น จะจัดการเรื่อง ข้าวหมู เห็ด เป็ด ไก่ ปลา ผัก ผลไม้ น้ำปลา ยาสระผม สบู่ น้ำยาล้างจาน และข้าวของเครื่องใช้จำนวนมากซึ่งชุมชนทำได้เอง ผลติได้เอง โดยไม่ยุ่งยากอะไร แต่ไม่ทำเพราะคิดว่าจะหาเงินซื้อทุกอย่าง
การ ทำกินทำใช้ทดแทนการซื้อจากตลาดเท่ากับเป็นการลดรายจ่าย การลดรายจ่ายเท่ากับเพิ่มรายได้ที่ผ่านมาเราไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องลดราย จ่าย เราเน้นเรื่องการเพิ่มรายได้โดยลืมไปว่า พอรายได้เพิ่มรายจ่ายก็เพิ่มและมักจะมากกว่ารายได้เสมอ ทำอย่างนี้จะไม่ทำให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่เสียหายหรือ น่าจะตรงกันข้าม คือ ทำให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพราะเท่ากับเป็นการจัดระบบเศรษฐกิจใหม่ปรับฐานเศรษฐกิจใหม่ ฐานที่เป็นฐานจริงในชุมชน ถ้าชุมชนเข้มแข็งอยู่รอดพึ่งตนเองได้เศรษฐกิจของประเทศก็เข้มแข็งและอยู่ได้ ที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจโตแต่ข้างบน ข้างล่างอ่อนแอ ทำให้การพัฒนามีปัญหา ระบบเศรษฐกิจแบบหัวโตขาลีบไม่น่าจะยั่งยืน ต้องคิดแบบองค์รวมและมองภาพรวมของ สังคมทั้งหมด วิสาหกิจชุมชนจัดการการผลิตและการตลาดพอเพียงอย่างไรการจัดการเป็นเรื่อง ใหญ่ที่ชุมชนต้องเรียนรู้ เรียนรู้ว่าจะจัดการอย่างไรให้ชุมชนทั้งตำบลมาร่วมกันวางแผนการผลิต การตลาด การบริโภคร่วมกันไม่ใช่ต่างคนต่างทำ และที่สุดก็ทำซ้ำกันจนขายไม่ออกเหมือนทำกล้วยฉาบทั้งตำบล ทำแชมพูทุกหมู่บ้านแข่งขันกันขายหรือคนปลูกข้าวก็ปลูก ได้ข้าวมาก็เอาไว้กินส่วนหนึ่ง ที่เหลือก็ขายพ่อค้า พ่อค้าเอาไปแปรรูปแล้วเราข้าวสารกลับไปขายในหมู่บ้าน ชาวบ้านคนปลูกขายข้าวเปลือกราคาถูก ชาวบ้านที่ไม่ปลูกก็ไปซื้อข้าวสารราคาแพงจากตลาดมากิน ทำอย่างไรจึงจะตัดวงจรที่ว่านี้ และสร้าง "วงจรเศรษฐกิจชุมชน" ขึ้นมาใหม่เชื่อมโยงทุกเรื่องที่ทำได้ ข้าว ปลา อาหาร ข้าวของเครื่องใช้ และทำแบบประสานพลัง (Synergy) และทำให้เกิดผลทวีคูณ คิดเชิงบวกยังน้อยไป ต้องคิดแบบทวีคูณ นี่คือลักษณะสำคัญของวิสาหกิจชุมชน มีตัวอย่างการคิดและทำแบบทวีคูณ หรือแบบวิสาหกิจชุมชนบ้างไม่หมู่บ้านส่วนใหญ่มักจะประกอบอาชีพหลัก ๆ อยู่ไม่กี่อย่าง เช่น ตำบลเขคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ปลูกยาง ปลูกปาล์มและทำการประมงชายฝั่ง มีรายได้จากกิจกรรม 3 อย่างนี้ปีละประมาณ 60 ล้าน บาท มีหนี้สิน ธ.ก.ส แห่งเดียว 94 ล้านบาท ถ้ารวมธนาคารอื่น ๆ สหกรณ์ นายทุน กลุ่มต่าง ๆ ทั้งหมดแล้วเป็นหนี้ร้อยกว่าล้านบาท มีรายจ่ายประมาณ 200 กว่า ล้าน บาท ทำให้ชาวบ้านอยู่ในวังวนของหนี้สินที่เพิ่มขึ้นทุกปีแบบไม่มีทางออก วันนี้ชาวบ้านเหล่านี้ได้เรียนรู้ ทำแผนแม่บทชุมชน และเข้าใสภาพาชีวิตของตนเองดี และเข้าว่าทำไม่จึงเป็นหนี้มากขนาดนั้น ตัดสินใจวางแผนทำวิสาหกิจชุมชน จากที่ทำ 3 อย่าง มาทำ 39 อย่าง จัดระบบเศรษฐกิจชุมชนใหม่หมด โดยใช้ "ทุน" ของชุมชนให้มากที่สุด ทำให้เกิดระบบอาหารระบบของใช้ ระบบทุน ระบบการผลิต ระบบการจัดการผลิต และระบบตลาดขึ้นมาระบบเหล่านี้กิจกรรมต่าง ๆ เช่น โรงสีข้าว โรงงานน้ำดื่ม น้ำแข็ง ทำขนม การเลี้ยงวัว เป็ด ไก่ ให้ได้ เนื้อและไข่ การเลื้ยงปลา การปลูกผัก โรงงานผลิตยาสีฟัน น้ำยาล้างจาน ยาสระผม ผงซักฟอก สบู่ โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานปุ๋ย น้ำมันดีเซลปาล์ม กลุ่มออทรัพย์ระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล ระบบสวัสดิการชุมชน การเลี้ยงปลาในกระชัง การเลี้ยงปูนิ่มชุมชน ทุนเงินของชุมชนอาจจะไม่มาก แต่ทุนของชุมชนยังมีทรัพยากรความรู้ภูมิปัญญาและอื่น ๆ ซึ่งตีค่าเป็นเงิน หรือประเมินค่ามิได้ แต่ก็มีความสำคัญสำหรับวิสาหกิจชุมชน
สรุปว่าชุมชนให้ทุนตัวเองเป็นหลัก แต่ก็ต้องการทุนจากภายนอก เช่น จากหน่วยงานราชการ เอกชน หรือสถาบันการเงินเพื่อไป "สมทบ-เติมเต็ม" ให้ชุมชน
การตลาดของวิสาหกิจชุมชนทำอย่างไร
ประการ แรก คือการทำเพื่อบริโภคในครอบครัวในชุมชน และระหว่างชุมชนที่เป็นเครือข่ายในระดับตำบลและระหว่างตำบล เช่น การผลิตน้ำปลาให้พอเพียงกับความต้องการของตำบลก็คำนวณได้ไม่ยาก เช่น ถ้าตำบลหนึ่งบริโภคประมาณ 20,000 ขวดต่อปี ก็จัดการผลิตให้ได้เท่านั้น ให้ชุมชนถือหุ้น และช่วยกันขายช่วยกันบริโภคภายในตำบล
ถ้าระหว่างตำบล ระหว่างจังหวัดก็แลกเปลี่ยนผลผลิตกันได้ ดังที่มีกานำข้างจากยโสธรไปแลกกับไม้ยางและขี้เลื่อยที่นครศรีธรรมราช (เพื่อเอามาเพาะเห็น) เป็นต้นประการ ที่สอง ถ้าหากมีผลิตภัณฑ์บางตัวที่เก่งพอทีจะออกไปสู่ตลาดใหญ่ได้ก็เป็นเรื่องของ กลไกการตลาดที่ต้องกรผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีลักษณะเฉพาะ ดังกรณีน้ำหมากเม่าของเครือข่ายอินแปงที่ภูพานก็เริ่มจากการทำกินเองไม่กี่ พันขวด ไม่กี่ปีก็เพิ่มผลผลิตไปหลายหมื่นขวดเพราะความต้องการของตลาดอยู่เฉย ๆ ก็มีพ่อค้าแม่ค้าขอซื้อไปจำหน่ายในตลาด มีขายแม้ในสนามบินสกลนครนอกจากกลไกของตลาดก็เป็นเรื่องของเครือข่ายผู้ บริโภคที่เป็นชมรม สมาคมต่าง ๆ ที่อยู่ในเมืองซึ่งประสานกับชุมชนผู้ผลิตให้สินค้าจากหมู่บ้านเข้าไปสู่ตลาด เมืองด้วยความมั่นคงกว่าการไปแข่งขันกับผู้ผลิตอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ตรงนี้ต้องมีการจัดการโดยกระบวนการ "ประชาสังคม" ซึ่งในสังคมไทยยังคงต้องพัฒนากันอีกมา ที่ญี่ปุ่นมีกระบวนการนี้มานานที่เรียกกันว่า ไดอิจิ เชื่อมประสานระหว่างชุมชนในชนบทที่ผลิตกับชุมชนเมืองผู้บริโภคทำกันเป็น กระบวนการเป็นระบบ

สรุปว่า วิสาหกิจชุมชนมีกี่ประเภท

วิสาหกิจชุมชนอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1)            วิสาหกิจ ชุมชนพื้นฐาน อันได้แก่ การดำเนินการต่าง ๆ เพื่อกินเพื่อใช้ในชุมชน เพื่อให้ครอบครัวพึ่งตนเองได้ ให้ชุมชนเกิดความพอเพียงอย่างน้อยให้พออยู่พอกิน หรือพอกินพอใช้เมื่อลดรายจ่าย รายได้ก็เพิ่มขึ้น แปลว่า แม้ทำเพื่อกินเองใช้เองก็ทำให้เกิดรายได้เหมือนกัน และน่าจะดีกว่าอีก เพราะถ้ามุ่งแต่เพิ่มรายได้ โดยไม่เน้นการทำทดแทนการซื้อ เราก็จะมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ซึ่งก็คือ ที่มาของปัญหาหนี้สินหรือสถานการณ์ "ชักหน้าไม่ถึงหลัง" ของผู้คนในขณะนี้
2)            วิสาหกิจ ชุมชนก้าวหน้า อันได้แก่ การนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเข้าสู่ตลาดบริโภค และรวมไปถึงผลผลิตทั่วไปที่เหลือกินเหลือใช้ในท้องถิ่นที่นำออกสู่ตลาด บริโภค โดยการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต หีบห่อ การตลาด และการจัดวางต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ "แข่งขัน" ได้อย่างไรก็ดี ชุมชนต้องไม่กระโดดข้ามขั้น ต้องพัฒนาจากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นก้าวหน้าที่ละขั้น
สรุปแล้ว ตลาดผลิตภัณฑ์ของชุมชนมีกี่ประเภท
ตลาดอาจแบ่งได้เป็น 2 ตลาดใหญ่ คือ 1) ตลาดในท้องถิ่น ได้แก่ ตลาดในหมู่บ้าน ระหว่างหมู่บ้านเครือข่ายชุมชน ตลาดนี้เรียกว่า "ตลาดเพียงพอ" และ 2) ตลาดทั่วไป ที่เรียกว่า "ตลาดบริโภค"
อย่างไรก็ดี ควรจะมีตลาดที่ 2 คือ "ตลาดผูกพัน" ตลาดนี้จะต้องเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานองค์กร สถาบัน ประชาสังคม ที่จะสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน โดยการตรงลงที่จะซื้อผลิตภัณฑ์จากชุมชนหนึ่ง ตำบลหนึ่ง หรือเครือข่ายหนึ่ง ปีละจำนวนหนึ่ง เช่น รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่งลงนามซื้อผ้าฝ้ายทอเอง ย้อมสีธรรมชาติจากกลุ่มแม่บ้านของตำบลหนึ่ง จำนวน 10,000 เมตรต่อปี เพื่อนำไปให้พนักงานตัดชุดไทยใส่ทุกวันศุกร์ หรือโรงพยาบาลแห่งหนึ่งตกลงซื้อข้าวกล้องกลุ่ม เกษตรกรแห่งหนึ่งปี หนึ่ง 10 ตัน เพื่อให้คนไข้รับประทาน เป็นต้น
วิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์อย่างไร
วิสาหกิจ ชุมชนทำให้ชุมชนมีระบบคิด ระบบจัดการที่ชัดเจน แยกแยะได้ว่า อะไรที่ทำเพื่อกินเพื่อใช้และอะไรที่เหลือกินเหลือใช้ และอะไรที่ดีพอที่จะเอาออกสู่ตลาดใหญ่ ตัวหลังนี่เองเรียกกันว่า "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์" คือ ตำบลหนึ่งคัดเอาผลิตภัณฑ์ตัวเก่งที่สุดออกไปสู่ตลาดใหญ่ ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ถือว่าเป็น "พระเอก" หรือ "นางเอก" ที่ออกไปแล้วสู้ใครเขาได้เป็น
ผลิตภัณฑ์ ที่ตำบลได้คัดเลือกแล้ว ชาวบ้านในตำบลมีความภูมิใจในผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น มีลักษณะเด่นเฉพาะพองตัวเอง มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ของที่อื่น ๆ
วิสาหกิจชุมชนเกี่ยวอะไรกับกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท
เกี่ยวในแง่ที่ว่า ชุมชนมีแผนการจัดการทุนของตนเองอย่างเป็นระบบขึ้น เงินกองทุน 1 ล้าน บาทจากรัฐก็จะมีแนวทางการจัดการ นำไปเสริมความเข้มแข็งของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพแทนที่จะให้กู้ไปทำอะไรก็ ได้แบบต่างคนต่างทำ นำไปร่วมทุนในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชุมชนได้วางแผนเมื่อผ่านการเรียนรู้เงิน 1 ล้านบาทก็จะมีมูลค่าทวีคูณ
วิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับโครงการพักชำระหนี้อย่างไร
หนี้สิน ด้านหนึ่งเป็นปัญหาของความโกลาหลของชีวิตที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดความรู้เท่าทัน ขาดการจัดการที่ดี การเรียนรู้ทำแผนแม่บทและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเป็นกระบวนการจัดระเบียบชีวิต ใหม่ระเบียบเศรษฐกิจใหม่ของชุมชน เริ่มตั้งแต่การเรียนรู้จักตัวเอง ชุมชน และโลก แล้วสืบค้นหาศักยภาพและทุน พร้อมกับทางเลือกใหม่ แล้วจึงพัฒนาศักยภาพและทุนเหล่านั้น
ด้วยวิธีการใหม่ที่ เป็นระบบมากขึ้น ไม่ใช่ทำอะไรเดี่ยว ๆ และมุ่งเพียงแต่การเพิ่มรายได้ แต่เน้นการลดรายจ่ายซึ่งจะทำให้รายได้สูงขึ้น และจะมีเงินที่สามารถแบ่งไปใช้หนี้ได้
จุดแข็งของชุมชนเพื่อการทำวิสาหกิจชุมชนมีอะไรบ้าง
จุดแข็งของชุมชนมีอย่างน้อย 3 อย่างคือ
หนึ่ง ความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนยังมีป่า ดิน น้ำ ธรรมชาติที่มากด้วยสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิตเป็นอาหาร เป็นยา เป็นของใช้ต่าง ๆ ถ้าหากค้นให้พบคุณค่า สิ่งเหล่านั้นก็จะมีมูลค่า ดูแลหญ้าแห้วหมู หญ้าคา หญ้าแพรก ซึ่งคนยุคใหม่วันนี้เรียกกันว่า "วัชพืช" และพยายามทำลายด้วยสารเคมีก็ล้วนมีคุณค่าเป็นยาอายุวัฒนะ เป็นยาขับปัสสาวะ ลดความดัน ยอดหญ้าแพรกยังเอามาชุบแป้งทอดกันได้ และวัสดุดีที่สุดมาจากธรรมชาติ และธรรมชาติของไทยในเขตร้อนชื้นก็อุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
สอง ภูมิปัญญาท้องถิ่น แม้ว่าจะหายไปพร้อมกับคนรุ่นเก่า แต่ก็ยังมีเหลืออยู่ไม่น้อย และหารู้จักค้นหานำมาประยุกต์และผสมผสานก็อาจได้สิ่งสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ที่มีคุณค่าและมูลค่า
สาม เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน แม้ว่าอาจจะไม่เหมือนเดิม แต่ก็ยังมีเพียงพอให้ฟื้นขึ้นมาจนสามารถพึ่งพาอาศัยกัน ร่วมกันจัดการองค์กรชุมชนและเครือข่ายในเชิงเศรษฐกิจร่วมกันจัดการทรัพยากร ผลผลิตต่าง ๆ แบ่งกันผลิและร่วมกันบริโภค กาผลิตของกิน
ของใช้จะได้ไม่ล้นตลาด เกิดความพอเพียงชุมชนพึ่งตนเองได้
พูดอีกนัยหนึ่ง ชุมชนมี "ทุน" สำคัญ ๆ อยู่ 3 ทุน ซึ่งเป็นจุดแข็งของตนเอง คือ 1) ทุนทรัพยากร 2) ทุนทางวัฒนธรรม 3) ทุนทางสังคม

การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนวันนี้ใครทำอะไรอย่างไรบ้าง
ร่างพระราชบัญญัติวิสาหกิจชุมชนได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 ขณะ นี้ยังอยู่ในขั้นตอนตามกระบวนการ พ.ร.บ ฉบับนี้ส่งเสริมสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนทั้งการเรียนรู้ ทุนโครงสร้างพื้นฐาน มาตรา การภาษีและอื่น ๆ
วันนี้ได้เริ่มมีมาตรา การส่งเสริมสนับสนุนโดย ธ.ก.ส ซึ่งจัดเตรียมทุนไว้ประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาทอย่างไรก็ดี แม้ยังไม่มี พ.ร.บ
ฉบับ นี้ทุกฝ่ายก็สามารถส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนได้ เช่น การปรับโครงการสร้างและระบบการดำเนินงานขององค์กรของรัฐ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เช่น การจัดการเรื่องโรงเรียน การจัดซื้อข้าวของต่าง ๆ ตั้งแต่นมเด็ก อาหารกลางวัน เสื้อผ้านักเรียน ล้วนแต่สามารถโยงไปถึงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนได้หรือการจัดการทาการเกษตร พันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ ปลา และอื่น ๆ หน่วยงานราชการ ทหาร ตำรวจ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทุกแห่งล้วนแต่ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนได้หลากหลายรูปแบบและวิธีการ ตั้งแต่เสื้อผ้า (เอาแค่ให้ครู นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการหลายคนแต่งกายอาทิตย์ละครั้งด้วยผ้าพื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น) ข้าวซ้อมมือ ผัก ผลไม้ อาหารต่าง ๆ ที่ผลิตโดยชุมชน เหล่านี้ถ้าหากมีการปรับโครงสร้างและจัดระบบที่โปร่งใสกระจายอำนาจ (Good government) วิสาหกิจชุมชนก็เกิดได้และมั่นคงยืนยาว
โครงสร้างและระบบแบบนี้เกิดได้ถ้าหากเกี่ยวข้องกับนโยบายภาพรวมแบบองค์รวมและบูรณาการหรือมีการคิดแบบประสานพลัง (Synergy) ผลก็จะเกิดกับสังคมไทยเป็นทวีคูณ

สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน คืออะไร
สถาบันแห่งนี้เป็นองค์การร่วมหรือโครงการร่วม (Joint Programmer) ระหว่างมูลนิธิหมู่บ้าน ธ.ก.ส ปตท. และ สวทช. (สถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) เป็นการประสานพลังทำงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนโดยอาศัยศักยภาพของทั้ง 4 องค์กรนี้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและการจัดการต่าง ๆ อย่างครบวงจร
มูลนิธิหมู่บ้านทำงานกับชุมชนและกลุ่มเครือข่ายชุมชนทั่วประเทศ มีข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับชุมชนและวิสาหกิจชุมชน
ธ.ก.ส มีสาขาและเครือขายชุมชนและกลุ่มเครือข่ายชุมชนทั่วประเทศ มีบุคลากรมีประสบการณ์และมีทุนในการส่งเสริม
อุตสาหกรรมและธุรกิจชุมชนโดยเฉพาะในด้านการเกษตร
ปตท. มีความรู้และประสบการณ์การบริหารจัดการ มีทุน และมีสถานีบริการน้ำมันอยู่กว่า 1,500 แห่งทั่วประเทศ เป็นที่ประชาสัมพันธ์และเป็นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์บางอย่างของวิสาหกิจชุมชนได้
สวทช. มีความรู้ ประสบการณ์ และสามารถเชื่อมประสานบุคลากรที่เป็นอาจารย์ในสภาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อร่วมกันตอบสนองวิสาหกิจชุมชนในส่วนที่ต้องการข้อมูลความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ สถาบันยังร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การทำแผนแม่บทชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เช่น กระทรวงกลาโหม โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทำแผนแม่บทชุมชนทำนองเดียวกัน นอกนั้นยังร่วมมือกับสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติทำให้เกิดศูนย์ไอทีตำบล โดยการร่วมมือกันทำแผนแม่บทชุมชนเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ใน โรงเรียนและ การพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน
สถาบันนี้จะส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอย่างไร
1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การทำแผนแม่บทให้ครบทุกตำบล เพราะเชื่อว่าการทำแผนแม่บทเป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุด
ที่นำไปสู่การพัฒนาวิสากิจชุมชน และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้หลังการทำแผนแม่บท เฉพาะเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งการบริหารจัดการ
2. ส่ง เสริมให้เกิดระบบเศรษฐกิจรากหญ้าที่เชื่อมโยงวิสาหกิจชุมชนอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับ ตำบล ระหว่างตำบล จังหวัด และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจส่วนอื่น ๆ และเศรษฐกิจมหาภาค
3. ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดนโยบาย เพื่อให้รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของวิสาหกิจ
ชุมชน และร่วมกันให้การส่งเสริมสนับสนุนตั้งแต่การปรับนโยบาย โครงสร้างและระบบที่เอื้อต่อการพัฒนาและการดำเนินการวิสาหกิจชุมชน
สถานที่ติดต่อ
สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
C/O ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
469 ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร.02-280-0180 ต่อ 3327,02-281-7655
โทรสาร 02-281-7655

ทีมา: อาจารย์วิชิต ธาตุเพ็ชร
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและบริการวิชาการ
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/122439

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย

กรอบแนวคิดงานวิจัย

               การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสมการวาง กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล หลักสำคัญของการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย คือ
         1.    กำหนดตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ ไว้ด้านซ้ายมือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
         2.    กำหนดตัวแปรตาม ไว้ด้านขวามือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้
        3.     เขียนลูกศรชี้จากตัวแปรต้นแต่ละตัวมายังตัวแปรตามให้ครบทุกคู่ที่ต้องการศึกษา
             กรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นผลสรุปจากการศึกษาทฤษฏีและผลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาการวิจัย ซึ่งผู้เสนอเค้าโครงสรุปเป็นแนวคิดของตนเองสำหรับการดำเนินการวิจัย ของตน โดยทั่วไปก่อนการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษา ทฤษฏีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้มากพอว่ามีใครเคยทำวิจัยเรื่องทำนองนี้มาบ้างเขาทำอย่างไร  และข้อค้นพบของการวิจัยมีอะไรบ้างแล้วนำมาประกอบการวางแผนการวิจัยของตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกรอบในเชิงเนื้อหาสาระซึ่งประกอบด้วยตัวแปรและการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสำหรับการวิจัยเชิงพรรณา (Descriptive research) กรอบแนวคิดในการวิจัยอาจมีแต่การระบุเฉพาะตัวแปรว่ามีตัวแปรอะไรที่จะนำมาศึกษา กรอบแนวคิดดังกล่าว   จึงเปรียบเสมือนขอบเขตทางด้านเนื้อหาสาระของการวิจัย ส่วนการวิจัยประเภทอธิบาย (Fxplanatory research) กรอบแนวคิดของการวิจัยมีการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยกรอบแนวคิดคือการประมวลความคิดรวบยอดของงานวิจัย   ว่างานวิจัยที่ กำลังทำอยู่นี้ มีตัวแปรอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาเป็นอย่างไร อะไรเป็นตัวแปรอิสระ อะไรเป็นตัวแปรตาม
ความหมายของกรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดการวิจัย  หมายถึง  กรอบของการวิจัยในด้านเนื้อหาสาระ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร  ในการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย  ผู้วิจัยจะ ต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาและมโนภาพ(concept) ในเรื่องนั้น  แล้วนำมาประมวลเป็นกรอบในการกำหนดตัวแปรและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ต่าง ๆ  ในลักษณะของกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาเป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป
แหล่งที่มาของกรอบแนวคิดการวิจัย
         1.    ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้ได้มาซึ่งกรอบแนวคิดที่รัดกุม มีเหตุมีผล ผู้วิจัยควร อย่างยิ่งที่ต้องศึกษาทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา ไม่ว่าจะอยู่ในสาขาพยาบาล สาขาแพทย์ หรือสาขาทางสังคมศาสตร์อื่น ๆ ทั้งนี้เพราะไม่เพียงแต่จะได้ตัวแปรต่างๆ เท่านั้น ยังได้ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับปรากฏการณ์ที่ศึกษา อย่างมีเนื้อหาสาระ คำอธิบายหรือข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์หรือสรุปผลจะได้มีความหนักแน่นในเชิงทฤษฎี ดังนั้นการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนอกจากจะชี้ให้เห็นถึงตัวแปรใดสำคัญและมี ความสัมพันธ์กันอย่างไรแล้ว ยังทำให้กรอบแนวคิดในการวิจัยมีแนวทางที่ชัดเจนและมีเหตุผล
         2.    ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  หมายถึงงานวิจัยที่ผู้อื่นได้ทำมาแล้วมีประเด็นตรงกับประเด็นที่เราต้องการศึกษา หรือมีเนื้อหา หรือตัวแปรบางตัวที่ต้องการศึกษารวมอยู่ด้วย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้นอาจจะไม่ได้อยู่ในสาขาทางการพยาบาลเท่านั้น แต่อาจจะอยู่ในสาขาอื่นๆ ด้วย ดังนั้นผู้วิจัยควรมุ่งศึกษาว่าผู้ที่ได้ทำวิจัยมา แล้วมองเห็นว่า ตัวแปรใดมีความสำคัญหรือไม่อย่างไรกับปรากฏการณ์หรือประเด็นที่เราต้องการ ศึกษา หรือบางตัวแปรอาจจะไม่เกี่ยวข้องแต่ผู้วิจัยไม่ควรตัดทิ้ง เพราะสามารถนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อยืนยันต่อไปว่า มีหรือไม่มีความสำคัญในกลุ่มประชากรที่ศึกษาอยู่
             3.   กรอบแนวคิดของผู้วิจัยเองที่สังเคราะห์ขึ้นเอง นอกจากการศึกษาผลงานวิจัยและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้องแล้ว กรอบแนวคิดยังจะได้มาจากความคิดและประสบการณ์การทำงานของผู้วิจัยเองอีกด้วย
หลักการเลือกและประโยชน์ของกรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดที่ดีควรจะเป็นกรอบแนวคิดที่ตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระตัวแปรที่ต้องการศึกษา  มีความสอดคล้องกับความสนใจในเรื่องที่วิจัย  มีความง่ายและไม่สลับซับซ้อนมาก  และควรมีประโยชน์ในเชิงนโยบายหรือการพัฒนาสังคม   กรอบแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการวิจัยจะมีประโยชน์ต่อการดำเนินการวิจัยขั้นต่อ ๆ ไป  โดยเฉพาะในขั้นการรวบรวมข้อมูล  ขั้นการออกแบบการวิจัย  ขั้นการวิเคราะห์  และการตีความหมายผลการวิเคราะห์
การนำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย
การนำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยอาจทำได้หลายวิธี ดังนี้
        1.     การเขียนบรรยาย โดยระบุตัวแปรที่ศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร
        2.     การเขียนแบบจำลองหรือสัญลักษณ์และสมการ   
        3.     การเขียนแผนภาพ แสดงตัวแปรต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร
        4.     การเขียนแบบผสมผสาน
หลักเกณฑ์ในการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย
        1.     ตัวแปรแต่ละตัวที่เลือกมาศึกษา หรือที่นำเสนอไว้ในกรอบแนวคิดในการวิจัยต้องมีพื้นฐานเชิงทฤษฏีว่ามีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา
        2.     มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม
         3.    มีรูปแบบสอดคล้องกับความสนใจ หรือ วัตถุประสงค์ของการวิจัย
         4.    ระบุรายละเอียดของตัวแปรและหรือสามารถแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ชัดเจนด้วยสัญลักษณ์หรือแผนภาพ
หลักในการเลือกกรอบแนวคิด
หลักสำคัญในการเลือกกรอบแนวคิดในการวิจัยทางการพยาบาล มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ คือ
         1.    ความตรงประเด็น กรอบแนวคิดที่ตรงประเด็นของการวิจัย กล่าวคือ มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหา ซึ่งพิจารณาได้จากเนื้อหาของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม และระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย ในกรณีที่มีแนวคิดหลายๆ แนวตรงกับหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ผู้วิจัยควรเลือกแนวคิดที่ตนเองคิดว่าตรงกับประเด็นที่ต้องการศึกษามากที่สุด
         2.    ความง่ายและไม่สลับซับซ้อน กรอบแนวคิดที่ควรจะเลือกควรเป็นกรอบที่ง่ายแก่การเข้าใจ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หากมีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่จะนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิด ผู้ที่ทำวิจัยควรเลือกทฤษฎีที่ง่ายที่สุดที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาได้พอๆกัน
         3.    ความสอดคล้องกับความสนใจ กรอบแนวคิดที่ใช้ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวแปร หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้ที่จะทำการวิจัย
         4.    ความมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติการการวิจัยนั้นควรมีกรอบแนวคิดสะท้อนถึงประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลด้วย


ที่มา
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/400137
https://www.gotoknow.org/posts/400137



จรรยาบรรณนักวิจัย



จรรยาบรรณนักวิจัย ที่สภาวิจัยแห่งชาติกำหนด มีดังนี้

ข้อ 1  นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัยและมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ ได้จากการวิจัย โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1.1 นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ในทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย ตั้งแต่การเลือกเรื่องที่จะทำวิจัย การเลือกผู้เข้าร่วมทำวิจัย การดำเนินการวิจัย ตลอดจนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ นักวิจัยต้องให้เกียรติผู้อื่น โดยการอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลและความคิดเห็นที่นำมาใช้ในงาน วิจัย
1.2 นักวิจัยต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย นักวิจัยต้องเสนอข้อมูลและแนวคิดอย่างเปิดเผยและตรงมาในการเสนอโครงการวิจัย เพื่อขอรับทุน นักวิจัยต้องเสนอโครงการวิจัยด้วยความซื่อสัตย์โดยไม่ขอทุน ซ้ำซ้อน
1.3 นักวิจัยต้องมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย นักวิจัยต้องจัดสรรสัดส่วนของผลงานวิจัยแก่ผู้ร่วมวิจัยอย่างยุติธรรม นักวิจัยต้องเสนอผลงานอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่นำผลงานของผู้อื่นมาอ้างว่าเป็นของตน

ข้อ 2  นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตน สังกัด นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตกลงการวิจัยที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ยอมรับ ร่วมกัน อุทิศเวลาทำงานวิจัยให้ได้ผลดีที่สุดและเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบไม่ละทิ้งงานระหว่างดำเนินการ โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
2.1 นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย นักวิจัยต้องศึกษาเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ของเจ้าของทุนอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง นักวิจัยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ระเบียบและกฎเกณฑ์ตามข้อตกลงอย่างครบถ้วน
2.2 นักวิจัยต้องอุทิศเวลาทำงานวิจัย นักวิจัยต้องทุ่มเทความรู้ ความสามารถและเวลาให้กับการทำงานวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์
2.3 นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบในการทำวิจัย นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบ ไม่ละทิ้งงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และส่งงานตามกำหนดเวลา ไม่ทำผิดสัญญาข้อตกลงจนก่อให้เกิดความเสียหาย นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบในการจัดทำรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้ผลอันเกิดจากการวิจัยได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ข้อ 3  นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอและมีความ รู้ความชำนาญหรือมีประสบการณ์ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกันปัญหาการวิเคราะห์ การตีความ หรือการสรุปที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่องานวิจัย โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
3.1 นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ ความชำนาญหรือประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอเพื่อนำไปสู่ งานวิจัยที่มีคุณภาพ
3.2 นักวิจัยต้องรักษามาตรฐานและคุณภาพของงานวิจัยในสาขาวิชาการนั้นๆ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อวงการวิชาการ

ข้อ 4  นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกและมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
4.1 การใช้คนหรือสัตว์เป็นตัวอย่างทดลอง ต้องทำในกรณีที่ไม่มีทางเลือกอื่นเท่านั้น
4.2 นักวิจัยต้องดำเนินการวิจัยโดยมีจิตสำนึกที่จะไม่ก่อความเสียหายต่อคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
4.3 นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดแก่ตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาและสังคม

ข้อ 5  นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย นักวิจัยต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลย และขาดความเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะ อธิบาย จุดมุ่งหมายของการวิจัยแก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่หลอกลวงหรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
5.1 นักวิจัยต้องมีความเคารพในสิทธิของมนุษย์ที่ใช้ในการทดลองโดยต้องได้รับความยินยอมก่อนทำการวิจัย
5.2 นักวิจัยต้องปฏิบัติต่อมนุษย์และสัตว์ที่ใช้ในการทดลองด้วยความเมตตา ไม่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ทางวิชาการจนเกิดความเสียหายที่อาจก่อให้เกิดความ ขัดแย้ง
5.3 นักวิจัยต้องดูแลปกป้องสิทธิประโยชน์และรักษาความลับของกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง

ข้อ 6  นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่า อคติส่วนตนหรือความลำเอียงทางวิชาการ อาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูลและข้อค้นพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายต่องานวิจัย  โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
6.1 นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ไม่ทำงานวิจัยด้วยความเกรงใจ
6.2 นักวิจัยต้องปฏิบัติงานวิจัยโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์และไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง
6.3 นักวิจัยต้องเสนอผลงานวิจัยตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัย โดยหวังประโยชน์ส่วนตน หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น

ข้อ 7  นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคมไม่ขยายผลข้อ ค้นพบจนเกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัยไปในทางมิชอบ โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
7.1 นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบและรอบคอบในการเผยแพร่ผลงานวิจัย
7.2 นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัยโดยคำนึงถึงประโยชน์ทางวิชาการ และสังคม ไม่เผยแพร่ผลงานวิจัยเกินความเป็นจริง โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
7.3 นักวิจัยพึงเสนอผลงานวิจัยตามความเป็นจริง ไม่ขยายผลข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบ ยืนยันในทางวิชาการ

ข้อ 8  นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น นักวิจัยพึงมีใจกว้าง พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการวิจัยยอมรับฟังความคิดเห็นและเหตุผล ทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขงานวิจัยของตนให้ถูกต้อง โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
8.1 นักวิจัยพึงมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจในงานวิจัยกับเพื่อนร่วมงานและนักวิชาการอื่นๆ
8.2 นักวิจัยพึงยอมรับฟัง แก้ไขการทำวิจัยและการเสนอผลงานวิจัยตามข้อแนะนำที่ดี เพื่อสร้างความรู้ที่ถูกต้องและสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้

ข้อ 9  นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ นักวิจัยพึงมีจิตสำนึกที่จะอุทิศกำลังสติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทาง วิชาการเพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของสังคมและมวลมนุษย์ชาติ โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
9.1 นักวิจัยพึงไตร่ตรองหาหัวข้อการวิจัยด้วยความรอบคอบและทำการวิจัยด้วย จิตสำนึกที่จะอุทิศกำลังปัญญาของตน เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความเจริญของสถาบันและประโยชน์สุขต่อสังคม
9.2 นักวิจัยพึงรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการเพื่อความเจริญของสังคม ไม่ทำการวิจัยที่ขัดกับกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
9.3 นักวิจัยพึงพัฒนาบทบาทของตนให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น และอุทิศเวลา น้ำใจ กระทำการส่งเสริมพัฒนาความรู้ จิตใจ พฤติกรรมของนักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีส่วนสร้างสรรค์ความรู้แก่สังคมสืบ ไป          

อย่างไรก็ตาม สำหรับจรรยาบรรณสำหรับนักวิจัยนั้น ทางสภาวิจัยแห่งชาติได้กำหนดจรรยาบรรณของนักวิจัย สำหรับใช้เป็นหลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษา ค้นคว้า ให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของนักวิจัย 


ตัวอย่างของพฤติกรรมที่นักวิจัยกระทำผิดจรรยาบรรณ 

 ที่มักพบบ่อยๆไม่ว่าจะมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้ (จิตราภา กุณฑลบุตร, 2550)
1. การเลียนแบบชื่อเรื่องวิจัย โดยเปลี่ยนสถานที่เก็บข้อมูลหรือเปลี่ยนกลุ่มตัวอย่างของการเก็บข้อมูล 
2. การนำข้อมูลต่างๆ มานำเสนอในรายงานวิจัยโดยมิได้อ้างอิงแหล่งข้อมูล
3. การขอทุนวิจัยซ้ำซ้อนจากแหล่งทุนมากกว่าหนึ่งแหล่งทุน โดยมิได้แจ้งให้แต่ละแหล่งทุนทราบว่ากำลังขอทุนจากแหล่งทุนอื่น หรือเสนอจอรับทุนในแต่ละแหล่งด้วยประเด็นหรือกิจกรรมอะไร
4.  การไม่ทุ่มเทความรู้ ความสามารถและเวลาให้กับการทำวิจัยเต็มที่  นักวิจัยมักอ้างว่ามีภาระงานอื่นมาก  บางครั้งไปเร่งรัดดำเนินการเมื่อใกล้ถึงเวลาส่งงาน  หรือจ้างวานบุคคลอื่นทำ โดยมิได้ตรวจสอบผลการดำเนินงานแล้วใส่ชื่อตนเองรับผิดชอบ
5. การเบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังจะให้ข้อค้นพบจากงานวิจัย ตอบรับสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือหวังประโยชน์ส่วนตน
6.    การทำหลักฐานการเงินคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
7. การนำผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาไปใช้ประโยชน์ เช่นนำไปปรับเป็นข้อเสนอโครงการวิจัยใหม่ นำไปตีพิมพ์หรือนำไปอ้างอิงโดนมีระบุชื่อเจ้าของงาน
8. การนำผลงานวิจัยไปลงพิมพ์ในวารสารหลายฉบับ โดยปรับปรุงเพียงเล็กน้อย แต่สาระสำคัญเหมือนกัน
9. การส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอของผู้อ่านหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจผลงาน  และมิได้แจ้งเหตุผลของการมิได้ปรับปรุงแก้ไข

…………………………………..

****แปะไว้อ่านสอบ****

ที่มา 

http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book55_3/research.html