วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561

เกณฑ์การตัดสินค่าทางจริยธรรม (ความดี-ความชั่ว)

เกณฑ์การตัดสินค่าทางจริยธรรม (ดีชั่ว)

ทัศนะของพวกสัมพัทธนิยม  ;  การทำความดี คือ การทำตามความรู้สึกและจารีตประเพณี
เห็นว่าดีชั่วไม่ใช่สิ่งตายตัว การกระทำหรือการปฎิบัติอันใดอันหนึ่งจะดีหรือชั่ว ผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและปัจจัยหลายๆอย่างในสภาพหนึ่งสิ่งหนึ่งอาจจะดีหรือถูก แต่ในสภาพหนึ่งอาจจะเลวหรือผิดก็ได้
พวกสัมพัทธนิยม มีแนวคิดว่าดีชั่ว ถูกหรือผิด มิได้มีจริงแต่เป็นสิ่งสมมุติและมีลักษณะเป็นอัตวิสัย คือ ดีชั่วมิได้มีจริงอย่างแน่นอนตายตัว โดยตัวของมันเอง แต่มันขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคนจะมอง ขึ้นอยู่กับสังคม การกระทำอย่างหนึ่งสำหรับคนหนึ่ง หรือสังคมหนึ่ง อีกสภาพแวดล้อมหนึ่ง และอีกเวลาหนึ่ง อาจถือว่าเป็นสิ่งชั่วก้อได้ บุคคล เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม ผลที่เกิดขึ้น สภาพทางเศรษฐกิจ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยในการกำหนดดีชั่ว ดีชั่วจึงไม่ใช่สิ่งตายตัว เปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพราะดีชั่วขึ้นกับสิ่งอื่น หรือดีชั่วสัมพัทธ์กับสิ่งอื่น
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
ด้วยเหตุที่พวกสัมพัทธ์นิยมเห็นว่าดีชั่วไม่แน่นอนตายตัว เพราะฉะนั้น เกณฑ์ที่ใช้ตัดสิน ก็ไม่แน่นอนตายตัวด้วย มักขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม ความรู้สึก จารีต ประเพณี เป็นต้น
การกระทำความดี คือ การกระทำในสิ่งที่เรารู้สึกเห็นด้วย จึงกล่าวได้ว่า ดีชั่วขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคน หรือพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ดีชั่วเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ความรู้สึกของใคร ก็ความรู้สึกของคนนั้น
การกระทำความดี คือ การกระทำตามจารีตประเพณี คนต่างจารีตประเพณีกัน จะมองดีชั่วต่างกัน การกระทำแบบเดียวกันถิ่นหนึ่งประเพณีหนึ่งถือว่าเป็นสิ่งดีในขณะที่อีกถิ่นหนึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่เลวไม่ควรทำ
สรุปพวกสัมพัทธ์นิยมถือว่าดีชั่วเป็นเพียงสมมุติหามีจริงไม่ แต่ละท้องถิ่นอาจสมมุติแตกต่างกันออกไป ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆที่สามารถถือได้ว่าเป็นกฎเกณฑ์สากลที่มนุษย์ทุกยุคทุกสถานที่จะยอมรับร่วมกันได้ ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เมื่อดีชั่วไม่มีจริง เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่วก็ไม่มีจริงด้วยมันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของมนุษย์แต่ละคนแต่ละกลุ่มเท่านั้นพวกนี้จึงถือว่ามนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง ด้วยตัวของตัวเองคนอื่นไม่เกี่ยวดีชั่วเป็นเรื่องของแต่ละคน ต่างคนต่างความรู้สึก ต่างประเพณี ต่างศาสนา ย่อมตัดสินดีชั่วต่างกัน คนอื่นจะใช้ความรู้สึกของเขามาวัดการกระทำของเราไม่ได้และเราจะใช้ความรู้สึกของเราไปตัดสินการกระทำของคนอื่นก็ไม่ได้เช่นกัน
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่วในทัศนะของพวกสัมพัทธนิยม
เป็นอัตวิสัย คือ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตัวผู้วัดและจารีตประเพณี เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า มนุษย์เป็นเครื่องวัดทุกสิ่งด้วยตัวของตัวเอง
ทัศนะของพวกสัมบูรณนิยม  : การทำดี คือ การทำตามสำนึกมโนธรรม
สัมบูรณ์ คือ ไม่ขึ้นอยู่กับ ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งอื่นใด แต่จะมีลักษณะคงที่แน่นอนตายตัวในตัวของมันเอง
สัมบูรณ์นิยม ถือว่าดีชั่วถูกผิดมีจริงอย่างแน่นอนตายตัว และเด็ดขาดโดยตัวของมันเอง ถืออะไรดีก็ดีเสมอทุกสถานที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ ถ้าอะไรชั่วก็ชั่วเสมอทุกสถานที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์  ไม่ใช่ว่าการการทำอย่างเดียวกันบางครั้งดีแต่บางครั้งชั่ว ถ้าการกระทำอย่างหนึ่งดีมันต้องดีเสมอโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ขึ้นอยู่กับผลของการกระทำนั้นว่า จะทำให้มนุษย์เป็นสุขหรือเป็นทุกข์มากขึ้น ไม่ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็น      ผู้ตัดสิน
ลักษณะดีชั่วในทัศนะของพวกสัมบูรณนิยม จึงถือว่าเป็น ปรวิสัย ดีชั่วแบบ ปรวิสัยนี้ไม่ขึ้นอยู่กับใครเป็นผู้ตัดสิน หากดีชั่วอยู่ภายในตัวมันเอง เทียบง่ายๆกับข้อสอบปรนัยถือถูกหรือผิดเป็นปรวิสัย คือ จะถูกข้อ ก ข ค ง ก็ถูกอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ว่าใครจะเป็นคนตรวจ ซึ่งต่างกับข้อสอบแบบอัตนัยซึ่งมีลักษณะเป็นอัตวิสัย
สรุป ผู้ที่เชื่อว่าดีชั่วมีจริงในการกระทำ ย่อมเชื่อต่อไปด้วยว่าถ้าการกระทำอย่างหนึ่งดี มันย่อมดีเสมอ ไม่ว่าใครจะเป็นผู้กระทำ ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำแล้วจะเกิดผลอย่างไร การพูดความจริงย่อมดีเสมอไม่ว่าจะพูดแล้วจะเกิดผลเช่นไร ถ้าหมอบอกความจริงแก่คนไข้แล้วคนไข้ช็อคตาย นั่นก็ไม่ทำให้การพูดความจริงซึ่งมีความดีอยู่ในตัวกลายเป็นสิ่งที่เลวไปได้  การฆ่าคนที่ไม่มีความผิดย่อมเป็นการกระทำที่เลวภายในตัวมันเอง ไม่ว่าจะฆ่าเพื่อชิงทรัพย์หรือช่วยชีวิตคนก็ตาม เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะการกระทำมีความดี ความชั่วภายในตัวมันเอง ความดี ความชั่ว ไม่ขึ้นอยู่กับการกระทำนั้นทำให้มนุษย์สุขหรือทุกข์ ไม่ขึ้นอยู่กับว่าคนชอบหรือไม่ชอบมัน ถ้าการกระทำหนึ่งเลวย่อมเลวเสมอ
เกณฑ์การตัดสินดีชั่ว
คือ มโนธรรม พวกสัมบูรณ์นิยมจึงมีทัศนะว่าการทำดี คือ การกระทำตามสำนึกมโนธรรม  มโนธรรม คือ ความสำนึกทางศีลธรรมที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ในตัวแล้วโดยธรรมชาตินั่นเอง   มโนธรรม คือ เสียงกระซิบของเหตุผลที่ออกมาจากส่วนลึกของจิตใจในขณะปราศจากกิเลศครอบงำ มโนธรรม จะหยั่งเห็นได้โดยตรงว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร และอะไรไม่ควร
ทัศนะของพวกประโยชน์นิยม  : การกระทำดี คือ การทำประโยชน์สุขให้มหาชน
1. พวกประโยชน์นิยมเป็นสัมพัทธนิยม :ดีชั่วขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น
พวกประโยชน์นิยม มองว่า ดีชั่วถูกผิดไม่แน่นอนตายตัว แต่มันขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงไปตามอีกสิ่งหนึ่ง คือ ประโยชน์สุข การกระทำใดที่จะถือว่าเป็นการกระทำดี ก็คือการกระทำที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุข ส่วนการกระทำใดที่ถือว่าเป็นการประทำชั่ว ก็คือการกระทำที่ก่อให้เสียผลประโยชน์สุข
๒. พวกประโยชน์นิยมเป็นสุขนิยม : ความดีเป็นสิ่งเดียวกับความสุข
พวกสุขนิยม มองว่า ความดีกับความสุขเป็นสิ่งเดียวกัน การกระทำความดี คือการกระทำที่ก่อให้ความสุขมากที่สุดและยังความทุกข์ให้เกิดน้อยที่สุด
ตามทัศนะของพวกประโยชน์นิยม จึงใช้สุขทุกข์เป็นเครื่องตัดสินดีชั่ว คือ ทำดี คือ ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุข ทำชั่ว คือ ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดความทุกข์
พวกสุขนิยม แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ
ปัจเจกสุขนิยม คือ พวกสุขนิยมส่วนตน และ สาธารณสุขนิยม คือ พวกที่เน้นผลหวังผลประโยชน์สุขของสาธารณชนหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
ใช้ผลประโยชน์สุขเป็นเครื่องตัดสินดีชั่ว ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า หลักมหสุข คือ
๑ การกระทำใดก็ตามที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุขมากที่สุด แก่คนจำนวนมากที่สุด ถือว่าเป็นการกระทำที่ดีที่สุด
๒ การกระทำบางอย่างอาจจะก่อให้เกิดทั้งสุขและทุกข์หรือประโยชน์และโทษปนกันถ้าหักลบกันแล้วก่อให้เกิดประโยชน์หรือสุขมากกว่าก็ถือว่าเป็นการกระทำดี
๓ ถ้าในเงื่อนไขที่ไม่สามารถเลือกได้ การกระทำทุกอันล้วนก่อให้เกิดทุกข์ หรือโทษทุกกรณี การกระทำที่ก่อให้เกิดทุกข์หรือน้อยที่สุดก็ถือว่าเป็นการกระทำดีเช่นกัน
ลักษณะของการตัดสินดีชั่วของพวกประโยชน์นิยม
๑ การตัดสินใจทำอะไรลงไปแต่ละครั้งก่อนลงมือกระทำยังไม่อาจบอกได้ว่าการกระทำนั้นดีหรือชั่ว เพราะแนวคิดสายนี้วัดกันที่ ผลที่ได้
๒ การตัดสินดีชั่วไม่คำนึงถึงเจตนาของผู้กระทำว่าทำลงไปโดยเจตนาดีหรือชั่ว แต่พวกประโยชน์นิยมจะตัดสินกันด้วยสิ่งที่แลเห็น คือ ผลที่ได้
ทำโดยเจตนาดี ผลออกมาดี ตัดสินว่าทำดี
ทำโดยเจตนดี ผลออกมาให้โทษ ตัดสินว่าทำชั่ว
เจตนาชั่ว  ผลออกมาชั่ว ตัดสินว่าทำชั่ว
เจตนาชั่ว  ผลออกมาดี ตัดสินว่าทำดี
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
พวกประโยชน์นิยมใช้หลักมหสุข  คือ การกระทำที่ดีที่สุด คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุขมากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด  ถ้าการกระทำใดมีทั้งสุขทั้งทุกข์ปนก็คำนวณดู ถ้าให้สุขมากกว่าก็ถือว่าทำดี แต่ถ้าทุกการกระทำล้วนก่อให้เกิดทุกข์ อันใดก่อให้เกิดทุกข์น้อยที่สุดก็ถือว่าทำดี
ลักษณะของการตัดสินดีชั่ว
การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดดีหรือชั่วไม่คำนึงถึงเจตนา ของผู้กระทำ แต่ให้คำนึงถึง ผลที่ได้ เป็นเกณฑ์
ทัศนะของค้านท์ : การทำดี คือ การทำด้วยเจตนาดี
มองว่าดีชั่วแบบวัตถุวิสัยหรือปรวิสัย คือ มองแบบเดียวกับพวกสัมบูรณ์นิยมที่ถือว่าดีชั่วจะต้องเป็นสิ่งมีจริงอย่างแน่นอนตายตัว เมื่อดีชั่วมีจริงอย่างนี้จะเอาความรู้สึกหรือผลตัดสินดีชั่วได้นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัวเช่นเดียวกัน สิ่งนั้นคือ เจตนาดี  อะไรที่ทำโดยเจตนาดีก็ตัดสินว่าทำดี แต่ถ้าทำโดยเจตนาไม่ดีก็ตัดสินว่าทำไม่ดี
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
ค้านท์ ใช้ เจตนา เป็นเกณฑ์ตัดสินดีชั่ว โดยถือว่าการทำดี คือ การกระทำด้วยเจตนาดี  การกระทำโดยเจตนาดี คือ การทำตามหน้าที่  การกระทำตามหน้าที่ คือการกระทำที่เกิดจากแรงจูงใจของเหตุผลและก่อให้เกิดกฎศีลธรรม   ซึ่งเป็นการกระทำที่เกิดจากคำสั่งที่ถูกต้อง ที่ถูกต้อง  แรงจูงใจที่ถูกต้อง คือแรงจูงใจที่เกิดจากเหตุผล  คือ ทำตามหลักการ โดยไม่คำนึงตัวบุคคล ญาติพี่น้อง หรือทำเพราะเมตตาสงสาร กิเลส ตัณหา

เกณฑ์การตัดสินค่าทางจริยธรรม (ดีชั่ว)
ทัศนะของพวกสัมพัทธนิยม  ;  การทำความดี คือ การทำตามความรู้สึกและจารีตประเพณี
ทัศนะของพวกสัมบูรณนิยม  : การทำดี คือ การทำตามสำนึกมโนธรรม
ทัศนะของพวกประโยชน์นิยม  : การกระทำดี คือ การทำประโยชน์สุขให้มหาชน
ทัศนะของค้านท์ : การทำดี คือ การทำด้วยเจตนาดี
.......................................................................................
 สัมพัทธนิยม กับประโยชน์นิยม  มองว่า ดีชั่วไม่มีจริง ไม่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น เช่น เวลา สถานที่  เป็นอัตวิสัย
สัมพัทธนิยม ตัดสินว่า การทำความดี คือ การทำตามความรู้สึก และจารีตประเพณี ตัวเราเป็นเป็นตัดสินว่าดี หรือชั่ว
ประโยชน์นิยม ตัดสินว่า การทำดี คือ การทำประโยชน์สุขให้มหาชน ไม่ดูเจตนา แต่ดูที่ผลของการกระทำ ถ้าผลออกมาแล้วเป็นประโยชน์สิ่งนั้นดี

สัมบูรณ์นิยม กับค้านท์ มองว่า ดีชั่วเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัว เป็นสิ่งที่มีจริง ถ้าการกระทำหนึ่งดี สิ่งนั้นย่อยดีเสมอไม่ว่าจะทำที่ไหนและเมื่อไหร่ เช่นการพูดความจริงเป็นการทำดี เสมอ  เป็น ปรวิสัย
สัมบูรณ์นิยม ตัดสินว่า การทำความดี คือ การทำตามสำนึกของมโนธรรม  เช่น การฆ่าคน ย่อมชั่วเสมอ การโกหก ย่อมชั่วเสมอ
ค้านท์ ตัดสินว่า การทำดี คือ การทำด้วยเจตนาดี

สรุปแนวคิด สอบ ป โท

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

พัฒนาการของทฤษฎีการเรียนรู้

พัฒนาการของทฤษฎีการเรียนรู้
หากมองย้อนไปในประวัติศาสตร์เราจะเห็นว่าแหล่งที่มาของความรู้ที่มนุษย์ได้รับนั้นมีอยู่
หลายแหล่งด้วยกัน ในยุคแรกนิทานพื้นบ้านและความเชื่อต่าง ๆ เป็นที่มาของความรู้ นิทานพื้นบ้าน
ที่เล่าสืบกันในหมู่ชนต่าง ๆ นั้นจะแฝงไว้ด้วยวัฒนธรรม ประเพณี สภาพการดำเนินชีวิตต่าง ๆ ของชุมชน
สุภาษิตและคำพังเพยที่สรุปจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นให้แนวคิดและหลักการในการดำเนินชีวิต เช่น
น้ำขึ้นให้รีบตักช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม เป็นต้น ความรู้จากนิทานพื้นบ้านได้แพร่จากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง
ได้ด้วยการเล่าสืบกันต่อมาจากนักเดินทาง และนักเล่านิทาน อย่างไรก็ดีปัญหาของการแปลความจาก
แหล่งความรู้เหล่านี้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตนั้นมีได้หลากหลายแนวทางซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับ
เพราะยังขาดกระบวนการในการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบหรือที่เรียกว่ากระบวนการแสวงหาความรู้
ความจริง ในยุคเริ่มต้นของการมีอารยธรรม เช่น ในยุคกรีกโบราณ มนุษย์พยายามหาคำอธิบาย
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เช่น การเกิดทะเล พายุ ฟ้าร้อง ตลอดจนถึงพฤติกรรมต่าง ๆ
ของมนุษย์ว่าเกิดจากการกระทำของเทพเจ้าโปซิดอน เป็นต้น แต่คำอธิบายที่มาจากความเชื่อก็ไม่สามารถ
ทำให้โลกพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
ดังนั้นในยุคต่อมาก่อนที่วิทยาศาสตร์จะเจริญก้าวหน้านั้นจึงได้มีกระบวนการในการแสวงหาความจริง
ที่เรียกว่า ปรัชญาหรือระบบการคิดเชิงตรรกะเข้ามาอธิบายให้ความหมายของธรรมชาติและความจริง
เช่น ความพยายามที่จะตอบคำถามว่า ความจริงคืออะไร ความรู้คืออะไร การรู้ หมายความว่าอย่างไร
ธรรมชาติของความจริงเป็นสิ่งที่คงที่ แน่นอนหรือไม่ ในยุคกำเนิดของปรัชญานี้ มนุษย์พยายามแสวงหา
ความจริงของโลกภายนอกหรือธรรมชาติ และโลกภายในคือความจริงของแต่ละบุคคล นักปรัชญาได้
พยายามให้นิยามความจริง และการเรียนรู้ซึ่งก็คือการแสวงหาความจริงว่าคืออะไร ด้วยวิธีการใช้เหตุผล
เชิงตรรกะหรือวิธีนิรนัย
เพลโต (Plato) นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงซึ่งมีชีวิตก่อนปีคริสตศักราช (327-417 B.C.) ได้ให้
นิยามความจริงคือ ความคิดที่บริสุทธ์ เขาเชื่อว่าความคิดและความคิดรวบยอดต่าง ๆ มีรูปและดำรงอยู่
ภายในบุคคล การเรียนรู้คือ กระบวนการพัฒนาความคิดใฝ่ดีที่มีอยู่ในมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ตามแนวคิด
ของเพลโต ความคิดจะได้รับการพัฒนาผ่านการเรียนรู้วิชาที่เชื่อว่ามีรูปความคิดบริสุทธ์ เช่น คณิตศาสตร์
อริสโตเติล (Aristotle) ศิษย์ของเพลโต ให้นิยามความจริง คือความสัมพันธ์ที่พบในธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ดังนั้นแหล่งของความรู้ ก็คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเรียนรู้เกิดขึ้นผ่าน
การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดของอริสโตเติล ความรู้เกิดจากการสร้างภาพ (image) จาก
ประสบการณ์และการเชื่อมโยงของภาพเหล่านั้น ปัญหาของการใช้วิธีการปรัชญาในการสร้างความรู้
เกี่ยวกับโลกแห่งความจริงก็คือ ประการแรก วิธีการทางปรัชญาหรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะใช้ได้กับ
คำถามทั่วไป ไม่สามารถตอบคำถามเฉพาะที่ต้องการได้ และได้สารสนเทศจำกัด ประการต่อมาขาด
การทดสอบ ดังนั้นจึงพบข้อบกพร่องในการสรุปและการอธิบายเหตุและผลของปรากฏการณ์ ในช่วง
ระหว่างปีก่อนคริสตศักราช 400 B.C. ถึง ศตวรรษที่ 19 วิธีการทางปรัชญานับเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ
ของความรู้
การวิจัยเชิงประจักษ์ (empirical research) หรือการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นตั้งแต่
ศตวรรษที่ 16 เมื่อกาลิเลโอบุกเบิกการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือการค้นหาความจริงเกี่ยวกับโลก
ด้วยกระบวนการหาหลักฐาน ข้อมูลจากการสังเกตอย่างเป็นระบบ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์
กาลิเลโอได้ใช้การทดลองเพื่อตรวจสอบกฎเกณฑ์ในธรรมชาติ โดยทำการทดลองที่มีชื่อเสียงมากที่เมืองปิซา
ประเทศอิตาลี จากการทดลองปล่อยวัตถุสองก้อนที่มีน้ำหนักต่างกันลงมาพร้อมกัน พบว่าวัตถุตกลง
ถึงพื้นดินพร้อมกัน การทดลองนี้พิสูจน์ว่าแรงโน้มถ่วงของโลกกระทำต่อวัตถุทั้งสองเท่ากัน วิธีการหา
ความรู้ด้วยการทดลองเชิงประจักษ์ได้ทำให้เกิดข้อความรู้มากมายเพื่อตอบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโลก
ธรรมชาติ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญซึ่งเปลี่ยนแปลงความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ที่สำคัญก็คือ
การค้นพบของชาลส์ ดาวินส์ (Charles Darwins) เรื่อง กำเนิดของสิ่งมีชีวิต (origin of species) ในปี
ค.ศ. 1859ซึ่งก่อกำเนิดทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ที่อธิบายว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบันนั้น
มิได้ดำรงอยู่อย่างที่เป็นในอดีต แต่เกิดจากการที่สิ่งมีชีวิตนั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่
เปลี่ยนแปลงมาอย่างยาวนาน ความคิดของมนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิวัฒนาการ
ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1930-1950 ซึ่งเป็นช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นักจิตวิทยาที่ศึกษาค้นคว้า
เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ได้ใช้การทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อที่จะสร้างทฤษฎีที่จะอธิบายการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้ค้นพบความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนองที่มีผลต่อการ
แสดงพฤติกรรม ข้อความรู้จากนักจิตวิทยาเป็นประโยชน์ต่อนักการศึกษา แพทย์ นักธุรกิจและบุคคล
อื่นๆ ในการนำไปใช้ปรับพฤติกรรมของมนุษย์ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของทฤษฎี
การเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม แต่ช่วงที่มีการประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ มาสู่การออกแบบการเรียน
การสอนที่สำคัญคือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งเป็นแบ่งได้ 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1950-1975 จากห้องปฏิบัติการสู่ห้องเรียน
เป็นช่วงของการนำทฤษฎีการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นในห้องทดลองมาประยุกต์ใช้ใน
การออกแบบกระบวนการฝึกอบรมบุคคลให้มีทักษะการปฏิบัติ
ระยะที่ 2 ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1975-1990 ช่วงก่อกำเนิดของทฤษฎี
การเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมที่สนใจกระบวนการคิด การแก้ปัญหามากกว่าการทำเป็น ทำได้ดังเช่นใน
ช่วงแรก
ระยะที่ 3 ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1980-ปัจจุบัน เป็นช่วงที่ปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรมและปัจจัย
ด้านบุคคลได้รับความสนใจว่ามีผลกระทบต่อการเรียนรู้อย่างไร
ระยะที่ 4 ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1990-ปัจจุบัน เป็นช่วงการก่อกำเนิดของทฤษฎีการสร้างความรู้ที่เชื่อว่า
ความรู้เป็นสิ่งที่บุคคลแต่ละคนสร้างความหมาย ความเข้าใจของตนขึ้นจากประสบการณ์และความรู้เดิมที่มีอยู่
พัฒนาการของทฤษฎีการเรียนรู้ในแต่ละช่วงเวลาดังกล่าวจะช่วยให้เราเข้าใจแนวคิดและแนวโน้มของการออกแบบ
การเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปตามทฤษฎีการเรียนรู้ที่ยึดถือเป็นพื้นฐาน ซึ่งจะกล่าวถึงในรายละเอียด ดังนี้ (Gredler,
1997, pp. 51-60)
ระยะที่ 1 จากห้องปฏิบัติการสู่ห้องเรียน (ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1950-1975)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ประกอบด้วยประเทศอเมริกา อังกฤษและ
ประเทศที่เป็นพันธมิตรมีความต้องการทางการทหารในการฝึกฝนคนให้สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มี
ความซับซ้อนเพื่อใช้ในการสงคราม เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร การยิงปืนต่อสู้อากาศยาน เป็นต้น จึงเป็น
จุดเริ่มต้นของการน าแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ซึ่งวิจัยในห้องทดลองมาใช้จริงในการฝึกอบรม ซึ่งพบ
ปัญหาว่าหลักการเรียนรู้เกี่ยวกับผลของรางวัลที่มีต่อการฝึกหัดไม่ได้ผลมากนัก เพราะยังมีพฤติกรรมอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดและการรับรู้สารสนเทศ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวางเงื่อนไขของสิ่งเร้า
และการตอบสนองเท่านั้น จึงก่อให้เกิดความพยายามในการออกแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
มากขึ้น โดยคำนึงถึงองค์ประกอบในการเรียนการสอนต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะและ
ความสามารถในการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดีความต้องการทางการทหารในการฝึกคนในช่วงสงครามก็
ไม่ได้ทำให้การออกแบบการเรียนการสอนได้รับความสนใจและเห็นว่าเป็นความจำเป็นในระดับต้น ๆ
จนกระทั่งรัสเซียสามารถปล่อยยานอวกาศสปุทนิค (sputnik) ขึ้นสู่วงโคจรของโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ในโลกเมื่อปี ค.ศ. 1957 ทำให้อเมริกาเริ่มตระหนักว่า ระบบการศึกษาของตนนั้นล้มเหลวและ
จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการศึกษาอย่างรีบด่วนโดยเฉพาะวิชาที่สำคัญ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
และภาษาศาสตร์ อเมริกาได้ทุ่มเทงบประมาณในการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาทักษะด้านการคิด
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบและให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น ในระยะนี้นักวิจัยทางการศึกษาสนใจที่จะ
นำทฤษฎีการเรียนรู้มาแปลงสู่การปฏิบัติหรือการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ได้มากขึ้น บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรและการออกแบบการเรียน
การสอนจนได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเสนอทฤษฎีการสอนเป็นคนแรกคือ บรูเนอร์
(Bruner, 1966, p. 40) โดยบรูเนอร์เป็นผู้ที่กล่าวว่า ทฤษฎีการสอนควรอธิบายหลักการสำหรับการออกแบบ
การเรียนการสอนในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังกล่าวว่าทฤษฎีการเรียนรู้เป็นข้อความ
ที่อธิบาย พรรณนาการเรียนรู้ว่าเป็นอย่างไร (descriptive) ในขณะที่ทฤษฎีการสอนเป็นข้อความเชิงบรรยาย
และพรรณนา (prescriptive) สภาพการณ์ของการจัดการเรียนการสอนว่าทำอย่างไร นอกจากบรูเนอร์แล้ว
แนวคิดในการออกแบบการเรียนการสอนของบุคคลที่มีผู้นำไปใช้ในห้องเรียนมากที่สุดในช่วงเวลานี้ คือ
แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner) เพียเจต์ (Piaget) และกานเย (Gagné) ผลงานในการนำทฤษฎี
การเรียนรู้ไปใช้ในการออกแบบหลักสูตรและการเรียนการสอนของบุคคลเหล่านี้ ได้แก่
1. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของบรูเนอร์ บรูเนอร์เป็นผู้ที่เสนอว่า เป้าหมายทางการ
ศึกษาควรเป็นไปเพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้และสติปัญญา ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีความสามารถในการ
แก้ปัญหา หลักสูตรควรเอื้อต่อการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยผ่านกระบวนการสืบสอบและค้นพบ
บรูเนอร์ได้แบ่งระดับการพัฒนาสติปัญญาว่ามี 3 ลำดับ ได้แก่
ขั้น enactive เป็นขั้นการลงมือปฏิบัติหรือขั้นทำเป็น แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ว่ามี
ขั้นตอนในการทำอย่างไร
ขั้น iconic เป็นขั้นที่สามารถสรุปสิ่งที่เห็นเป็นภาพ คือ สามารถนำเสนอสิ่งที่ทำได้เป็น
แผนภูมิ แผนภาพได้
ขั้น symbolic เป็นขั้นการคิดอย่างเป็นนามธรรม คือ สามารถใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์
เพื่ออธิบายประสบการณ์หรือการกระทำของตนได้
ในการเรียนรู้วิชาการต่าง ๆ จึงควรนำเสนอความรู้ให้เป็นไปตามลำดับการพัฒนาทาง
สติปัญญาของผู้เรียนคือ จากการกระทำสู่ภาพและสัญลักษณ์ หลักสูตรควรออกแบบเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ให้มีความรู้อย่างถ่องแท้ โดยการจัดโครงสร้างของเนื้อหาวิชาหรือการจัดความคิดรวบยอดที่ค่อย ๆ
พัฒนาผู้เรียนไปตามลำดับจากพื้นฐานยกระดับไปสู่ความคิดรวบยอดที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการจัดหลักสูตรแบบ
ก้าวเวียน “spiral curriculum” นอกจากนี้บรูเนอร์ยังได้กล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนที่อาจกล่าวได้
ว่าเป็นแนวคิดหรือหลักการในการออกแบบการเรียนการสอนว่า
“เราสามารถสอนวิชาใดก็ได้ให้กับนักเรียนไม่ว่าจะอยู่ในระดับขั้นพัฒนาการใดให้
เรียนรู้ได้ ถ้าจัดให้อยู่ในรูปแบบที่สอดคล้องกับสติปัญญาของผู้เรียน” (Bruner, 1964 cited in
Gredler, 1997, p. 53)
2. เครื่องช่วยสอนของสกินเนอร์ (Skinner’s teaching machine) สกินเนอร์เป็น
นักทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่ศึกษาการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (operant conditioning
theory) ในหลากหลายลักษณะเพื่อศึกษาผลของการตอบสนองต่อสิ่งเร้า สกินเนอร์สนใจการให้
แรงเสริมที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปสำคัญในการเรียนรู้ว่า การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับ
การเสริมแรงมีแนวโน้มที่จะกระทำซ้ าอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงมีแนวโน้มว่าความถี่ของ
การกระทำจะลดลงและหายไปในที่สุด สกินเนอร์ได้นำหลักการให้แรงเสริมนี้ไปพัฒนาเครื่องสอน
(teaching machine) สำหรับใช้ในห้องเรียนและสื่อที่ใช้ร่วมกับเครื่องสอนนี้ที่เรียกว่า บทเรียนแบบ
โปรแกรม (program instruction) ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ในยุคหลังสงคราม การสอนประกอบด้วย
สื่อที่ให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตนเอง (self-paced) และสื่อที่เรียนด้วยตนเอง (standalone)
โดยไม่ต้องมีผู้สอน เนื้อหาที่นำมาสอนจะจัดเป็นกรอบความรู้ที่เรียงลำดับจากง่ายไปยาก ผู้เรียน
เรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อที่จัดไว้ตามลำดับ สื่อการเรียนแบบโปรแกรมนี้ได้รับความนิยมในช่วง
ค.ศ. 1957-1965 หลังจากนั้นก็เสื่อมความนิยมลง เนื่องมาจากการออกแบบการเรียนการสอนโดยผู้ที่ไม่
เข้าใจการออกแบบและประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่เชื่องช้าในยุคนั้น อย่างไรก็ตามเครื่องสอนของ
สกินเนอร์ได้เป็นต้นแบบที่พัฒนามาเป็นบทเรียนส าเร็จรูปหรือบทเรียนแบบโปรแกรมในปัจจุบัน
ระยะที่ 2 การก่อกำเนิดของทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1975-1990)
การพัฒนาของทฤษฎีการเรียนรู้ในช่วงนี้คือ การค้นคว้าและหาพยานหลักฐานของการเรียนรู้
ที่เป็นการสร้างความหมาย ความเข้าใจของมนุษย์ โดยเชื่อว่ากระบวนการคิดของผู้เรียนคือปัจจัยสำคัญ
ในการอธิบายการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีที่ผู้เรียนรับรู้สารสนเทศ กระบวนการจัดกระทำกับสารสนเทศ
และการประยุกต์ใช้สารสนเทศ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมมุ่งอธิบายโครงสร้างทางความคิด
การเปลี่ยนแปลงความคิดและสิ่งที่เป็นตัวแทนความคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญในช่วงนี้คือทฤษฎี
เกสตัลต์ (gestalt theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อยู่กึ่งกลางระหว่างทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยมก่อนจะก้าวสู่
ทฤษฎีกลุ่มพุทธินิยม เป็นทฤษฎีที่สนใจเกี่ยวกับการรับรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นรูปร่างหรือรูปแบบที่เป็นภาพรวม
ของสิ่งนั้น หรือรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นสถานการณ์เดียวกัน
ทฤษฎีที่สำคัญอีกทฤษฎีหนึ่งคือ ทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ (information
processing theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาของเครื่องคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
ซึ่งมีศักยภาพในจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก ทฤษฎีนี้เปรียบเทียบการทำงานของสมองในการเปลี่ยน
สารสนเทศที่ได้รับมาเป็นโครงสร้างของความคิดที่เก็บเป็นความทรงจำของมนุษย์กับการประมวลผล
สารสนเทศของเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสนใจศึกษาเรื่อง“การรู้คิด” (metacognition) ซึ่ง
หมายถึง การตระหนักรู้เกี่ยวกับความรู้และความสามารถของตนเองและใช้ความเข้าใจในการรู้ดังกล่าวใน
การจัดการควบคุมกระบวนการคิด การท างานของตนด้วยกลวิธีต่าง ๆ อันจะช่วยให้การเรียนรู้และงาน
ที่ทำประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ (ทิศนา แขมมณี, 2555, หน้า 82)
ระยะที่ 3 การก่อกำเนิดของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1980-ปัจจุบัน)
ในช่วงที่ผ่านมา ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ที่
มีความซับซ้อนได้ ซึ่งทำให้นักจิตวิทยาให้ความสนใจผลกระทบของปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มี
ต่อการเรียนรู้ เป็นที่มาของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (social learning theory) เนื่องจากพฤติกรรม
การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งมีความซับซ้อน ต่างจากการศึกษา
พฤติกรรมของสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการมากนัก นักทฤษฎีการเรียนรู้คนสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ แบนดูรา
(Bandura, 1977) ซึ่งต่อมาได้รับการกล่าวถึงในฐานะนักทฤษฎีพุทธินิยมเชิงสังคม (social-cognitive
theory) หลักการพื้นฐานที่สำคัญของทฤษฎีนี้กล่าวว่า ผู้เรียนเรียนรู้พฤติกรรมใหม่จากการสังเกตพฤติกรรม
ของผู้อื่นหรือที่เรียกว่าพฤติกรรมตัวแบบและผลที่ตามมาของการแสดงพฤติกรรมและนำสารสนเทศที่ได้รับ
จากการสังเกตมาใช้ในการตัดสินใจว่าจะยอมรับพฤติกรรมใดเพื่อนำไปปฏิบัติ กระบวนการในการสังเกต
และตัดสินใจนี้เป็นกระบวนการภายในที่เกิดกับผู้เรียนเกี่ยวกับการประมวลผลสารสนเทศ ทฤษฎีการเรียนรู้
ของแบนดูราจึงเป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานจากทั้งทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีกลุ่มพุทธินิยม แบนดูรา
ยังพบว่าทั้งตัวแบบและความเชื่อที่บุคคลมีต่อตนเองเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้ (Gredler, 1997)
ไวก็อทสกี (Vygotsky) เจ้าของทฤษฎีประวัติศาสตร์สังคม (socio-historical theory) เป็น
อีกผู้หนึ่งที่ได้รับการจัดให้เป็นนักทฤษฎีในกลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมนี้ด้วย ผลงานของไวก็อทสกี
แม้ว่าจะเป็นงานที่ทำมานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1924-1938 ซึ่งเป็นงานที่อธิบายกระบวนการคิดของมนุษย์
เช่นเดียวกับงานของเพียเจต์แต่มีแนวคิดในลักษณะที่แตกต่างกัน แต่กว่าผลงานของเขาจะได้รับการแปล
จากภาษารัสเซียเป็นภาษาอังกฤษและได้รับการตีพิมพ์ให้โลกตะวันตกได้ทราบนั้นก็ล่วงมาถึง ปี ค.ศ. 1980
ซึ่งทำให้ทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism) ซึ่งพัฒนาต่อจากทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมได้รับ
ความสนใจจากนักการศึกษาทั่วโลกอย่างแพร่หลาย (Gredler, 1997, p. 237)
ระยะที่ 4 การก่อก าเนิดของทฤษฎีการสร้างความรู้ (ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1990-ปัจจุบัน)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism) มีพื้นฐานมาจากปรัชญาเหตุผลนิยม (rationalism)
ปรัชญานี้มีความเชื่อว่าเหตุผลเป็นแหล่งกำเนิดของความรู้ ความจริงได้จากการสร้างมากกว่าการค้นพบ
นักปรัชญาเหตุผลนิยมเชื่อว่าไม่มีความจริงเดียวที่ได้รับการค้นพบ แต่ละคนสร้างความจริงที่เป็นของตนเอง
(Smith & Ragan,1999, p. 15) เมื่อสืบสาวถึงที่มาของทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism)
พบว่าพื้นฐานสำคัญมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (cognitive development) ของเพียเจต์
และทฤษฎีประวัติศาสตร์สังคม (socio-historical theory) ของไวก็อทสกี ทั้งสองทฤษฎีทำให้เกิดหลักการ
สำคัญในการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีผู้นำมาใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลกในปัจจุบัน
การปฏิรูปการศึกษาของไทยทศวรรษแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2540–2550 ที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด ก็ได้มี
การนำทฤษฎีการสร้างความรู้นี้มาเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการจัดการเรียนรู้
จากพัฒนาการของทฤษฎีการเรียนรู้ในแต่ละระยะที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าทฤษฎีการ
เรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญในการออกแบบการเรียนการสอน ในช่วงแรกคือ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม
พฤติกรรมนิยม (behaviorism) ต่อมาทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (cognitivism) ทฤษฎีการเรียนรู้
ทางสังคม ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมและทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมนี้เองซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ
ของทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีบทบาทสำคัญในการออกแบบการเรียน
การสอนในปัจจุบัน

//ที่มา https://sites.google.com/site/hnwykarreiynru123/phathnakar-khxng-thvsdi-kar-reiyn-ru
24/04/2561 google.com

แนวคิดในการพัฒนาชุมชน

แนวคิดในการพัฒนาชุมชน

2.1.1  การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมของประชาชน (people’s participation) การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นคำที่เริ่มใช้กันเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา เพื่อแสดงว่าโครงการพัฒนาต่างๆ ที่นำไปให้ชาวบ้านในชุมชนต่างๆนั้น ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม บ้าง ก็บอกว่ามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยชุมชนมีส่วนสมทบงบประมาณ 5-10% ถ้า
ไม่มีเงินก็คิดจากมูลค่าแรงงาน วัสดุสิ่งของหรือวัสดุแรงงาน หรืออะไรก็ได้ที่มาจากชุมชนงบประมาณเกือบทั้งหมด รวมทั้งการคิดและวางแผนมาจากข้างบน (top down) คือมาจากหน่วยงานภายนอกทั้งหน่วยงานราชการหรือองค์กรเอกชนบ้างก็บอกว่ามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน คือ การเก็บข้อมูลวางแผนการปฏิบัติ และประเมินผล และอ้างว่านี่คือกระบวนการที่มาจากข้างล่าง (bottom up) รวมทั้งอ้างว่าได้มีการทำประชาพิจารณ์(public hearing) แล้วซึ่งหมายถึงว่าได้รับการ รับรอง จากชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการทรัพยากร การบริหารจักการชุมชน คน ทุนของชุมชน จึงต้องมีการ
แยกแยะเนื้อหาและรูปแบบของ “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ให้เหมาะสมกับในแต่ละเรื่องพร้อมกับวิธีการและกระบวนการที่เหมาะสมการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงไม่ใช่แต่เพียงรูปแบบ เช่นการเลือกตั้งในทุกระดับ แล้วก็ปล่อยให้ผู้ได้รับเลือกตั้งไปดำเนินการทุกอย่างทุกเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนหมายความว่า หลังการดำเนินงานของผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชนการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงไม่ใช่เพียงไปหา 5-10%มาสมทบโครงการที่องค์กรจากภายนอกนำเข้าไปให้ ไม่ใช่การเข้าไปเก็บข้อมูลให้ข้าราชการที่บอกว่าจะเอาไปทำโครงการพัฒนาท้องถิ่น ไม่ใช่แค่การไปร่วมประชุมรับฟังการเสนอโครงการแล้วยกมือรับรองแล้วอ้างว่าเป็นประชาพิจารณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนคือการแสดงออกถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชนในการจัดการทุนชุมชน จัดการชีวิตของตนเอง การมีส่วนร่วมเกิดจากแนวความคิดในการพัฒนาชุมชน คือ กระบวนการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีโอกาสได้แสดงทัศนะและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งมีการนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐ ประกอบด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน (ประชาพิจารณ์) การวางแผนร่วมกัน และการพัฒนาศักยภาพของประชาชนให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยมีหลักการดังนี้คือ
1.)      หลักจิตสำนึกและความรับผิดชอบ คือ หลักการที่สำคัญที่องค์การทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบ ซึ่งจะสะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) เป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบ จำเป็นต้องปฏิบัติโดยยึดหลักนิติธรรมและความโปร่งใส
2.)        หลักความคุ้มค่า คือ การคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ในการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน รวมทั้งมีการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อมและมีความสามารถในการแข่งขันกับภายนอก
3.)        เป้าหมายและวิธีการของการวางแผนแบบมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมอาจเป็นทั้งเป้าหมายและวิธีการ ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมแบบวิธีการ ต้องอาศัยการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งทำให้คนส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกความเป็นเจ้าของ เกิดความรับผิดชอบร่วมกันและการเกิดผลประโยชน์ของกลุ่มเนื่องจากความเข้มแข็งของกลุ่มเป็นเป้าหมายที่ได้รับ (นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร, 2546:34)

ทศพล กฤตยพิสิฐ (2537) กล่าวถึงการมีส่วนร่วมตามขั้นตอนในการพัฒนาออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นริเริ่มการพัฒนา ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาภายในชุมชน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดความต้องการของชุมชน และมีส่วนร่วมในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการด้วย
            ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการวางแผนในการพัฒนา ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ กำหนดวิธีการและแนวทางการดำเนินงานตลอดจนกำหนดทรัพยากรและแหล่งทรัพยากรที่ใช้
            ขั้นตอนที่ 3 ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์โดยการสนับสนุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน หรือเข้าร่วมบริหาร ประสานงาน และดำเนินการขอความช่วยเหลือจากภายนอก
            ขั้นตอนที่ 4 ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการพัฒนาหรือยอมรับผลประโยชน์อันเกิดจากการพัฒนาทั้งด้านวัตถุและจิตใจ
            ขั้นตอนที่ 5 ประชาชนเข้าร่วมประเมินการพัฒนาที่ได้กระทำไปนั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์เพียงใด ซึ่งในการประเมินอาจปรากฏในรูปของการประเมินผลย่อย (Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลก้าวหน้าเป็นระยะๆ หรือกระทำในรูปของการประเมินผลรวม (Summative Evaluation) ซึ่งเป็นการประเมินผลสรุปสุดยอด
ระดับของการมีส่วนร่วม
การวัดระดับของการมีส่วนร่วมในมิติเชิงคุณภาพ แนวคิดของอาร์น สไตน์ ให้ความสำคัญต่ออำนาจในการตัดสินใจ และเห็นว่าการมีส่วนร่วมมีลักษณะเป็นรูปของบันไดการมีส่วนร่วม 8 ขั้นตอน แบ่งขั้นการมีส่วนร่วมจาก
            ขั้นต่ำ ระดับ 1-2 คือ การมีส่วนร่วมเทียม ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ แต่มีเพียงคนกลุ่มน้อยเข้ามามีบทบาทหลักในการตัดสินใจ
            ขั้นกลาง ระดับ 3-5 คือ การมีส่วนร่วมบางส่วน ความคิดเห็นของประชาชนยังไม่มีหลักประกันว่าจะได้รับการตอบสนองจากผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ
            ขั้นสูง ระดับ 6-8 คือ การเพิ่มระดับการตัดสินใจในการเจรจา การใช้อำนาจผ่านตัวแทน ควบคุมโดยประชาชนผ่านตัวแทน หรือเป็นผู้ใช้อำนาจตัดสินใจโดยตรง

2.1.2 การพัฒนาชุมชนแบบพึ่งตนเอง (Self - Reliance Community Development)
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนของการกระจายอำนาจ พ.ศ.2542 มีผลทำให้หน่วยงานของรัฐพยายามปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องพระราชบัญญัติดังกล่าว ประชาชนในชุมชนก็มีความตื่นตัวในการที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนมากขึ้น การกระจายอำนาจลงสู่ชุมชนทำให้การพัฒนาชุมชนขึ้นอยู่กับประชาชนในท้องถิ่นทั้งสิ้นและผู้ที่ทำหน้าที่สนับสนุน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวคิดและโครงการ วิชาการก็คือเจ้าหน้าที่ภาครัฐในชุมชนบทนั่นเอง ดังทนงศักด์ ได้กล่าวถึงบทบาทของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ว่าต้องกระตุ้นให้ประชาชนได้รู้ ได้เข้าใจ ถึงแนวคิด หลักการวิเคราะห์ ปัญหาของชุมชน และให้ประชาชนตระหนักว่าเป็นปัญหาร่วมกันของทุกคนในชุมชน มิใช่ของคนใดคนหนึ่ง (ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ และคนอื่น ๆ .2534: 18) การกระทำเช่นนี้จะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกว่าตนเองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอภิปราย ถกเถียง พิจารณาปัญหาต่างๆ ในชุมชนของตนเองด้วย จะรู้สึกร่วมรับผิดชอบในการดำเนินโครงการ เหมือนเป็นปัญหาของตนโดยแท้จริงการพัฒนาชุมชนไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้วยการจัดกิจกรรมในด้านใดย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานการสนับสนุน ให้ประชาชนพึ่งตนเองได้เป็นประการสำคัญ หากสิ่งใดเกินกว่าความสามารถของประชาชนเช่นทางด้านวิชาการและวัสดุที่จำเป็น รัฐบาลย่อมเข้าให้การช่วยเหลือเพื่อโครงการ กิจกรรมของราษฎรบรรลุผลด้วยดี ทั้งนี้โดยวิธีการ ทำงานกับประชาชน (work with people) หมายถึงร่วมคิด ร่วมปรึกษา และร่วมกันทำงาน ไม่ใช่ทำให้ประชาชน (Work for people) แต่ฝ่ายเดียว ” (จิตจำนงค์ กิติกีรติ, 2525 : 54)
แนวคิดการพัฒนาชุมชนแบบพึ่งตนเองเป็นแนวคิดที่เหมาะสมที่เหมาะสมที่จะใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมของกลุ่มประเทศทางตะวันตกได้ดี เพราะอาศัยพื้นฐานวัฒนธรรมทางตะวันตกเป็นแนวคิดหลัก และทฤษฎีการพัฒนาชุมชนแบบพึ่งตนเองเป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นจากการได้ประจักษ์ถึงความบกพร่องของการพัฒนาตามกระแสหลัก เช่นทฤษฎีทางพุทธศาสตร์ ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง (ทฤษฎีใหม่) ซึ่งอาคม กล่าวว่าทฤษฎีการพัฒนาแบบพึ่งตนเองเป็นทางเลือกเพื่อการพัฒนาประเทศอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของกลุ่มประเทศโลกที่สาม จากนักเศรษฐศาสตร์และนักสังคมศาสตร์หลายๆประเทศ โดยอาศัยรากฐานการสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่ผ่านมาว่า ภายใต้กระบวนการพัฒนาของประเทศต่างๆ ทั้งในเอเชียบางประเทศและประเทศแถบละตินอเมริกา ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาแท้จริงหรือไม่แต่ผลปรากฎจากการที่ได้กล่าวถึงไว้แล้วในทฤษฎีความด้อยพัฒนาและการพึ่งพิงนั้นก็พบว่าประเทศในโลกที่สามต้องตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมตลอดมา การกระจายความเจริญกระจุกอยู่ในเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางการปกครอง ความมั่งคั่งก็ตกอยู่กับผู้นำประเทศเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ความยากจนของประชาชนในชนบทก็ยังปรากฏอยู่ทั่วไป ถึงแม้ผู้นำประเทศจะพยายามแสดงให้เห็นถึงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการพิจารณาจากรายได้ประชาชาติ ซึ่งเป็นการมองเพียงภาพรวมระดับประเทศที่มิได้คำนึงถึงความเป็นจริงระดับบุคคลว่า รายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้นนั้นได้กระจายไปทุกระดับหรือไม่ (อาคม ใจแก้ว, 2534 : 75)
แนวคิดการพัฒนาชุมชนแบบพึ่งตนเองเป็นสิ่งที่นักพัฒนาและเจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ชุมชนชนบทควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
2.1.3 การพัฒนายั่งยืน ( sustainable development )หมายถึง การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบันโดยไม่ทำให้ผู้คนในอนาคตเกิดปัญหาในการตอบสนองความต้องการของตนเอง” (นิยามของคณะกรรมการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา World Commission on Environment and
Development ในรายงาน Our Common Future 1987 หรือ Brundtland Report ) การพัฒนายั่งยืนรวมความถึง 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน โครงการพัฒนาใดๆต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งสามด้านนี้ การพัฒนายั่งยืนเป็นมากกว่าเพียงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการ
เปลี่ยนโครงสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมเพื่อลดการบริโภคทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมลงไปในระดับที่ยังรักษาความสมดุลที่ดี ทำให้คนอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ทำลายล้างอย่างที่ผ่านมาและทำกันอยู่หลายแห่ง ให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชนอยู่ดีกินดีและอยู่เย็นเป็นสุขการพัฒนายั่งยืน” เป็นคำที่ถูกใช้คู่ไปกับคำว่า “ ธรรมมาภิบาล” ( good govemance ) ถือว่าเป็นสองคำที่สัมพันธ์เกื้อหนุนกันอย่าแยกจากกันมิได้ โดย
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เห็นว่าการพัฒนาจะยั่งยืนได้ถ้าหากมีธรรมภิบาลก่อให้เกิดการพัฒนายั่งยืนการพัฒนามนุษย์ (human development) หมายถึงการเปิดทางเลือกมากมายผู้คนในสังคม หมายถึงว่าการให้ถือเอาผู้ชายผู้หญิง โดยเฉพาะคนจนและคนที่อยู่ในภาวะอยากลำบากเสี่ยงอันตรายเป็นศูนย์กลางของกระบวนการพัฒนารายงานของ (UNDP) 1996 ได้แสดงให้เห็นว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ
ไม่ได้เป็นหลักประกันการพัฒนายั่งยืนและไม่ได้ขจัดปัญหาความยากจนให้หมดไปเช่น บางประเทศมีรายได้ให้ประชาชาติต่อหัวสูงกลับอยู่ในระดับต่ำของการพัฒนามนุษย์ มีปัญหาความเหลื่อมล้ำแตกต่างระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศยากจนระหว่างคนรวย กับคนจนในประเทศเดียวกัน ช่องว่างที่ถ่างออกไปเรื่อยๆการพัฒนามนุษย์มีอยู่ 5 ลักษณะคือ
1. การสร้างความเข้มแข็ง (empowerment) คือการเพิ่มขีดความสามารถในการเลือกทางและทางเลือกให้ผู้คนได้เป็นอิสระจากความหิว จากสิ่งที่พวกเขาขาดแคลน และให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิต
2. ความร่วมมือ (co-operation ) ผู้คนสัมพันธ์กันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
3. ความเท่าเทียม (equity) คนมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรการศึกษาการดูแลสุขภาพ การจัดการชีวิต ทรัพยากร ชุมชนของตนเอง
4. ความยั่งยืน (sustainability) การพัฒนาวันนี้ไม่ทำลายทรัพยากรและโอกาสของคนรุ่นต่อไปแต่สร้างหลักประกันให้คนในอนาคตเป็นอิสระจากความยากจนและได้ใช้ความสามารถขั้นพื้นฐานของตัวเอง
5. ความมั่นคงปลอดภัยอันตราย (security) ในชีวิตทรัพย์สินการคุกคามจากโรคและภัยอันตราย
              
การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สนองตอบความต้องการของชนรุ่นปัจจุบันโดยไม่กระทบกระเทือนชนรุ่นต่อไปในการที่จะสนองตอบความต้องการของตนเอง  ซึ่งหมายถึงขีดจำกัดของสิ่งแวดล้อม  โดยคำนึงถึงความยุติธรรมในสังคมระหว่างชนรุ่นเดียวกันกับชนรุ่นต่อๆไป  เมื่อนำแนวความคิดนี้มาพิจารณาเรื่องชุมชนเมือง  จึงมีการกำหนดแนวทางของการตั้งถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (Sustainable Human  Settlements)  เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของเมืองและสิ่งแวดล้อม (Agenda 21 for Sustainable Development)  การพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบยั่งยืน (Sustainable Housing)  มีหลักการโดยสังเขป ดังนี้
                  1. มิติทางการก่อสร้าง (Construction Perspective)
                          -  ทนทาน (Lifespan)
                          -  ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptability)

                  มิติทางสังคมและเศรษฐกิจ (Social and Economic Perspective)
                          -  ค่าใช้จ่ายพอเหมาะ (Affordability) ทั้งสำหรับที่พักอาศัยโดยตรง (Direct  Costs) และสำหรับค่าใช้จ่ายทางอ้อม (Indirect  Costs) อาทิ ค่าเดินทาง  โดยไม่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ
                        -  มีสภาพแวดล้อมที่ดีทั้งสุขภาพกายและจิตใจ
                        -  มีสภาพแวดล้อมที่ดีในเชิงจิตศาสตร์ และสังคมศาสตร์  เปลี่ยนจากที่อยู่อาศัย (a  place  to  live)  ให้เป็นบ้าน (home) และสร้างโครงข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง
                  3 มิติทางสิ่งแวดล้อม (Eco-efficiency Perspective)
                        - ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Rational  and  Efficient  use)  ประกอบด้วย พลังงาน (Energy) วัสดุ (Construction) และพื้นที่ Space)
                        -  ลดละความสุขสบายและการบริโภค
                        -  การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
                        -  การรักษาและส่งเสริมต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
                        -  การออกแบบสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดี
                        -  สภาพที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัย
                        -  โอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
                        -  การมีส่วนร่วมในการดูแล  บริหาร  จัดการชุมชนอย่างกว้างขวาง
                        -  พึ่งพาตนเองได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์
                        -  บูรณาการรักษาสภาพแวดล้อมเข้ากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม
2.1.4 การพัฒนาบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง คือ การวางรากฐานอันมั่นคงและยั่งยืนของชีวิตเมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษา ปี 2541 ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอธิบายเพิ่มเติมถึงคำว่า “พอเพียง” หมายถึง “พอมีพอกิน” “...พอมีพอกินก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเองถ้าแต่ละคนมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี...” “...ฉะนั้นความพอเพียงนี้ก็แปลว่า ความพอประมาณและความมีเหตุผล...”เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเอง(Relative Lilf - Sufficiency) อยู่ได้โดยมีต้องเดือดร้อน โดยต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อน คือต้งตัวให้มีความพอกินพอใช้ไม่มุ่งหวังแต่จะทุ่มสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีอาชีพและฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเองการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับเกษตรกรนั้นมีการปฏิบัติตามขั้นตอน “ทฤษฎีใหม่” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 ผลิตเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ในระดับชีวิตที่ประหยัด ทั้งนี้ต้องมีความสามัคคีในท้องถิ่น
ขั้นที่ 2 รวมกลุ่ม เพื่อการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สร้างสวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา
ขั้นที่ 3 ร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการทำธุรกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิต

ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องได้รับประโยชน์การพัฒนาชนบทในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นการใช้ “คน” เป็นเป้าหมายและเน้นการพัฒนาแบบองค์รวม” หรือ “การพัฒนาแบบบูรณาการ” ทั้งด้านเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม การเมือง ฯลฯ โดยใช้ “พลังทางสังคม” ขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาในรูปของกลุ่ม เครือข่ายหรือประชาสังคม กล่าวคือเป็นการผนึกกำลังทุกฝ่ายในลักษณะ “พหุภาคี” ประกอบด้วยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

2.1.5 การพัฒนาชุมชนบนพื้นฐานภูมิปัญญา
ในช่วง 20 กว่าปีมานี้ การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประเทศ อันเป็นผลจากการปะทะกันระหว่างแนวคิดสองกระแส ได้แก่ กระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ด้านของความเติบโตทางวัตถุที่ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำนวนมหาศาล และที่สำคัญคือ ผู้คนได้สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ไร้ศักดิ์ศรี และรู้สึกโดดเดี่ยวเพราะถูกตัดขาดจากกันทางสังคม ทำให้เกิดแนวคิดอีกกระแสหนึ่งขึ้นเรียกว่า กระแสชุมชนท้องถิ่น (Localization) ที่ให้ความสำคัญแก่คนและชุมชนในการกำหนดแนวทางการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรมของตน เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความหมาย มีค่าและมีศักดิ์ศรี เป็นแนวคิดที่มองทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกันแบบองค์รวมได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในสังคมไทย การนำเสนอประสบการณ์ของชาวบ้านและชุมชนในทุกส่วนที่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนาบนพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมได้เรียกร้องให้ผู้คนหันกลับมาทบทวนแนวคิดและแนวทางการพัฒนาชุมชน จนกระทั่งแนวคิดใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเคยเป็นกระแสรองมาก่อนหน้านี้ได้กลายเป็นกระแสหลักของการพัฒนาประเทศในปัจจุบัน
การนำแนวคิดใหม่มาใช้ในการพัฒนาชุมชน จะเกิดขึ้นไม่ได้ภายใต้การกฎเกณฑ์ และกติกาการพัฒนาประเทศแบบเก่า ด้วยเหตุนี้ การแก้ไขระเบียบกฏหมายของประเทศเพื่อให้สอดรับกับทิศทางใหม่นี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น เห็นได้จากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อปี พ..2540 หากวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นข้างต้น จะพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้สะท้อนลักษณะที่เป็นสากลและลักษณะเฉพาะของการพัฒนาชนบทไทยไปพร้อมกัน ลักษณะที่เป็นสากลก็คือ การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อแนวคิดและทิศทางการพัฒนาของไทยตลอดช่วง ทศวรรษแรกของการพัฒนา หลังจากนั้นการทำงานได้หันเข้าสู่ลักษณะเฉพาะที่ให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมชุมชน การค้นหาประสบการณ์ระดับชุมชน ทำให้เกิดทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่เกิดจากสภาพที่เป็นจริงของอดีตและปัจจุบันของสังคมไทย และการแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งหมดนี้เป็นการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีรากฐานอยู่ที่ระบบคุณค่าดั้งเดิม และแสวงหารูปแบบใหม่เพื่อสืบทอดจิตวิญญาณแห่งอดีตและการพึ่งตนเอง การประยุกต์ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมไทย

1) นามธรรมและรูปธรรม ภูมิปัญญาชาวบ้านมีทั้งลักษณะที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมสามารถแยกออกได้อีกหลายประเภท ทั้งทางด้านเกษตรกร หัตถกรรม สุขภาพ ภูมิปัญญาชาวบ้านมีรูปแบบที่หลากหลาย แต่ในความหลากหลายนั้นมีจุดร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ คุณค่าที่อยู่เบื้องหลังภูมิปัญญานั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม โดยเฉพาะโลกทัศน์และชีวะทัศน์ของผู้คนและชุมชน เช่น ดุลยภาพของธรรมชาติและการอยู่ร่วมกันในชุมชน  การพึ่งตนเอง และการพึ่งพาอาศัยกัน เป็นต้น
โดยทั่วไป รูปแบบ ซึ่งเป็นเทคนิคหรือวิธีการจัดการจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่วนที่เปลี่ยนแปลงช้าหรือแทบจะไม่เปลี่ยนเลยคือ คุณค่าของภูมิปัญญานั้น ด้วยเหตุนี้ การประยุกต์ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาชุมชนจึงมุ่งไปสู่รูปแบบหรือวิธีการจัดการที่สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปขณะเดียวกัน ก็พยายามที่จะรักษาหรือคงคุณค่าเดิมไว้ให้มากที่สุด
2)  คุณค่าและมูลค่า  การประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านสามารถนำเอาแนวคิดเรื่องคุณค่าและมูลค่าเข้ามาเป็นแนวทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมของเราในระยะที่เพิ่งผ่านมานี้จะมีความขัดแย้งกันค่อนข้างรุนแรง ระหว่างแนวคิดสองแนวนี้ ภายหลังจากได้นำแนวคิดการพัฒนาตามแบบอย่างชาติทางตะวันตกมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าทางวัตถุมากขึ้น พร้อมกับนิยมมูลค่าหรือให้ความสำคัญต่อสิ่งต่างในเชิงปริมาณก็เพิ่มมากตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้คนในสังคมอีกจำนวนหนึ่งที่ยึดถือหรือนิยมคุณค่า ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญต่อจิตวิญญาณ และรากเหง้าของตนเอง  การนำคุณค่าและมูลค่ามาเป็นแนวทางประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม จะเป็นการแก้จุดอ่อนอย่างหนึ่งในสังคมไทย ให้หันกลับมาสร้างความสมดุลให้กับแนวคิดทั้งสอง เพื่อสร้างดุลยภาพแก่ชีวิต ชุมชน และธรรมชาติให้ยั่งยืนสืบไปการประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านตามแนวคิดเรื่องคุณค่าและมูลค่านี้ น่าจะมีความเหมาะสมอย่างยิ่งกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น หัตถกรรม สมุนไพร การนวด และศิลปะต่างๆ รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าและพร้อมที่แปรเป็นมูลค่าถ้ามีการจัดการที่เหมาะสมัย
การนำแนวคิดเรื่องคุณค่าและมูลค่ามาเป็นแนวทางประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้านในการพัฒนาชุมชนและสังคม น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมยุคหลังสมัยใหม่ ผู้คนร้องหาจิตวิญญาณและวัฒนธรรมชุมชน
ที่มา/// https://sites.google.com/site/archcommunitydevelopment/concepts   วันที่ 24/4/2561 google.com