นโยบายสาธารณะที่ดี
ถอดบทเรียน Public policy analysis
ถอดบทเรียน Public policy analysis
นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางกิจกรรม การกระทำ
หรือการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ทำการตัดสินใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า
เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการวางแผน การจัดทำโครงการ
วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
และความต้องการของประชาชน ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง
ความหมายของนโยบายสาธารณะ
ความหมายของคำว่า “นโยบายสาธารณะ” นั้น มีนักวิชาการหลายท่าน ได้ให้ความหมายที่แตกต่างกันไป อาทิ (อมรศักดิ์ กิจธนานันท์, บรรยาย )
Ira Sharkansky : กิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาลซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล
Thomas R.Dye : สิ่งที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ ในส่วนที่รัฐบาลเลือกกระทำ จะครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดของรัฐบาล ทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในบางโอกาส
James E. Anderson : แนวทางการปฏิบัติหรือการกระทำซึ่งมีองค์ประกอบหลายประการ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติหรือผู้กระทำที่จะต้องรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายชัดเจนว่า สิ่งใดที่จะต้องกระทำให้สำเร็จ มิใช่สิ่งที่รัฐบาลเพียงแต่ตั้งใจกระทำหรือเสนอให้กระทำเท่านั้น โดยต้องจำแนกให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างนโยบายกับการตัดสินใจของรัฐบาล
David Easton : อำนาจในการจัดสรรคุณค่า (value) ทั้งมวลในสังคม โดยผู้มีอำนาจในการจัดสรร ก็คือ รัฐบาล ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำเป็นผลมาจากการจัดสรรคุณค่าในสังคม
ส่วน พีรธร บุณยรัตพันธ์ (บรรยาย) ให้ความหมายนโยบายสาธารณะ ว่าหมายถึง การที่รัฐใช้อำนาจตัดสินใจ เลือก หรือแสดงนัยที่จะกระทำ หรือไม่กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งปรากฏออกมาในรูปของแนวทาง หรือเงื่อนไข ที่นำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์กรของรัฐ และเพื่อบรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ในการอยู่ร่วมกันเป็นรัฐ
สรุปได้ว่า นโยบายสาธารณะ เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลตัดสินใจกระทำแก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์และความผาสุกของประชาชนเป็นส่วนใหญ่ หรือเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทั้งมวลของสังคมในด้านต่างๆ
องค์ประกอบนโยบายสาธารณะของแต่ละประเทศ มีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป ด้วยเพราะสภาพทางด้านสังคม ภูมิศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม การนับถือศาสนา สิ่งแวดล้อม และบริบท แตกต่างกัน อมรศักดิ์ กิจธนานันท์ (บรรยาย ) ได้สรุปองค์ประกอบนโยบายสาธารณะโดยรวมที่สำคัญ ไว้ 13 ประการ คือ
1.เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
2.เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองคุณค่าของสังคม
3.ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง สถาบันราชการ ข้าราชการ และประมุขของประเทศ
4.กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องเป็นชุดของการกระทำที่มีแบบแผน ระบบ และกระบวนการอย่างชัดเจน เป็นการกระทำที่มีการสานต่ออย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
5. กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์หรือ จุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจำนวนมาก
6.เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ปรากฏเป็นจริง มิใช่เป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์หรือความตั้งใจที่จะกระทำด้วยคำพูดเท่านั้น
7.กิจกรรมที่เลือกกระทำต้องมีผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของสังคม ทั้งปัญหาความขัดแย้งหรือความร่วมมือของประชาชน
8.เป็นการตัดสินที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่การตัดสินเพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคล และเป็นชุดของการตัดสินใจที่เป็นระบบมิใช่เป็นการตัดสินใจแบบเอกเทศ
9.เป็นการเลือกทางเลือกที่จะกระทำ โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
10. เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการต่อรองหรือประนีประนอมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
11. เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ
12. กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ อาจก่อให้เกิดผลทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคม
13. เป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
สรุปได้ว่า องค์ประกอบที่สำคัญของนโยบายสาธารณะ คือ ต้องเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลตัดสินใจกระทำ ต้องมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน ต้องมีการวางแผนการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ต้องตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนมาก และต้องถูกต้องตามกฎหมาย
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ อมรศักดิ์ กิจธนานันท์ (บรรยาย) ได้กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ มีความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย ต่อประชาชน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
ความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย รัฐบาลที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และสามารถนำโยบายไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล จะได้รับความเชื่อถือและความนิยมจากประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลดังกล่าวมีโอกาสในการดำรงอำนาจในการบริหารประเทศยาวนานขึ้น
ความสำคัญต่อประชาชน นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตทางการเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นประชาชนสามารถแสดงออกซึ่งความต้องการของพวกเขาผ่านกลไกทางการเมืองต่าง ๆ เช่น ระบบราชการ นักการเมือง ฯลฯ ความต้องการดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองไปเป็นนโยบายสาธารณะ เมื่อมีการนำนโยบายไปปฏิบัติและได้ผลตามเป้าประสงค์ ก็จะทำให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในด้านการเป็นเครื่องมือบริหารประเทศ สามารถสรุปได้หลายประการ อาทิ
1.เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ
2.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการตอบสนองความต้องการของประชาชน
3.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของประชาชน
4.เป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลเพื่อจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม
5.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม
6.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเสริมสร้างความเสมอภาคในโอกาสแก่ประชาชน
7.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน
8.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท
9.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10. เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สรุปได้ว่าความสำคัญของนโยบายสาธารณะ ก็คือ เครื่องมือที่จะทำให้ประชาชนในประเทศมีความผาสุก และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสมานฉันท์
2.การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
ความหมายของคำว่า “นโยบายสาธารณะ” นั้น มีนักวิชาการหลายท่าน ได้ให้ความหมายที่แตกต่างกันไป อาทิ (อมรศักดิ์ กิจธนานันท์, บรรยาย )
Ira Sharkansky : กิจกรรมที่กระทำโดยรัฐบาลซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดของรัฐบาล
Thomas R.Dye : สิ่งที่รัฐบาลเลือกจะกระทำหรือไม่กระทำ ในส่วนที่รัฐบาลเลือกกระทำ จะครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ทั้งหมดของรัฐบาล ทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตรและกิจกรรมที่เกิดขึ้นในบางโอกาส
James E. Anderson : แนวทางการปฏิบัติหรือการกระทำซึ่งมีองค์ประกอบหลายประการ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติหรือผู้กระทำที่จะต้องรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายชัดเจนว่า สิ่งใดที่จะต้องกระทำให้สำเร็จ มิใช่สิ่งที่รัฐบาลเพียงแต่ตั้งใจกระทำหรือเสนอให้กระทำเท่านั้น โดยต้องจำแนกให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างนโยบายกับการตัดสินใจของรัฐบาล
David Easton : อำนาจในการจัดสรรคุณค่า (value) ทั้งมวลในสังคม โดยผู้มีอำนาจในการจัดสรร ก็คือ รัฐบาล ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำเป็นผลมาจากการจัดสรรคุณค่าในสังคม
ส่วน พีรธร บุณยรัตพันธ์ (บรรยาย) ให้ความหมายนโยบายสาธารณะ ว่าหมายถึง การที่รัฐใช้อำนาจตัดสินใจ เลือก หรือแสดงนัยที่จะกระทำ หรือไม่กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งปรากฏออกมาในรูปของแนวทาง หรือเงื่อนไข ที่นำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์กรของรัฐ และเพื่อบรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ในการอยู่ร่วมกันเป็นรัฐ
สรุปได้ว่า นโยบายสาธารณะ เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลตัดสินใจกระทำแก่ประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์และความผาสุกของประชาชนเป็นส่วนใหญ่ หรือเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทั้งมวลของสังคมในด้านต่างๆ
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ
1.เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
2.เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองคุณค่าของสังคม
3.ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง สถาบันราชการ ข้าราชการ และประมุขของประเทศ
4.กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องเป็นชุดของการกระทำที่มีแบบแผน ระบบ และกระบวนการอย่างชัดเจน เป็นการกระทำที่มีการสานต่ออย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
5. กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์หรือ จุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจำนวนมาก
6.เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ปรากฏเป็นจริง มิใช่เป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์หรือความตั้งใจที่จะกระทำด้วยคำพูดเท่านั้น
7.กิจกรรมที่เลือกกระทำต้องมีผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของสังคม ทั้งปัญหาความขัดแย้งหรือความร่วมมือของประชาชน
8.เป็นการตัดสินที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่การตัดสินเพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคล และเป็นชุดของการตัดสินใจที่เป็นระบบมิใช่เป็นการตัดสินใจแบบเอกเทศ
9.เป็นการเลือกทางเลือกที่จะกระทำ โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
10. เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการต่อรองหรือประนีประนอมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
11. เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ
12. กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ อาจก่อให้เกิดผลทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคม
13. เป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
องค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ1.เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
2.เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองคุณค่าของสังคม
3.ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง สถาบันราชการ ข้าราชการ และประมุขของประเทศ
4.กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องเป็นชุดของการกระทำที่มีแบบแผน ระบบ และกระบวนการอย่างชัดเจน เป็นการกระทำที่มีการสานต่ออย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
5. กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์หรือ จุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจำนวนมาก
6.เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ปรากฏเป็นจริง มิใช่เป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์หรือความตั้งใจที่จะกระทำด้วยคำพูดเท่านั้น
7.กิจกรรมที่เลือกกระทำต้องมีผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของสังคม ทั้งปัญหาความขัดแย้งหรือความร่วมมือของประชาชน
8.เป็นการตัดสินที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่การตัดสินเพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคล และเป็นชุดของการตัดสินใจที่เป็นระบบมิใช่เป็นการตัดสินใจแบบเอกเทศ
9.เป็นการเลือกทางเลือกที่จะกระทำ โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
10. เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการต่อรองหรือประนีประนอมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
11. เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ
12. กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ อาจก่อให้เกิดผลทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคม
13. เป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
องค์ประกอบนโยบายสาธารณะของแต่ละประเทศ มีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป ด้วยเพราะสภาพทางด้านสังคม ภูมิศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม การนับถือศาสนา สิ่งแวดล้อม และบริบท แตกต่างกัน อมรศักดิ์ กิจธนานันท์ (บรรยาย ) ได้สรุปองค์ประกอบนโยบายสาธารณะโดยรวมที่สำคัญ ไว้ 13 ประการ คือ
1.เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
2.เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐในการจัดสรรกิจกรรมเพื่อตอบสนองคุณค่าของสังคม
3.ผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ได้แก่ ผู้นำทางการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ พรรคการเมือง สถาบันราชการ ข้าราชการ และประมุขของประเทศ
4.กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องเป็นชุดของการกระทำที่มีแบบแผน ระบบ และกระบวนการอย่างชัดเจน เป็นการกระทำที่มีการสานต่ออย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
5. กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำต้องมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์หรือ จุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนจำนวนมาก
6.เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำให้ปรากฏเป็นจริง มิใช่เป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์หรือความตั้งใจที่จะกระทำด้วยคำพูดเท่านั้น
7.กิจกรรมที่เลือกกระทำต้องมีผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของสังคม ทั้งปัญหาความขัดแย้งหรือความร่วมมือของประชาชน
8.เป็นการตัดสินที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่การตัดสินเพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคล และเป็นชุดของการตัดสินใจที่เป็นระบบมิใช่เป็นการตัดสินใจแบบเอกเทศ
9.เป็นการเลือกทางเลือกที่จะกระทำ โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
10. เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการต่อรองหรือประนีประนอมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง
11. เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้งกิจกรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ
12. กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ อาจก่อให้เกิดผลทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคม
13. เป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย
สรุปได้ว่า องค์ประกอบที่สำคัญของนโยบายสาธารณะ คือ ต้องเป็นกิจกรรมที่รัฐบาลตัดสินใจกระทำ ต้องมีวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ชัดเจน ต้องมีการวางแผนการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ต้องตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนมาก และต้องถูกต้องตามกฎหมาย
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ
ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ อมรศักดิ์ กิจธนานันท์ (บรรยาย) ได้กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ มีความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย ต่อประชาชน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
ความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย รัฐบาลที่สามารถกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และสามารถนำโยบายไปปฏิบัติจนประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล จะได้รับความเชื่อถือและความนิยมจากประชาชน ส่งผลให้รัฐบาลดังกล่าวมีโอกาสในการดำรงอำนาจในการบริหารประเทศยาวนานขึ้น
ความสำคัญต่อประชาชน นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตทางการเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ดังนั้นประชาชนสามารถแสดงออกซึ่งความต้องการของพวกเขาผ่านกลไกทางการเมืองต่าง ๆ เช่น ระบบราชการ นักการเมือง ฯลฯ ความต้องการดังกล่าวจะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมืองไปเป็นนโยบายสาธารณะ เมื่อมีการนำนโยบายไปปฏิบัติและได้ผลตามเป้าประสงค์ ก็จะทำให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในด้านการเป็นเครื่องมือบริหารประเทศ สามารถสรุปได้หลายประการ อาทิ
1.เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ
2.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการตอบสนองความต้องการของประชาชน
3.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของประชาชน
4.เป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลเพื่อจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม
5.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม
6.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเสริมสร้างความเสมอภาคในโอกาสแก่ประชาชน
7.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน
8.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท
9.เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10. เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สรุปได้ว่าความสำคัญของนโยบายสาธารณะ ก็คือ เครื่องมือที่จะทำให้ประชาชนในประเทศมีความผาสุก และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสมานฉันท์
กระบวนการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
1. การวิเคราะห์ปัญหา
- อะไรคือปัญหา
- ปัญหาประเภทใด
–ทั่วไป คือ
ปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม เช่น การขาดแคลนพลังงาน
- เฉพาะ คือปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อนำนโยบายไปปฎิบัติ
เช่น มลภาวะ ปัญหาการใช้ที่ดิน
- แทรกซ้อน คือ
ปัญหาที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากนโยบายนั้นๆ เช่น จากระบบเศรษฐกิจ
- ระดับความสำคัญของปัญหา2.การวิเคราะห์วัตถุประสงค์
3. การวิเคราะห์ทางเลือกนโยบาย
ทางเลือกนโยบาย
หมายถึง การเลือกวิถีทางหรือแนวนโยบายที่เหมาะสมที่สุด
ซึ่งสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามความต้องการ วิถีทางดังกล่าวอาจรวมถึงนโยบาย
เทคนิคและกลยุทธ์ต่างๆที่สามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี
ผู้วิเคราะห์นโยบาย
จะเลือกนโยบายใดนโยบายหนึ่ง ควรมีเหตุผลที่สนับสนุนนโยบายนั้นๆ กล่าวคือ
อาจจะเป็นเหตุผลที่เกี่ยวกับปรัชญาหรือจริยธรรม
หรือหลักเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์หรือรัฐศาสตร์เป็นต้น
4. กระบวนการตัดสินใจ
การตัดสินใจเลือกทางเลือกนโยบาย (Decision
Making) หลังจากที่กำหนดทางเลือกนโยบายแล้วก็จะทำการตัดสินใจเพื่อเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งมากำหนดเป็นนโยบาย
อนุสรณ์ ธรรมใจ ได้กล่าวไว้ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่า การบริหารประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและประชาชน จำเป็นต้องมีนโยบายสาธารณะที่ดี และกระบวนการจัดการนโยบายต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ นโยบายที่ดี นโยบายที่ดีน่าจะเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากที่สุด เป็นแนวทางในการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่ในสังคมระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ และประชาชนอย่างเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และยึดถือคุณธรรมในการดำเนินการ นโยบายที่ดีจะต้องเปิดกว้างให้ตอบรับและตอบสนองต่อความคิดและข้อเสนอแนะดีๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด
อัจฉรา รักยุติธรรม (2548) ได้กล่าวถึง นโยบายสาธารณที่พึงปรารถนาว่า ควรมีการพัฒนาการมีส่วนร่วม ของชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายต่างๆ โดยตรง แต่ปัจจุบัน พวกเขามีสิทธิมีส่วนร่วมแค่รับฟังการชี้แจงโครงการ หรือให้ข้อมูลบางประการเท่านั้น แต่ไม่เคยที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าควรจะให้มีโครงการนั้นๆ เกิดขึ้นหรือไม่ นี่เองเป็นที่มาของการต่อต้าน คัดค้าน และประท้วงกันอย่างขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการสร้างเขื่อน โครงการโรงไฟฟ้า และโครงการพัฒนาอะไรต่อมิอะไร จนบางครั้งรุนแรงถึงกับมีการล้มเวทีประชาพิจารณ์ ซึ่งถูกอ้างว่าเป็นเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็น แต่ชาวบ้านในท้องถิ่นไม่ยอมรับว่านั่นคือ กระบวนการมีส่วนร่วมที่แท้จริง
จากความเห็นที่กล่าวมา ประกอบกับความเห็นของผู้เขียนเอง จึงคิดว่าลักษณะของนโยบายสาธารณะที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1.ไม่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญที่ใช้ปกครองประเทศ
2.ไม่บั่นทอนความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ ไม่ว่าโดยทางตรงและทางอ้อม
3.กระบวนการจัดทำนโยบายต้องมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการศึกษาปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบ ค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และหาหนทางการแก้ไขที่ดีที่สุด แล้วจึงนำมาออกเป็นนโยบาย
4.นโยบายสาธารณะที่ดี ควรจะเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน หน่วยงานและองค์กร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
5.นโยบายสาธารณะนั้นทำให้ประชาชนในประเทศมีความผาสุก และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสมานฉันท์ ไม่ก่อให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีของประชาชน
6.วัตถุประสงค์ของนโยบายสาธารณะนั้น ต้องยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่การเพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
¯¯¯¯¯¯¯¯¯¯
อ้างอิง
พีรธร บุณยรัตพันธุ์ (ผู้บรรยาย). (2551). สไลด์ประกอบการบรรยายวิชานโยบายสาธารณะ.พิษณุโลก : สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2548, ธันวาคม 16). นโยบายสาธารณะเพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า.กรุงเทพธุรกิจ.
อัจฉรา รักยุติธรรม. (2548, มิถุนายน 23). นโยบายสาธารณะที่พึงปรารถนา.กรุงเทพธุรกิจ.
อมรศักดิ์ กิจธนานันท์ (ผู้บรรยาย). (2551). สไลด์ประกอบการบรรยายวิชาแนวคิดและทฤษฎีกระบวนการนโยบายสาธารณะ. เพชรบุรี: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
วงจรนโยบายสาธารณะ (Public
Policy Cycle)
องค์ประกอบของวงจรนโยบายสาธารณะ
1. การก่อตัวนโยบาย (Policy formation) เกิดอะไรขึ้นบ้าง
2. การกำหนดนโยบาย (Policy formulation) มีแนวทางอย่างไรบ้าง
3. การตัดสินนโยบาย (Policy decision) จะเลือกแนวทางใดดี
4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy implementation) จะนำแนวทางที่ได้ไปดำเนินการอย่างไร
5. การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation) การดำเนินการตามแนวทางได้ผลหรือไม่
1.การก่อตัวนโยบาย (Policy formation)
การศึกษาการก่อรูปนโยบายต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ลักษณะสภาพของปัญหาสาธารณะให้ชัดเจนเพื่อให้มั่นใจว่า ปัญหาที่กำลังปรากฏอยู่นั้นเป็นปัญหาอะไร เกิดขึ้นกับคนกลุ่มใด และมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร รวมทั้งต้องการความแร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาแค่ไหน และประชาชนในสังคมต้องการให้แก้ไขปัญหานั้นอย่างไร ถ้าไม่แก้ไขจะเกิดผลอย่างไร และถ้ารัฐบาลเข้าไปแก้ไขใครจะเป็นผู้ได้และเสียประโยชน์ ผลกระทบที่เกิดจากการแก้ไขตรงตามที่คาดหวังหรือไม่ ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการนำไปปฏิบัติต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างการระบุปัญหาที่ชัดเจนจะเป็นพื้นฐานในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา
ปัญหาสาธารณะจะกลายเป็นประเด็นเชิงนโยบายหรือเข้าสู่วาระและได้รับความสนใจจากผู้กำหนดนโยบายสาธารณะ มักจะต้องมีคุณลักษณะ
1. เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเกิดขึ้นจากความรุนแรงทางการเมือง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาภัยแล้ง
2. มีการแตกตัวและขยายวงกว้างออกไป เช่น ปัญหาของความเป็นเมือง
3. มีความกระเทือนต่อความรู้สึกและเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนทั่วไป เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหา แรงงานเด็ก
4. มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหามลภาวะ
5. มีลักษณะท้าทายต่ออำนาจและความชอบธรรมของรัฐ เช่น ปัญหาการแบ่งแยกดินแดง
6. เป็นเรื่องร่วมสมัย เช่น ปัญหาการจราจร ปัญหาโรคเอดส์
การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย
เมื่อทราบลักษณะปัญหานโยบายที่ชัดเจนแล้ว จะต้องกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน
- การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย ทำให้ทราบถึงลำดับความสำคัญของนโยบายที่ต้องจัดทำ และการเลือกใช้นโยบายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
- วัตถุประสงค์ของนโยบายมีความสำคัญ ในฐานะที่เป็นปัจจัยกำหนดทิศทางของทางเลือกนโยบายที่จะนำไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ
- วัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลสำเร็จของนโยบาย ที่จะนำไปปฏิบัติว่าเป็น ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด
คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ของนโยบาย
1.ความครอบคลุมประเด็นปัญหานโยบาย
2.ความสอดคล้องกับค่านิยมของสังคม
3.ความชัดเจนและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
4.ความสมเหตุสมผล
5.มีความสอดคล้องกับทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้
6.มีความสอดคล้องทางการเมือง
7.การกำหนดกรอบเวลาที่เหมาะสม
หมายเหตุ หรือจะจำว่าการก่อตัวนโยบาย
“ เริ่มต้นสถานการณ์ที่เกิดนโยบาย ตระหนักและระบุปัญหา กลั่นกรองปัญหา จัดระเบียบวาระนโยบาย กำหนดวัตถุประสงค์ ”
2. การกำหนดนโยบาย (Policy formulation)
หากพิจารณาปัญหา เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะในกรอบการวิเคราะห์ “เชิงระบบ” หรือ “ทฤษฎีระบบ” ของ David Easton จะได้ปัจจัยนำเข้า ระบบ ปัจจัยนำออก ดังนี้
ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ปัญหาทั่วไป ปัญหาสังคม ประเด็นปัญหาสังคม และข้อเสนอของสังคม ในสภาวการณ์ที่สภาการเมืองมีบทบาทสูง ปัจจัยนำเข้าอาจมาจากการที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ได้นำเสนอนโยบายไว้ในการหาเสีย เช่น พรรคไทยรักไทยได้เสนอนโยบายโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรรายย่อยไว้ในการหาเสีย และในที่สุดก็กลายเป็นคำมั่น ในการที่ต้องกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ เมื่อพรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ
ระบบการเมือง คือ ข้อเสนอข้อรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้เสนอนบายต่าง ๆ มากมาย เช่น นโยบายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต และนโยบายจัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร ให้กับหมู่บ้านและชุมชน
นำออก คือ นโยบาย ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของกฎหมายต่าง ๆ คือ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎี และประกาศ คำสั่งกระทรวง เป็นต้น
ขณะเดียวกันก็จะมีการป้อนกลับสู่ระบบการเมือง โดยมีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เป็นปัจจัยเป็นปัจจัยสำคัญที่มีส่วนกำหนดและเปลี่ยนแปลงนโยบาย ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้
ผู้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
1. ฝ่ายบริหาร 2. ฝ่ายนิติบัญญัติ 3. ฝ่ายตุลาการ 4. องค์กรอิสระต่าง ๆ
หมายเหตุ หรือจะจำว่าขั้นตอนการกำหนดนโยบาย
“ การพัฒนาทางเลือก การประเมินทางเลือก การตัดสินใจทางเลือกเพื่อกำหนดนโยบาย การประกาศใช้ ”
3. การตัดสินนโยบาย (Policy decision)
การเลือกนโยบาย หมายถึง การเลือกวิถีทางหรือแนวนโยบายที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ตามต้องการ อาจรวมถึงนโยบายเทคนิคและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี หลักจริยธรรมหรือคุณธรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อค่านิยมที่เป็นรากฐานสำคัญในการเลือกนโยบาย
การพิจารณาทางเลือกนโยบาย
- ประสิทธิผล effectiveness ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของทางเลือก
- ประสิทธิภาพ effeciency ความสามารถในผลิตผลผลิตโดยเปรียบเทียบจากต้นทุน
- ความพอเพียง adequacy ความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่
- ความเป็นธรรม equity การกระจายตัวของผลการดำเนินการตามทางเลือก
- การตอบสนอง reponsiveness ความสามารถในการเติมเต็มความต้องการของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
- ความเหมาะสม appropriateness การพิจารณาเชิงคุณค่าและความเป็นไปได้ในทาง
กลยุทธ์ในการตัดสินใจเลือกนโยบาย
* การต่อรอง ปรับเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกันให้ยอมรับร่วมกัน โดยการเจรจา แลกเปลี่ยน ให้รางวัลและประนีประนอม
* การโน้มน้าว ความพยายามทำให้เชื่อหรือยอมรับ และสนับสนุนด้วยความเต็มใจ
* การสั่งการ การใช้อำนาจที่เหนือกว่าในการบังคับการตัดสินใจ
* เสียงข้างมาก การอาศัยการลงมติโดยใช้ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่
* ฉันทามติ การยอมรับร่วมกัน โดยปราศจากข้อโต้แย้ง
4. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy implementation)
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ
1. ฝ่ายนิติบัญญัติ 2. ฝ่ายบริหารหรือระบบราชการ 3. กลุ่มกดดัน 4. องค์กรชุมชนหรือภาคประชาสังคม
การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
- ความยากง่ายของสถานการณ์ - ปัญหาที่เผชิญอยู่
- โครงสร้างตัวบทของนโยบายสาธารณะ - โครงสร้างนอกเหนือตัวบทบาทของนโยบายสาธารณะ
กระบวนการที่เป็นปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ
1. ปัญหาทางด้านสมรรถนะ : ปัจจัยบุคลากร เงินทุน เครื่องจักร วัสดุ ข้อมูลข่าวสาร เวลา (จำกัด) เทคโนโลยี
(4MI2T) Man, Money, Machine, Material, Information, Time, Tecnology
2. ความสามารถในการควบคุม : การวัดความก้าวหน้าและผลการปฏิบัติ
3. การไม่ให้ความร่วมมือหรือต่อต้าน ทางบุคลากรในหน่วยงาน
4. การประสานงานระหว่างองค์กรรับผิดชอบกับองค์กรอื่น ๆ
5. การไม่ให้ความสนับสนุนทางผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านการเมือง เงินทุน งบประมาณ แต่กลับสร้างอุปสรรคในแง่ของการต่อต้านหรือคัดค้านโยบาย
- กลุ่มผลประโยชน์ - กลุ่มการเมือง - ข้าราชการ - สื่อมวลชน
5.การประเมินผลนโยบาย (Policy evaluation)
เพื่อให้ทราบผลว่าการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติเป็นไปตามเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์หรือไม่ ในกรณีที่ไม่เป็นไปตามเป้ าหมายจะได้มีการปรับ แผน / แผนงาน / โครงการ ให้บรรลุเป้ าหมายหรือวัตถุประสงค์มากขึ้นเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้รู้ว่า แผน / แผนงาน / โครงการ นั้นควรจะดำเนินการต่อไปหรือยุติจุดมุ่งหมายของการประเมินผลโครงการมักจะมีคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า ประเมินผลเพื่ออะไร หรือ ประเมินผลไปทำไม ปฏิบัติงานตามโครงการแล้วไม่มีการประเมินผลไม่ได้หรือ ตอบได้เลยว่าการบริหารแนวใหม่หรือการบริหารในระบบเปิ ด (OpenSystem) นั้นถือว่าการประเมินผลเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากซึ่งจุดมุ่งหมายของการประเมินผลโครงการมีดังนี้
1. เพื่อสนับสนุนหรือยกเลิก การประเมินผลจะเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจว่าควรจะยกเลิกโครงการหรือสนับสนุนให้มีการขยายผลต่อไป โดยเฉพาะการมีโครงการใหม่ ๆ ยังมิได้จัดทำในรูปของโครงการทดลองซึ่งมีโอกาสจะผิดพลาดหรือล้มเหลวได้ง่าย ความล้มเหลวของโครงการจึงมิใช่ความล้มเหลวของผู้บริหารเสมอไปดังนั้นถ้าเราประเมินผลแล้วโครงการนั้นสำเร็จตามที่กำหนดวัตถุประสงค์และเป้ าหมายไว้ก็ควรดำเนินการต่อไป แต่ถ้าประเมินผลแล้วโครงการนั้นมีปัญหาหรือมีผลกระทบเชิงลบมากกว่า เราก็ควรยกเลิกไป
2. เพื่อทราบถึงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานตามโครงการ ว่าเป็นไปตามที่กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย หรือกฎเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้เพียงใดกลุ่มนโยบายสาธารณะ 17
3. เพื่อปรับปรุงงาน ถ้าเรานำโครงการไปปฏิบัติแล้ว พบว่าบางโครงการไม่ได้เสียทั้งหมด แต่ก็ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกข้อ เราควรนำโครงการนั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น โดยพิจารณาว่าโครงการนั้นบกพร่องในเรื่องใด เช่น ขาดความร่วมมือของประชาชน ขัดต่อค่านิยมของประชาชน ขาดการประชาสัมพันธ์หรือสมรรถนะขององค์การที่รับผิดชอบต่ำ เมื่อเราทราบผลของการประเมินผล เราก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ตรงประเด็น
4. เพื่อศึกษาทางเลือก โดยปกติในการนำโครงการไปปฏิบัตินั้น ผู้บริหารโครงการจะพยายามแสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุด จากทางเลือกอย่างน้อย 2 ทางเลือก ดังนั้นการประเมินผลจะเป็นการเปรียบเทียบทางเลือกก่อนที่จะตัดสินใจเลือกทางเลือกใดปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงให้น้อยลง
5. เพื่อขยายผล ในการนำโครงการไปปฏิบัติ ถ้าเราไม่มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เราอาจจะไม่ทราบถึงความสำเร็จของโครงการ แต่ถ้าเราประเมินผลโครงการเป็นระยะ สม่ำเสมอ ผลปรากฏว่าโครงการนั้นบรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนดวัตถุประสงค์ เราก็ควรจะขยายผลโครงการนั้นต่อไป แต่การขยายผลนั้นมิได้หมายความว่าจะขยายไปได้ทุกพื้นที่ การขยายผลต้องคำนึงถึงมิติของประชากร เวลา สถานที่ สถานการณ์ต่าง ๆปลูกพืชเมืองหนาวจะประสบความสำเร็จดีในพื้นที่ภาคเหนือ แต่ถ้าขยายผลไปยังภูมิภาคอื่นอาจจะไม่ได้ผลดีเสมอไป เพราะต้องคำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เชื้อชาติ ค่านิยม ฯลฯ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ สิ่งที่นำไปในพื้นที่หนึ่งอาจได้ผลดี แต่นำไปขยายผลในพื้นที่หนึ่งอาจไม่ได้ผล หรือ สิ่งที่เคยทำได้ผลดีในช่วงเวลาหนึ่ง อาจจะไม่ได้ผลดีในอีกช่วงเวลาหนึ่ง
ถอดบทเรียน Public policy analysis
อ้างอิงข้อมูลมาจาก
https://www.gotoknow.org/posts/458538, ความหมายของนโยบายสาธารณะ
24/6/2559
*ขาด Flow chat แทรกคำบรรยาย
*ข้อสอบเชิงเปรียบเทียบทั้งหมด*-*
*ข้อสอบเชิงเปรียบเทียบทั้งหมด*-*