วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

หลักการสากลของ ธรรมาภิบาล

หลักการสากลของ ธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล Good Governance
        คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
        ธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น
 
หลักการสากลของ  ` ธรรมาภิบาล ´
องค์การสหประชาชาติ กำหนดหลักการทั่วไปของธรรมาภิบาล ไว้ 8 หลักการ ดังนี้

1.  การมีส่วนร่วม            การมีส่วนร่วมของสมาชิกทั้งชายหญิงคือการตัดสินใจที่สำคัญในสังคมและสร้าง ความสามัคคีให้เกิดกับประชาชน    การมีส่วนร่วมสามารถทำได้โดยอิสระไม่มีการบังคับ    สมาชิกเต็มใจให้ความร่วมมือด้วยตนเอง    หรือมีส่วนร่วมผ่านหน่วยงาน    สถาบันหรือผู้แทนตามระบอบประชาธิปไตย
2.  การปฏิบัติตามกฏ            ธรรมาภิบาลต้องการความถูกต้องตามกรอบของกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติ    ไม่ลำเอียง    มีการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมกับประชาชนโดยเท่าเทียมกัน    ทุกคนในสังคมอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายเดียวกัน
3.  ความโปร่งใส     
        ความโปร่งใสเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง    มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา    สิ่งนี้ช่วยแก้ปัญหาการทุจริตและคอรัปชั่นได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน    สื่อจะเข้ามีบทบาทอย่างมากในการตรวจสอบและรายงานผลงานดำเนินงานโดยการนำเสนอ ข่าวสารให้แก่สังคมได้รับทราบ
4.  ความรับผิดชอบ     
        ความรับผิดชอบเป็นการพยายามให้คนทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดในการทำงาน    กล้าที่จะตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจนั้นๆ
5.  ความสอดคล้อง     
        ความสอดคล้องต้องกันเป็นการกำหนดและสรุปความต้องการของคนในสังคม    ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมาก    โดยพยายามหาจุดสนใจร่วมกันและความต้องการที่สอดคล้องต้องกันของสังคมมาเป็น ข้อปฏิบัติเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม    การจะพัฒนาสังคมได้    ต้องทราบความต้องการที่สอดคล้องต้องกันของสังคมนั้นๆ    ด้วยวิธีการเรียนรู้    วัฒนธรรมของสังคมนั้นๆก่อน
6.  ความเสมอภาค     
        ความเสมอภาคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับจากรัฐบาล  ทั้งการบริการด้านสวัสดิการ    ตลอดจนสาธารณูปโภคด้านอื่นๆ
7.  หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล     
        เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่    โดยการผลิตและจำหน่ายเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มีคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนหรือ การใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงที่สุดต่อมวลมนุษยชาติ    โดยมีการพัฒนากระบวนการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
8.  การมีเหตุผล     
        การมีเหตุผลเป็นความต้องการในทุกสังคม ประชาชนทุกคน    ต้องตัดสินใจและความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองด้วยเหตุด้วยผลที่สมเหตุสมผล  การมีเหตุผลไม่สามารถกระทำได้ถ้าปราศจากการปฏิบัติตามกฎหมายและความโปร่งใส

http://www.thaichamber.org/scripts/detail.asp?nNEWSID=1220




วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โครงการ “วิถีธรรม สู่การดำเนินชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ”






โครงการ วิถีธรรม สู่การดำเนินชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ
๑.ชื่อโครงการ     โครงการ “วิถีธรรม สู่การดำเนินชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ”
๒.หลักการและเหตุ
ธรรมชาติของผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีสภาพร่างกายที่เริ่มเสื่อมถอยลงเป็นไปตามกาลเวลา ร่างกายไม่เอื้ออำนวยให้ยืน เดิน นั่งนาน ๆ หรืออยู่ในสถานที่ที่แออัด การระบายอากาศไม่ดี เพราะภูมิต้านทานโรคต่ำ ความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวันลดลง มีปัญหาเรื่องสายตา และการได้ยิน รวมถึงความเสื่อมของร่างกายหลายอย่างร่วมกัน มีอารมณ์แปรปรวน อาการต่างๆ เหล่านี้ สามารถชะลอความเสื่อมของร่างกายได้ หลายวิธีการเช่น วิธีการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุควรมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอครั้งละ ๒๕ – ๓๐ นาที จำนวน ๓ – ๕ ครั้งต่อสัปดาห์ วิธีการบริโภคอาหารที่เหมาะสมและถูกต้องกับร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารประเภททอด และวิธีการส่งเสริมสุขภาพจิต สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีได้ เช่น การสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ การเข้าวัดปฏิบัติธรรม ผู้สูงอายุควรมีการส่งเสริมสุขภาพจิตของตนเองเป็นประจำและสม่ำเสมอ 
ตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ มาตรา ๖๗ (๖) องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ และแผนพัฒนาสามปี (๒๕๕๙-๒๕๖๑) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการส่งเสริมคุณภาพชีวิต แนวทางด้านสวัสดิการสังคมและสาธารณสุข โครงการกิจกรรมผู้สูงอายุ
ดังนั้น   องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการวิถีธรรม สู่การดำเนินชีวิต สำหรับผู้สูงอายุโดยจะจัดการอบรมขึ้น เพื่อหวังที่จะให้ผู้สูงอายุ ได้สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ การเข้าวัดปฏิบัติธรรม ส่งเสริมสุขภาพกายและใจของตนเองได้ดีขึ้น  สามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในครอบครัวและสังคม
๓. วัตถุประสงค์
                   โครงการ วิถีธรรม สู่การดำเนินชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ  ๓ ประการ ได้แก่ 
          ๑. เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุให้เข็มแข็ง
          ๒. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ เข้าวัด ปฏิบัติธรรม และการครองศีล ๘
          ๓. เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ และร่างกาย ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
๔.  เป้าหมาย
                   ผู้สูงอายุในตำบลชัยบุรี จำนวน ๕๐ คน

๕.ระยะเวลาการดำเนินงาน
                   ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙

๖.  วิธีการดำเนินการ                                                               
                    ๖.๑.  ประชุมปรึกษาหารือการจัดทำโครงการ
๖.๒.  เสนอโครงการขออนุมัติ
๖.๓   จัดซื้อจัดจ้างตามรายละเอียดโครงการ
                     ๖.๔   จัดทำฝึกอบรม ตามกำหนดการ 
                     ๖.๕   สรุปผลโครงการเสนอให้องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี
๗.  สถานที่ดำเนินการ
                   ณ วัดธารน้ำไหล (สวนโมกข์) อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๘.  งบประมาณ

๙. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                       ๙.๑  ผู้สูงอายุได้รับความรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิต 
๙.๒  ผู้สูงอายุได้นำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
                        ๙.๓  ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น
                        ๙.๔  ผู้สูงอายุในพื้นที่มีกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง
๑๐.  ผู้รับผิดชอบโครงการ
                   สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี

                           


สรุปผลโครงการ 

          โครงการ วิถีธรรม สู่การดำเนินชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ  ๓ ประการ ได้แก่  ประการแรก   คือ  ๑. เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุให้เข็มแข็ง ๒. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ เข้าวัด ปฏิบัติธรรม และการครองศีล ๘ และ สุดท้ายเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ และร่างกาย ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้สูงอายุ ตำบลชัยบุรี จำนวน ๕๐ คน กำหนดจัดอบรมวันที่ ๕  กรกฎาคม ๒๕๕๙ ณ วัดธารน้ำไหล (สวนโมกข์) อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หลักสูตรในการฝึกอบรม
๑.      อบรมให้ความรู้ ศีล ๘ แก่ฆราวาส                                                           ๒ ชั่วโมง
๒.      อบรมให้ความรู้ การปฏิบัติธรรม และการสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้สูงอายุ                    ๒ ชั่วโมง

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ

         
ผลการประเมินหลังการอบรม
          

สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน 
๑.อบรมให้ความรู้ ศีล ๘ แก่ฆราวาส        
          อุโบสถศีลหรือศีล ๘  เป็นศีลของคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในกุศล  มีอัธยาศัยในการออกจากกิเลส  จึงมีข้อความในพระสูตรว่า  พระอริยะสาวกผู้เป็นคฤหัสถ์  ใคร่จะมีชีวิตอยู่อย่างพระอรหันต์วันหนึ่งคืนหนึ่ง  จึงสมาทานสิกขาบท ๘ ข้อ (อุโบสถศีล) คือ ในวันนั้น ท่านละเว้นจากการงานที่เคยทำประจำ มามีชีวิตอยู่อย่างผู้ประเสริฐ  จึงรักษาศีล ๘ดังนั้น ผู้ที่มีศรัทธาจะรักษาอุโบสถศีล  ควรกระทำตามแบบอย่างพระอริยะสาวกในสมัยครั้งพุทธกาล  คือ งดเว้นกิจการงานธุรกิจทั้งหลายในวันนั้น  ถ้าไม่สะดวกควรรักษาศีล ๕ ก็พอ  เพราะถ้าสมาทานศีล ๘  แต่ขณะจิตเต็มไปด้วยอกุศล  หรือมีความกังวลศีลที่รักษาย่อมเศร้าหมองไม่ผ่องใส อุโบสถไม่ใช่อริยะอุโบสถ 
มูลเหตุที่มาแห่งศีล ๘ หลักครอบจักรวาล
          เนื่องจากไม่มีผู้ใดพบทางที่ถูกก่อนทางที่พลาด ตรัสรู้ก่อนหลง และบรรลุอรหันต์ตั้งแต่เกิด เช่นนั้นก็หามีไม่ ดังนั้น ระหว่างการฝึกจิตเพื่อดับทุกข์ ย่อมต้องมีความผิดพลาดพลั้งเกิดขึ้นแก่ผู้ฝึกที่ยังอ่อนด้วยพละทั้งห้าประการ ไม่มีปัญญาพอที่จะพิจารณาความถูกผิดด้วยตนเองได้หมด ไม่มีสมาธิแก่กล้าพอที่จะเลี่ยงออกจากทางที่ผิดพลาด ไม่มีสติพอที่จะว่องไวเท่าทันต่อความผิดพลาด ดังนั้น ศีลจึงเป็นเครื่องมือ ช่วยในการประคับประคองในเดินตามมรรคาได้อย่างเรียบร้อย อนึ่ง พระพุทธเจ้ามิได้ทรงตราศีลในทีเดียวพร้อมกัน แต่ทรงตราขึ้นทีละข้อๆ เมื่อเห็นว่าพุทธบริษัทได้ทำพลาดลงไป ดังนั้น หากพระพุทธองค์ยังทรงมีชีวิตถึงปัจจุบันนี้ เราอาจได้พบว่าศีลของพระมากกว่า ๒๒๗ ข้อ อาจกลายเป็นพันๆ ข้อเสียก็ได้ เพราะสิ่งแปลกใหม่ที่ยั่วยวนเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น ศีลจึงยืดหยุ่นเพิ่มและลดได้ตามกำลังความสามารถของผู้บัญญัติ อนึ่ง พระศาสนากำลังเสื่อมศรัทธาด้วยเพราะการปฏิบัติที่หย่อนยานลง การจะรื้อฟื้นศีลของพระสงฆ์เพื่อทำใหม่ เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นสิ่งล้ำค่าที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ก่อน ดังนั้น การพัฒนาศีลในแนวทางของฆราวาสขึ้นมาใหม่ ให้แน่นหนา เพื่อฝึกตนเองให้พร้อมก่อนที่จะเป็นพระ หรือเพื่อประคับประคองตนเอง จึงเป็นทางออกที่ดีกว่าการแก้ไขพระธรรมวินัยนั้น ด้วยเหตุนี้จึงได้คิดสร้างแนวทางการปฏิบัติธรรมแบบฆราวาสขึ้นมาใหม่ โดยมีศีล ๘ ซึ่งทำหน้าที่ดังนี้
          ๑)    ศีลเป็นเครื่องช่วยประคับประคองจิตของผู้ฝึก เรียกว่า ศีลานุสติปัฏฐานช่วยป้องกันให้ผู้ฝึกจิตที่ยังไม่บรรลุธรรม ได้เว้นจากกรรมและความชั่วทั้งปวงได้
          ๒)    ศีลเป็นเครื่องช่วยให้หมู่คณะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ไม่เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน รู้หน้าที่ที่ควรและไม่ควรของตน เรียกว่า พระธรรมวินัยของผู้ปฏิบัติธรรม
          ๓)    ศีลเป็นเครื่องประดับสถาบันให้งดงามน่าศรัทธา เรียกว่า รัตนตรัยสิกขาเมื่อมีศีล มีระเบียบเรียบร้อย ย่อมก่อให้เกิดความงดงามน่าศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
          ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้ ทำให้ต้องบัญญัติศีล ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากที่เคยได้พบเห็น เพื่อปรับเข้าตามยุคสมัย และเพื่อให้เกิดความงดงามเรียบร้อยของหมู่คณะบ้าง จำต้องเคร่งครัดขึ้นในส่วนนั้น และจำต้องให้เกิดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานบำเพ็ญบารมีตามยุคสมัยบ้าง จำต้องผ่อนปรนลงในส่วนนั้น โดยอาศัยหลักการของศีล ๘ ข้อนี้เป็นแนวทางสำคัญในการปรับใช้ต่อไป


๒.อบรมให้ความรู้ การปฏิบัติธรรม และการสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้สูงอายุ
          เป็นการยกคำสอนท่านอาจารย์พุทธทาส ที่เคยเล่าให้นักเรียนวิทยาลัยเทคนิคพระนคร ฟังเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์  ๒๕๑๐ คำสอน “นิทานเรื่องเมื่อพระเจ้าฯสร้างโลก” เมื่อพระเจ้าฯทรงสร้างโลก
๑.พระองค์สร้าง
มนุษย์เพื่อทำหน้าที่ให้มีประโยชน์ต่อโลก และทำให้โลกงดงาม  มีอายุ ๓๐ ปี
๒.สร้าง วัว-ควาย  เพื่อทำงานรับใช้มนุษย์  ให้มีอายุ ๓๐ ปี วัว-ควายบอกว่า ไม่เอา งานหนักเกินไป  ขอลดอายุเหลือเพียง ๑๐ ปี มนุษย์จึงขออายุวัว-ควายที่เหลือเป็นของตน  รวมเป็น ๕๐ ปี
๓.เมื่อมนุษย์ มีทรัพย์สมบัติมากขึ้น  พระเจ้าฯจึงสร้าง สุนัข ขึ้นมาทำหน้าที่เฝ้าสมบัติ ให้มีอายุ ๓๐ ปี สุนัขบอกว่า ไม่ไหว อดนอนไม่ไหว  ขอลดอายุเหลือเพียง ๑๐ ปี มนุษย์จึงขออายุสุนัขส่วนที่ลดไปมาเป็นของตน  รวมเป็น ๗๐ ปี
๔.พระเจ้าฯเห็นว่า มนุษย์ควรมีสิ่งสนุกสนาน  จึงสร้าง ลิงเพื่อทำหน้าที่ให้มนุษย์หัวเราะ  มีความสำราญ  ให้มีอายุ ๓๐ ปี ลิงบอกว่าทำหน้าที่จำอวด ๓๐ ปีไม่ไหว  ขอลดเหลือ ๑๐ ปี มนุษย์จึงขออายุลิงส่วนที่ลดไปมาเป็นของตนเอง  รวมเป็น ๙๐ ปี
          ลองทบทวนดูเถอะ.....เมื่ออายุ ๑ ปี ๓๐ ปี  เรามีความสุขสนุกสนาน  ชีวิตสวยสดงดงาม สดชื่น อายุ ๓๑ ปี ๕๐ ปี  เป็นช่วงอายุของวัว-ควาย ต้องทำหน้าที่วัว-ควาย งานหนัก รับผิดชอบครอบครัวในฐานะเป็นพ่อแม่ อายุ ๕๑ ปี ๗๐ ปี  เป็นคุณตา-คุณยาย  คุณปู่-คุณย่า เป็นช่วงอายุของสุนัข  เริ่มนอนไม่หลับ  เป็นห่วงลูกหลาน ทรัพย์สมบัติ  มีความวิตกกังวล  หลับยาก อายุ ๗๑ ปี ๙๐ ปี  เป็นช่วงอายุของลิง  เป็นคนแก่ ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ   งก ๆ เงิ่น ๆ   กินแล้วบอกว่ายังไม่ได้กิน  เป็นตัวตลกของลูกหลาน ลองทบทวนดูเถอะมนุษย์เอ๋ย....เป็นเช่นนั้นหรือไม่?

          จากการฟังคำสอน ท่านอาจารย์พุทธทาส ให้แนวทางไว้ว่า
๑. เราสามารถปลดเปลื้องข้อผูกพัน ในช่วงอายุ ๒๐ ปี ของ วัว-ควาย ซึ่งอยู่ในช่วงทำงาน โดยทำใจให้อยู่เหนือความทุกข์ยากทรมาน ทำงานด้วยธรรมะ ทำงานด้วยหน้าที่ มีความสุขในการทำงาน
๒. เราสามารถปลดเปลื้องข้อผูกพัน ช่วงอายุ ๒๐ ปี ของสุนัข ซึ่งมักจะนอนไม่หลับ เพราะความเป็นห่วงในทุกข์ ๆ เรื่อง โดยการปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด เราจะนอนหลับสบาย
๓. เราสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ใจ ข้อผูกพันของช่วงอายุ๒๐ ปี แห่งการเป็นลิง ด้วยการมีธรรมะสมบูรณ์ จะทำให้ไม่มีเรื่องสติฟั่นเฟือน ไม่หลงใหล ไม่งก ๆ โดยเจริญสติปัฏฐานอยู่เป็นประจำ
ข้าพเจ้าได้นำวิธีแก้ปัญหาของช่วงอายุต่าง ๆ มากล่าวไว้แล้ว ท่านที่เคารพคงหายข้องใจ
          องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการวิถีธรรม สู่การดำเนินชีวิต สำหรับผู้สูงอายุโดยจะจัดการอบรมขึ้น เพื่อหวังที่จะให้ผู้สูงอายุ ได้สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ การเข้าวัดปฏิบัติธรรม ส่งเสริมสุขภาพกายและใจของตนเองได้ดีขึ้น  สามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในครอบครัวและสังคม

                                                         
                                                                   (นายธนกร  ลิ่มวงศ์)
                                                                นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ


โครงการอบรมดูแลสุขภาพผู้พิการ






โครงการอบรมดูแลสุขภาพผู้พิการ
๑.ชื่อโครงการ     โครงการอบรมดูแลสุขภาพผู้พิการ
๒.หลักการและเหตุ
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม  เนื่องจากความพิการทางร่างกายและทางจิตส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้พิการไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ  ไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่อง  ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล  ในพื้นที่ตำบลชัยบุรี มีประชากรจำนวน ๖๗๐๐คน มีผู้พิการจำนวน ๗๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๑๒  ของประชากรทั้งหมด และมีผู้พิการแยกประเภท ดังนี้ ประเภทพิการทางการมองเห็น ประเภทพิการทางการได้ยิน/สื่อความหมาย ประเภทพิการทางด้านการเคลื่อนไหว/กาย ประเภทพิการทางด้านจิตและพฤติกรรม ประเภทพิการทางด้านสติปัญญา/การ และมีความพิการซ้ำซ้อน ซึ่งการดำเนินงานในด้านการดูแลผู้พิการยังขาดความต่อเนื่องรวมไปถึงความครอบคลุมในการดูแลผู้พิการยังไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
ตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ มาตรา ๖๗ (๖) องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ และแผนพัฒนาสามปี (๒๕๕๙-๒๕๖๑) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการส่งเสริมคุณภาพชีวิต แนวทางด้านสวัสดิการสังคมและสาธารณสุข โครงการส่งเสริมกลุ่มคนพิการ/ผู้ด้อยโอกาส
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้พิการ จึงได้จัดทำโครงการอบรมดูแลสุขภาพผู้พิการ เพื่อให้ผู้พิการ หรือ ผู้ดูแลคนพิการ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถ ฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้อง
๓. วัตถุประสงค์
                   โครงการ อบรมดูแลสุขภาพผู้พิการ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ  ๓ ประการ ได้แก่ 
๑.      เพื่อให้ผู้พิการ ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล
๒.      เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ
๓.      เพื่อให้ญาติและผู้ดูแลผู้พิการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในโรงพยาบาลและในชุมชน
๔.  เป้าหมาย
                   ผู้พิการ หรือผู้ดูแลคนพิการในตำบลชัยบุรี จำนวน ๒๐ คน

๕.ระยะเวลาการดำเนินงาน
                   ๒๐  กันยายน ๒๕๕๙

๖.  วิธีการดำเนินการ                                                               
                   ๖.๑.  ประชุมปรึกษาหารือการจัดทำโครงการ
๖.๒.  เสนอโครงการขออนุมัติ
.   ส่งหนังสือแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องและวิทยากร
๖.๔   จัดซื้อจัดจ้างตามรายละเอียดโครงการ
                   ๖.๕   จัดทำฝึกอบรม ตามกำหนดการ 
                   ๖.๖   สรุปผลโครงการเสนอให้องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี
๗.  สถานที่ดำเนินการ
                   โรงพยาบาลชัยบุรี   อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๘.  งบประมาณ
          ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ แผนงานงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน  งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน หมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่น ๆ รายการ โครงการส่งเสริมกลุ่มคนพิการ/ผู้ด้อยโอกาสจำนวน ๑๕,๐๐๐ บาท                 
๙. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
          ๙.๑  ญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการ  มีความรู้  มีทักษะ  สามารถให้การดูแลและฟื้นฟูมรรถภาพ
                 ผู้พิการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
          ๙.๒  ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตนเองได้หลังรับการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือ เป็นภาระแก่   ครอบครัวให้             น้อยที่สุด
          ๙.๓  ญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการ สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาใช้ เพื่อการพัฒนา                           และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
          ๙.๔  ผู้พิการสามารถให้ความช่วยเหลือดูแลคนพิการกันเองในกลุ่มคนพิการ  เพื่อให้คน                             พิการสามารถดำรงชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข  และมีส่วนช่วยเหลือ                                 สังคมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง
        
๑๐.  ผู้รับผิดชอบโครงการ
                   สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี ร่วมกับ โรงพยาบาลชัยบุรี
๑๑.การประเมินผล
                   ประเมินผลโดย ทำแบบสอบถามความพึงพอใจการเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒๐ ชุด 


                                                 (ลงชื่อ) ( นายธนกร ลิ่มวงศ์ ).ผู้เขียนโครงการ
                                                              นักพัฒนาชุมชน