วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2560

หลักการสากลของ ธรรมาภิบาล

หลักการสากลของ ธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล Good Governance
        คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
        ธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น
 
หลักการสากลของ  ` ธรรมาภิบาล ´
องค์การสหประชาชาติ กำหนดหลักการทั่วไปของธรรมาภิบาล ไว้ 8 หลักการ ดังนี้

1.  การมีส่วนร่วม            การมีส่วนร่วมของสมาชิกทั้งชายหญิงคือการตัดสินใจที่สำคัญในสังคมและสร้าง ความสามัคคีให้เกิดกับประชาชน    การมีส่วนร่วมสามารถทำได้โดยอิสระไม่มีการบังคับ    สมาชิกเต็มใจให้ความร่วมมือด้วยตนเอง    หรือมีส่วนร่วมผ่านหน่วยงาน    สถาบันหรือผู้แทนตามระบอบประชาธิปไตย
2.  การปฏิบัติตามกฏ            ธรรมาภิบาลต้องการความถูกต้องตามกรอบของกฎหมาย ไม่เลือกปฏิบัติ    ไม่ลำเอียง    มีการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเป็นธรรมกับประชาชนโดยเท่าเทียมกัน    ทุกคนในสังคมอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายเดียวกัน
3.  ความโปร่งใส     
        ความโปร่งใสเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง    มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา    สิ่งนี้ช่วยแก้ปัญหาการทุจริตและคอรัปชั่นได้ทั้งในภาครัฐและเอกชน    สื่อจะเข้ามีบทบาทอย่างมากในการตรวจสอบและรายงานผลงานดำเนินงานโดยการนำเสนอ ข่าวสารให้แก่สังคมได้รับทราบ
4.  ความรับผิดชอบ     
        ความรับผิดชอบเป็นการพยายามให้คนทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดในการทำงาน    กล้าที่จะตัดสินใจและรับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจนั้นๆ
5.  ความสอดคล้อง     
        ความสอดคล้องต้องกันเป็นการกำหนดและสรุปความต้องการของคนในสังคม    ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมาก    โดยพยายามหาจุดสนใจร่วมกันและความต้องการที่สอดคล้องต้องกันของสังคมมาเป็น ข้อปฏิบัติเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม    การจะพัฒนาสังคมได้    ต้องทราบความต้องการที่สอดคล้องต้องกันของสังคมนั้นๆ    ด้วยวิธีการเรียนรู้    วัฒนธรรมของสังคมนั้นๆก่อน
6.  ความเสมอภาค     
        ความเสมอภาคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงได้รับจากรัฐบาล  ทั้งการบริการด้านสวัสดิการ    ตลอดจนสาธารณูปโภคด้านอื่นๆ
7.  หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล     
        เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่    โดยการผลิตและจำหน่ายเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มีคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนหรือ การใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงที่สุดต่อมวลมนุษยชาติ    โดยมีการพัฒนากระบวนการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
8.  การมีเหตุผล     
        การมีเหตุผลเป็นความต้องการในทุกสังคม ประชาชนทุกคน    ต้องตัดสินใจและความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองด้วยเหตุด้วยผลที่สมเหตุสมผล  การมีเหตุผลไม่สามารถกระทำได้ถ้าปราศจากการปฏิบัติตามกฎหมายและความโปร่งใส

http://www.thaichamber.org/scripts/detail.asp?nNEWSID=1220




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น