ทัศนะของพวกสัมพัทธนิยม ; การทำความดี คือ การทำตามความรู้สึกและจารีตประเพณี
เห็นว่าดีชั่วไม่ใช่สิ่งตายตัว การกระทำหรือการปฎิบัติอันใดอันหนึ่งจะดีหรือชั่ว ผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและปัจจัยหลายๆอย่างในสภาพหนึ่งสิ่งหนึ่งอาจจะดีหรือถูก แต่ในสภาพหนึ่งอาจจะเลวหรือผิดก็ได้
พวกสัมพัทธนิยม มีแนวคิดว่าดีชั่ว ถูกหรือผิด มิได้มีจริงแต่เป็นสิ่งสมมุติและมีลักษณะเป็นอัตวิสัย คือ ดีชั่วมิได้มีจริงอย่างแน่นอนตายตัว โดยตัวของมันเอง แต่มันขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคนจะมอง ขึ้นอยู่กับสังคม การกระทำอย่างหนึ่งสำหรับคนหนึ่ง หรือสังคมหนึ่ง อีกสภาพแวดล้อมหนึ่ง และอีกเวลาหนึ่ง อาจถือว่าเป็นสิ่งชั่วก้อได้ บุคคล เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม ผลที่เกิดขึ้น สภาพทางเศรษฐกิจ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยในการกำหนดดีชั่ว ดีชั่วจึงไม่ใช่สิ่งตายตัว เปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพราะดีชั่วขึ้นกับสิ่งอื่น หรือดีชั่วสัมพัทธ์กับสิ่งอื่น
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
ด้วยเหตุที่พวกสัมพัทธ์นิยมเห็นว่าดีชั่วไม่แน่นอนตายตัว เพราะฉะนั้น เกณฑ์ที่ใช้ตัดสิน ก็ไม่แน่นอนตายตัวด้วย มักขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม ความรู้สึก จารีต ประเพณี เป็นต้น
การกระทำความดี คือ การกระทำในสิ่งที่เรารู้สึกเห็นด้วย จึงกล่าวได้ว่า ดีชั่วขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคน หรือพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ดีชั่วเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ความรู้สึกของใคร ก็ความรู้สึกของคนนั้น
การกระทำความดี คือ การกระทำตามจารีตประเพณี คนต่างจารีตประเพณีกัน จะมองดีชั่วต่างกัน การกระทำแบบเดียวกันถิ่นหนึ่งประเพณีหนึ่งถือว่าเป็นสิ่งดีในขณะที่อีกถิ่นหนึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่เลวไม่ควรทำ
สรุปพวกสัมพัทธ์นิยมถือว่าดีชั่วเป็นเพียงสมมุติหามีจริงไม่ แต่ละท้องถิ่นอาจสมมุติแตกต่างกันออกไป ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆที่สามารถถือได้ว่าเป็นกฎเกณฑ์สากลที่มนุษย์ทุกยุคทุกสถานที่จะยอมรับร่วมกันได้ ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เมื่อดีชั่วไม่มีจริง เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่วก็ไม่มีจริงด้วยมันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของมนุษย์แต่ละคนแต่ละกลุ่มเท่านั้นพวกนี้จึงถือว่ามนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง ด้วยตัวของตัวเองคนอื่นไม่เกี่ยวดีชั่วเป็นเรื่องของแต่ละคน ต่างคนต่างความรู้สึก ต่างประเพณี ต่างศาสนา ย่อมตัดสินดีชั่วต่างกัน คนอื่นจะใช้ความรู้สึกของเขามาวัดการกระทำของเราไม่ได้และเราจะใช้ความรู้สึกของเราไปตัดสินการกระทำของคนอื่นก็ไม่ได้เช่นกัน
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่วในทัศนะของพวกสัมพัทธนิยม
เป็นอัตวิสัย คือ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตัวผู้วัดและจารีตประเพณี เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า มนุษย์เป็นเครื่องวัดทุกสิ่งด้วยตัวของตัวเอง
ทัศนะของพวกสัมบูรณนิยม : การทำดี คือ การทำตามสำนึกมโนธรรม
สัมบูรณ์ คือ ไม่ขึ้นอยู่กับ ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งอื่นใด แต่จะมีลักษณะคงที่แน่นอนตายตัวในตัวของมันเอง
สัมบูรณ์นิยม ถือว่าดีชั่วถูกผิดมีจริงอย่างแน่นอนตายตัว และเด็ดขาดโดยตัวของมันเอง ถืออะไรดีก็ดีเสมอทุกสถานที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ ถ้าอะไรชั่วก็ชั่วเสมอทุกสถานที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ ไม่ใช่ว่าการการทำอย่างเดียวกันบางครั้งดีแต่บางครั้งชั่ว ถ้าการกระทำอย่างหนึ่งดีมันต้องดีเสมอโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ขึ้นอยู่กับผลของการกระทำนั้นว่า จะทำให้มนุษย์เป็นสุขหรือเป็นทุกข์มากขึ้น ไม่ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็น ผู้ตัดสิน
ลักษณะดีชั่วในทัศนะของพวกสัมบูรณนิยม จึงถือว่าเป็น ปรวิสัย ดีชั่วแบบ ปรวิสัยนี้ไม่ขึ้นอยู่กับใครเป็นผู้ตัดสิน หากดีชั่วอยู่ภายในตัวมันเอง เทียบง่ายๆกับข้อสอบปรนัยถือถูกหรือผิดเป็นปรวิสัย คือ จะถูกข้อ ก ข ค ง ก็ถูกอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ว่าใครจะเป็นคนตรวจ ซึ่งต่างกับข้อสอบแบบอัตนัยซึ่งมีลักษณะเป็นอัตวิสัย
สรุป ผู้ที่เชื่อว่าดีชั่วมีจริงในการกระทำ ย่อมเชื่อต่อไปด้วยว่าถ้าการกระทำอย่างหนึ่งดี มันย่อมดีเสมอ ไม่ว่าใครจะเป็นผู้กระทำ ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำแล้วจะเกิดผลอย่างไร การพูดความจริงย่อมดีเสมอไม่ว่าจะพูดแล้วจะเกิดผลเช่นไร ถ้าหมอบอกความจริงแก่คนไข้แล้วคนไข้ช็อคตาย นั่นก็ไม่ทำให้การพูดความจริงซึ่งมีความดีอยู่ในตัวกลายเป็นสิ่งที่เลวไปได้ การฆ่าคนที่ไม่มีความผิดย่อมเป็นการกระทำที่เลวภายในตัวมันเอง ไม่ว่าจะฆ่าเพื่อชิงทรัพย์หรือช่วยชีวิตคนก็ตาม เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะการกระทำมีความดี ความชั่วภายในตัวมันเอง ความดี ความชั่ว ไม่ขึ้นอยู่กับการกระทำนั้นทำให้มนุษย์สุขหรือทุกข์ ไม่ขึ้นอยู่กับว่าคนชอบหรือไม่ชอบมัน ถ้าการกระทำหนึ่งเลวย่อมเลวเสมอ
เกณฑ์การตัดสินดีชั่ว
คือ มโนธรรม พวกสัมบูรณ์นิยมจึงมีทัศนะว่าการทำดี คือ การกระทำตามสำนึกมโนธรรม มโนธรรม คือ ความสำนึกทางศีลธรรมที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ในตัวแล้วโดยธรรมชาตินั่นเอง มโนธรรม คือ เสียงกระซิบของเหตุผลที่ออกมาจากส่วนลึกของจิตใจในขณะปราศจากกิเลศครอบงำ มโนธรรม จะหยั่งเห็นได้โดยตรงว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร และอะไรไม่ควร
ทัศนะของพวกประโยชน์นิยม : การกระทำดี คือ การทำประโยชน์สุขให้มหาชน
1. พวกประโยชน์นิยมเป็นสัมพัทธนิยม :ดีชั่วขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น
พวกประโยชน์นิยม มองว่า ดีชั่วถูกผิดไม่แน่นอนตายตัว แต่มันขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงไปตามอีกสิ่งหนึ่ง คือ ประโยชน์สุข การกระทำใดที่จะถือว่าเป็นการกระทำดี ก็คือการกระทำที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุข ส่วนการกระทำใดที่ถือว่าเป็นการประทำชั่ว ก็คือการกระทำที่ก่อให้เสียผลประโยชน์สุข
๒. พวกประโยชน์นิยมเป็นสุขนิยม : ความดีเป็นสิ่งเดียวกับความสุข
พวกสุขนิยม มองว่า ความดีกับความสุขเป็นสิ่งเดียวกัน การกระทำความดี คือการกระทำที่ก่อให้ความสุขมากที่สุดและยังความทุกข์ให้เกิดน้อยที่สุด
ตามทัศนะของพวกประโยชน์นิยม จึงใช้สุขทุกข์เป็นเครื่องตัดสินดีชั่ว คือ ทำดี คือ ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุข ทำชั่ว คือ ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดความทุกข์
พวกสุขนิยม แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ
ปัจเจกสุขนิยม คือ พวกสุขนิยมส่วนตน และ สาธารณสุขนิยม คือ พวกที่เน้นผลหวังผลประโยชน์สุขของสาธารณชนหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
ใช้ผลประโยชน์สุขเป็นเครื่องตัดสินดีชั่ว ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า หลักมหสุข คือ
๑ การกระทำใดก็ตามที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุขมากที่สุด แก่คนจำนวนมากที่สุด ถือว่าเป็นการกระทำที่ดีที่สุด
๒ การกระทำบางอย่างอาจจะก่อให้เกิดทั้งสุขและทุกข์หรือประโยชน์และโทษปนกันถ้าหักลบกันแล้วก่อให้เกิดประโยชน์หรือสุขมากกว่าก็ถือว่าเป็นการกระทำดี
๓ ถ้าในเงื่อนไขที่ไม่สามารถเลือกได้ การกระทำทุกอันล้วนก่อให้เกิดทุกข์ หรือโทษทุกกรณี การกระทำที่ก่อให้เกิดทุกข์หรือน้อยที่สุดก็ถือว่าเป็นการกระทำดีเช่นกัน
ลักษณะของการตัดสินดีชั่วของพวกประโยชน์นิยม
๑ การตัดสินใจทำอะไรลงไปแต่ละครั้งก่อนลงมือกระทำยังไม่อาจบอกได้ว่าการกระทำนั้นดีหรือชั่ว เพราะแนวคิดสายนี้วัดกันที่ ผลที่ได้
๒ การตัดสินดีชั่วไม่คำนึงถึงเจตนาของผู้กระทำว่าทำลงไปโดยเจตนาดีหรือชั่ว แต่พวกประโยชน์นิยมจะตัดสินกันด้วยสิ่งที่แลเห็น คือ ผลที่ได้
ทำโดยเจตนาดี ผลออกมาดี ตัดสินว่าทำดี
ทำโดยเจตนดี ผลออกมาให้โทษ ตัดสินว่าทำชั่ว
เจตนาชั่ว ผลออกมาชั่ว ตัดสินว่าทำชั่ว
เจตนาชั่ว ผลออกมาดี ตัดสินว่าทำดี
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
พวกประโยชน์นิยมใช้หลักมหสุข คือ การกระทำที่ดีที่สุด คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุขมากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด ถ้าการกระทำใดมีทั้งสุขทั้งทุกข์ปนก็คำนวณดู ถ้าให้สุขมากกว่าก็ถือว่าทำดี แต่ถ้าทุกการกระทำล้วนก่อให้เกิดทุกข์ อันใดก่อให้เกิดทุกข์น้อยที่สุดก็ถือว่าทำดี
ลักษณะของการตัดสินดีชั่ว
การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดดีหรือชั่วไม่คำนึงถึงเจตนา ของผู้กระทำ แต่ให้คำนึงถึง ผลที่ได้ เป็นเกณฑ์
ทัศนะของค้านท์ : การทำดี คือ การทำด้วยเจตนาดี
มองว่าดีชั่วแบบวัตถุวิสัยหรือปรวิสัย คือ มองแบบเดียวกับพวกสัมบูรณ์นิยมที่ถือว่าดีชั่วจะต้องเป็นสิ่งมีจริงอย่างแน่นอนตายตัว เมื่อดีชั่วมีจริงอย่างนี้จะเอาความรู้สึกหรือผลตัดสินดีชั่วได้นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัวเช่นเดียวกัน สิ่งนั้นคือ เจตนาดี อะไรที่ทำโดยเจตนาดีก็ตัดสินว่าทำดี แต่ถ้าทำโดยเจตนาไม่ดีก็ตัดสินว่าทำไม่ดี
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
ค้านท์ ใช้ เจตนา เป็นเกณฑ์ตัดสินดีชั่ว โดยถือว่าการทำดี คือ การกระทำด้วยเจตนาดี การกระทำโดยเจตนาดี คือ การทำตามหน้าที่ การกระทำตามหน้าที่ คือการกระทำที่เกิดจากแรงจูงใจของเหตุผลและก่อให้เกิดกฎศีลธรรม ซึ่งเป็นการกระทำที่เกิดจากคำสั่งที่ถูกต้อง ที่ถูกต้อง แรงจูงใจที่ถูกต้อง คือแรงจูงใจที่เกิดจากเหตุผล คือ ทำตามหลักการ โดยไม่คำนึงตัวบุคคล ญาติพี่น้อง หรือทำเพราะเมตตาสงสาร กิเลส ตัณหา
เกณฑ์การตัดสินค่าทางจริยธรรม (ดีชั่ว)
ทัศนะของพวกสัมพัทธนิยม ; การทำความดี คือ การทำตามความรู้สึกและจารีตประเพณี
ทัศนะของพวกสัมบูรณนิยม : การทำดี คือ การทำตามสำนึกมโนธรรม
ทัศนะของพวกประโยชน์นิยม : การกระทำดี คือ การทำประโยชน์สุขให้มหาชน
ทัศนะของค้านท์ : การทำดี คือ การทำด้วยเจตนาดี
.......................................................................................
สัมพัทธนิยม กับประโยชน์นิยม มองว่า ดีชั่วไม่มีจริง ไม่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น เช่น เวลา สถานที่ เป็นอัตวิสัย
สัมพัทธนิยม ตัดสินว่า การทำความดี คือ การทำตามความรู้สึก และจารีตประเพณี ตัวเราเป็นเป็นตัดสินว่าดี หรือชั่ว
ประโยชน์นิยม ตัดสินว่า การทำดี คือ การทำประโยชน์สุขให้มหาชน ไม่ดูเจตนา แต่ดูที่ผลของการกระทำ ถ้าผลออกมาแล้วเป็นประโยชน์สิ่งนั้นดี
สัมบูรณ์นิยม กับค้านท์ มองว่า ดีชั่วเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัว เป็นสิ่งที่มีจริง ถ้าการกระทำหนึ่งดี สิ่งนั้นย่อยดีเสมอไม่ว่าจะทำที่ไหนและเมื่อไหร่ เช่นการพูดความจริงเป็นการทำดี เสมอ เป็น ปรวิสัย
สัมบูรณ์นิยม ตัดสินว่า การทำความดี คือ การทำตามสำนึกของมโนธรรม เช่น การฆ่าคน ย่อมชั่วเสมอ การโกหก ย่อมชั่วเสมอ
ค้านท์ ตัดสินว่า การทำดี คือ การทำด้วยเจตนาดี
สรุปแนวคิด สอบ ป โท