วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

โลกาภิวัตน์กับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย โดย ดร.บวร ประพฤติดี


โลกาภิวัตน์กับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย โดย ดร.บวร ประพฤติดี
การขับเคลื่อนการพัฒนาในกรอบโลกาภิวัตน์ 1. คลื่นการเปลี่ยนแปลง การเข้ามาของระบบโลกาภิวัตน์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายแห่งรัฐที่เป็นหัวใจกำหนดการปรับกลยุทธ์การบริหารรัฐบาลในอนาคต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่การเข้ามาของระบบโลกาภิวัฒน์ เกิดผลกระทบทำให้สังคมประเทศกำลังพัฒนา เติบโตภายหลังการพัฒนาอุตสาหกรรม และเกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีเทคโนโลยีระดับสูงที่สื่อสารแบบไร้พรมแดน มีลูกค้าที่รอบรู้และความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นและมีความหลากหลายในการขอรับบริการ ทำให้องค์กรต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สังคมไทยในปัจจุบันคือสังคมที่พัฒนาไปสู่โลกของความรู้และมีระบบการสื่อสารที่สร้างสื่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์กรทั่วโลกอย่างรวดเร็วไม่มีขอบเขต กระบวนการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นองค์กรระดับระหว่างประเทศ ภายในประเทศ ชุมชนเล็กๆในชนบท เครื่องมือการสื่อสารที่ไร้พรมแดนทำให้ยุทธ์ศาสตร์ในการบริหารองค์กรต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถรองรับระบบการบริหารที่ทันสมัยได้ 2. เศรษฐกิจทุนนิยมวัฒนธรรมการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงจากกระแสโลกาภิวัตน์นำเข้าคลื่นการลงทุนจากต่างประเทศ พร้อมๆกับการกู้เงินต่างประเทศมาสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมเพื่อรองรับกระแสการพัฒนา โครงการขนาดยักษ์เช่น Eastern Seaboard ในภาคตะวันออกเป็นการลงทุนทางอุตสาหกรรมที่เป็นกระแสที่ชื่นชมในยุแรกๆของการพัฒนา แต่กลับกลายเป็นความทุกข์ทรมาณของประชาชนในยุคปัจจุบัน( พ.ศ. 2552 ) ที่ผลพวงของการลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม กระแสโลกาภิวัตน์เข้ามาพร้อมกับวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นการแข่งขันอย่างเสรีไม่มีการผูกขาด วัฒนธรรมการทำงานแบบธรรมาภิบาลที่ควบคุมการทุจริตคอรัปชั่นและองค์การบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจในองค์การ การทำงานเป็นทีม อย่างไรก็ตามผลของการพัฒนาที่มองเห็นเป็นรูปธรรม กลับเป็นการพัฒนานโยบายการศึกษาที่นับวันจะหนีจากวงล้อมของความดีและระบบคุณธรรมจริยธรรมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดีรับใช้สังคม การศึกษาที่เน้นการแข่งขันทำให้มีการผูกขาดการศึกษาในกลุ่มแคบๆของชนชั้นนำที่มีทุนเท่านั้น นักเรียน นักศึกษาจากบ้านนอกจะไม่มีโอกาสในการแข่งขันเพราะขาดต้นทุนที่เป็นปัจจัยหลักในการเรียน ธุรกิจที่ไม่มีการผูกขาดจึงยากที่จะหาพบได้ตามทฤษฎีการพัฒนาประเทศแบบทุนนิยม การเข้ามาของทุนใหญ่โลกาภิวัตน์จึงเกิดการทำลายล้างทุนเล็กที่เป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคมและวิถีชีวิตของสังคมชนบท การล่มสลายของธุรกิจโชฮ่วยมาจากการเข้ามาของทุนเสรีนิยมโลกาภิวัตน์แทบทั้งสิ้น รัฐบาลแทนที่จะกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐเพื่อคุ้มครองธุรกิจท้องถิ่นให้อยู่ได้กลับไม่พยายามดำเนินการ ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะเป็นเพราะธุรกิจโลกาภิวัตน์มีการดำเนินงานระดับนโยบายมาโดยตลอด สายสัมพันธ์ทางการเมือง ธุรกิจมีความเป็นปึกแผ่นและเหนียวแน่นเกินกว่ากำลังของประชาชนในชนบทจะเปลี่ยนแปลงได้  3. สื่อโลกาภิวัตน์ไร้พรมแดน การดำเนินธุรกิจโลกาภิวัตน์ย่อมอาศัยการสื่อสารเป็นกลไกสำคัญในการวางตลาดสินค้าและบริการ การเข้ามาของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ยกระดับการแข่งขันจากสื่อหนังสือพิมพ์สู่สื่อโทรทัศน์และสื่อคอมพิวเตอร์ดอตต์คอมม์ ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อกลยุทธ์การขายสินค้าและบริการ ดังนั้นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนสูงในการใช้การสื่อสารที่ไร้พรมแดนทำการแข่งขันในระบบธุรกิจที่เปิดให้แข่งขันอย่างเสรี ย่อมได้เปรียบตลอดเวลา ดังนั้นธุรกิจชุมชนหรือวิสาหกิจขนาดเล็กซึ่งไร้แขนขาในการบริหารจัดการสื่อจึงไม่สามารถเข้าแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพได้ในระบบธุรกิจที่เรียกว่าเปิดเสรี การเปลี่ยนแปลงด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคสื่อเสรีที่เห็นชัดเจนในปี พ.ศ. 2551 คือการเกิดของสื่อเสรีที่เรียกชื่อว่า ASTV การเกิดขึ้นของสื่อโทรทัศน์ไร้พรมแดนทำให้เส้นแดนของกระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อการเรียนรู้ที่รับเป็นผู้ควบคุมในอดีต การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อการใช้อำนาจรัฐคือการเกิดขึ้นของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย( People’s Alliance for Democracy:PAD) ที่ได้รวมหัวใจของพลังประชาชนผู้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวทำหน้าที่ใช้หนี้แผ่นดินเพื่อสร้างสังคมใหม่ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญให้เกิดประชาธิปไตยศีลธรรมในสังคมไทย สื่อเสรีที่เรียกตัวเองว่า ASTV สื่อของประชาชนได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนพลังการเปลี่ยนแปลงผ่านสื่อโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม จากจุดนี้เองที่สังคมไทยได้มีวิสัยทัศน์การเมืองใหม่เกิดขึ้นซึ่งถือได้ว่าเป็นกระบวนการระดมพลังแผ่นดิน( Public Trust ) ที่เกิดขึ้นยากมากในสังคมทั่วไป ASTV ใช้การสื่อสารและระบบเทคโนโลยีข่าวสารของระบบโลกาภิวัตน์กับกระบวนการทางศีลธรรม ที่พัฒนาจากความรู้ความจริงที่ไม่บิดเบือนในสังคมบวกกับผู้นำคุณธรรมหลายฝ่ายในภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการและกลุ่มประชาชนที่เบื่อหน่ายกับสังคมแบบนิยายน้ำเน่าในอดีตรวมหัวใจ รวมพลังและศรัทธาเพื่อสร้างสังคมใหม่ 4. การปรับยุทธศาสตร์แนวราบ โลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการปรับตัวของกระบวนทัศน์ทางการเมืองและการพัฒนาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่เห็นชัดเจนคือโครงสร้างการบริหารองค์กรแบบแนวดิ่งเปลี่ยนเป็นองค์กรแนวราบ จากองค์กรที่เน้นอำนาจที่ศูนย์กลาง มีการควบคุมรวมอำนาจเป็นองค์กรแบบกระจายอำนาจที่เน้นการทำงานเป็นทีมใช้ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมืออาชีพ การออกแบบองค์กรจะเน้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่จะพัฒนาไปสู่การสร้างศักยภาพและความสามารถขององค์กรนำไปสู่ความได้เปรียบในการบริหารและการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงการบริหารองค์กรในอนาคตคือการยึดประชาชนเป็นเป้าหมายหลัก องค์กรจึงต้องมีกลยุทธ์ประชาชนสัมพันธ์ที่ทำให้ผู้บริโภคสินค้าเกิดความพอใจในผลิตภัณฑ์และการให้บริการนำไปสู่ความประทับใจและสร้างสายใยที่ผูกพันธ์ตลอดชีวิต ในระบบธุรกิจลูกค้าสัมพันธ์แบ่งเป็นลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอก ลูกค้าภายในมีความสำคัญกว่าลูกค้าภายนอกที่องค์กรจำเป็นต้องสร้างให้พร้อมด้วยศักยภาพและความสามารถในการบริหารเพื่อทำหน้าที่ให้บริการลูกค้าภายนอกทั้งคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์และการให้บริการตลอดชีวิต การบริหารการเปลี่ยนแปลงจะสำเร็จได้ดี จำเป็นต้องมีผู้นำคุณธรรมในการเปลี่ยนแปลงสังคม(Transformational Leadership) ผู้นำมีความสำคัญอย่างยิ่งในความสำเร็จของการบริหารองค์กร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะเป็นผู้ที่กำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายและกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่มาจากแนวคิดและปรัชญาการบริหารของผู้นำเอง หรืออาจมาจากการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กลยุทธ์จากสมาชิกชั้นนำในองค์กร หลังจากนั้นผู้นำและทีมงานบริหารจะต้องผลักดันกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงจากระดับบนไปสู่ทุกระดับขององค์กรเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนการเรียนรู้สู่บุคลากรทุกคน ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในทิศทางเดียวกันกับการพัฒนาองค์กร การพัฒนาคนให้มีศักยภาพและความสามารถโดยกระบวนการฝึกอบรมอย่างเข้มข้น และการกำหนดวัฒนธรรมองค์กรใหม่เพื่อนำมาปฏิบัติอย่างทั่วถึง วัฒนธรรมองค์กรคือหลักการที่กำหนดขึ้นมาเพื่อเชื่อมประสานบุคลากรในองค์กรให้คิด กระทำในทิศทางเดียวกัน ผู้นำมีความจำเป็นในเบื้องต้นที่จะต้องผลักดันพลังสมาชิกองค์กรให้มีหัวใจเป็นหนึ่งเดียว ผสานพลังในการทำงานเพื่อเป้าหมายขององค์กร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสังคมการเมืองใหม่จึงต้องมีความกล้าหาญ เด็ดขาดและเข้มแข็งในสถานการณ์ที่ต้องเด็ดขาดและประนีประนอมในสถานการณ์ที่ต้องประนีประนอม พร้อมๆกับการมีคุณธรรมและจริยธรรมสำคัญที่ผู้นำพึงมีได้แก่ ความโปร่งใส ความรับผิดชอบและการเป็นบุคคลที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี การแสวงหาความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อมองหาแนวนโยบายและการตัดสินใจที่รอบคอบรัดกุมที่สุดในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นอกจากนั้นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ควรเป็นนักบริหารความสัมพันธ์ คือเป็นผู้มีทักษะในการสื่อสารที่กระตุ้นและนำบุคคลเชื่อ ใช้วิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลนำองค์กร ทำให้ทุกคนในองค์กรมีความเชื่อร่วมกัน เป็นผู้นำที่มีอิทธิพลเหนือผู้อื่น มีพลังดึงดูดคนส่วนใหญ่ให้คล้อยตาม มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงบุคคลอื่นให้มีความสามารถ ในการนำการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับองค์กร ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เยี่ยมยอดในอนาคตควรมีศักยภาพในการนำสูงเด่นกว่าคนทั่วไป ศักยภาพที่เป็นความรอบรู้จากระบวนการเรียนรู้และ ศักยภาพทางอารมณ์ที่เรียกว่า ความมีปัญญาเหนืออารมณ์ ผู้นำที่มีความสามารถจำเป็นต้องมีองค์ประกอบทั้งสองประการชัดเจนจึงสามารถนำการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และใช้ปัญญาเหนืออารมณ์ ในการบริหารการตัดสินใจนำองค์กรและสมาชิกไปสู่เป้าหมายด้วยความเชื่อมั่นในพลังการนำ ความแตกต่างของของความสำเร็จในการนำการเปลี่ยนแปลงขององค์กรต่างๆในสังคมจึงขึ้นกับปัจจัยของผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับแรกเพราะผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือผู้ที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์ในการการนำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้น องค์กรในอนาคตต้องการผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในสังคมการเรียนรู้และเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการบริหารอย่างไร้พรมแดน 5. ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่อนโยบายการพัฒนา 5.1 นโยบายแรงงานกับความยุติธรรมทางสังคม โลกาภิวัตน์ทำให้เกิดทุนใหญ่ที่มีอำนาจความรู้( Knowledge ) อำนาจทางการเมือง( Political Power ) และอำนาจเงิน( Money )เข้ามาดำเนินการธุรกิจภายใต้กรอบการแข่งขันเสรีบริษัททุนขนาดใหญ่ได้ใช้องค์ความรู้และอำนาจรัฐในการจัดการบริหารต้นทุนให้ต่ำเพื่อกำไรมหาศาลทำให้เกิดการเอาเปรียบแรงงานในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม การเกิดขึ้นของสหภาพแรงงานส่วนใหญ่จึงเกิดจากแรงผลักดันของกฎหมายและสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้นการเคลื่อนไหวเพื่อก่อตั้งสหภาพแรงงานเกิดขึ้นเสมอเพราะความขัดแย้งดังกล่าว สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดของสหภาพแรงงานคือความขัดแย้งระหว่างพนักงานและฝ่ายจัดการการกดขี่แรงงานและความไม่ยุติธรรมในการบริหารบุคลากร นายจ้างเคยคิดว่าถ้าสามารถจัดการกับระบบการจ้างงานที่ดีมีระบบสวัสดิการที่ดึงดูดใจแล้วสหภาพแรงงานอาจไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ความเข้าใจนี้อาจถูกแต่ไม่ยั่งยืนเนื่องจากสภาพแวดล้อมของธุรกิจเป็นระบบที่ไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาการที่จะจัดระบบแบบนี้ได้หมายความว่าองค์กรต้องมีกำไรอย่างต่อเนื่องซึ่งไม่แน่เสมอไป นักวิชาการด้านมนุษย์สัมพันธ์ได้กล่าวถึงระดับแรงจูงใจของมนุษย์ว่าสอดคล้องกับหลักธรรมชาติระดับของแรงจูงใจแปรผันได้ตลอดเวลาตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม หมายความว่าความต้องการที่คงที่ในตัวของมนุษย์ไม่มีซึ่งอธิบายต่อไปได้ว่ามนุษย์จะแสวงหาความต้องการเพื่อไปสู่จุดสุดยอดของตนเองตลอดเวลา การบริหารแรงงานสัมพันธ์เป็นกลยุทธ์องค์กรใช้แก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากองค์กรไม่สามารถปฏิเสธการเกิดขึ้นของสหภาพแรงงานได้ การบริหารแรงงานสัมพันธ์จึงเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรต้องวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวโดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การแข่งขันในระบบธุรกิจคุณภาพของบุคคลากรและที่สำคัญการยอมรับบทบาทขององค์กรพนักงานที่เรียกชื่อว่าสหภาพแรงงาน สภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่ได้รับผลกระทบคือทรัพยากรบุคคล โครงสร้างของทรัพยากรบุคคลเปลี่ยนแปลงไป จากระบบแรงงานที่ไร้ทักษะ กลายเป็นแรงงานที่มีทักษะ ที่กำลังมีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรยุคใหม่ แรงงานยุคใหม่เป็นแรงงานที่มีความรู้และเข้าใจกลยุทธ์การบริหารองค์กร ประการต่อมาทัศนคติของแรงงานต่อนายจ้าง และนายจ้างต่อแรงงานยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนักคือแรงงานยังมองนายจ้างในฐานะเป็นกลไกของทุนนิยมที่ต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทุกหน่วยของการใช้แรงงาน ขณะที่นายจ้างมองแรงงานในแง่ลบ อยากได้ค่าจ้างสูง ทำงานน้อยๆ วันหยุดเยอะ สวัสดิการดี ทัศนคติในเชิงลบของทั้งสองฝ่าเป็นอันตรายต่อการลงทุนของต่างประเทศเพราะฉะนั้นกลไกของรัฐยังคงต้องทำหน้าที่อย่างหนักในการประสานความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ระบบสวัสดิการ สุขอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานได้รับการปรับปรุงดียิ่งขึ้น เนื่องจากแรงกดดันจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ระบบสวัสดิการในองค์กรขนาดใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหามากนัก แต่ในโรงงานระดับครอบครัวยังคงมีการใช้แรงงานผิดกฎหมาย เช่น แรงงานเด็กเป็นต้น ความปลอดภัยในการทำงานถ้าปราศจากแรงบีบจากกฎหมายเชื่อว่า ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ ส่วนสภาพแวดล้อมในการทำงานจะดีหรือไม่ขึ้นกับภาวะผู้นำขององค์กรและแรงกดดันจากพนักงานในองค์กร ที่สำคัญในการบริหารองค์กรวัฒนธรรมองค์กร ยังคงเป็นปัญหาหลักของผู้นำในการเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อการบริการลูกค้า วัฒนธรรมองค์กรแบบดั้งเดิมที่เน้นการควบคุม การสื่อสารทางเดียวและไม่บริการยังคงมีอยู่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องที่ยากทำไม่ค่อยสำเร็จ ยกเว้นผู้นำองค์กรจะสนับสนุนและพนักงานทั้งหมดให้ความร่วมมือ 5.2 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม วัฒนธรรมคือ บุคลิกของความเป็นชาติ จะเห็นได้ว่าคนอเมริกันก็มีลักษณะเป็นปัจเจกชน มีการเปลี่ยนแปลงด้านแนวคิดริเริ่ม นวัตกรรมใหม่จึงเป็นเป็นสิ่งที่คนอเมริกันคุ้นเคย ในเชิงเปรียบเทียบกับทางเอเชีย คนญี่ปุ่นก็มีบุคลิกภาพที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงการบริหารองค์กรมากนัก การปรับตัวจึงลำบากเพราะระบบญี่ปุ่นคุ้นเคยกับการทำงานให้องค์กรไปตลอดชีวิต มีความจงรักภักดีสูง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่นเดียวกันหากมองบุคลิกภาพของสังคมไทยซึ่งยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้เร็ว แต่ขาดวินัยในการทำงาน วัฒนธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์การบริหารงาน คนอเมริกันจึงได้เปรียบในการเป็นนักคิด สร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นก็นำนวัตกรรมเหล่านั้นมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่ นอกจากนั้น วัฒนธรรมยังรวมไปถึงวิธีคิดและบุคลิกภาพในองค์กรอีกด้วย ในองค์กรที่มีวัฒนธรรมแบบรวบอำนาจก็จะส่งผลต่อการบริหารที่เบ็ดเสร็จ ขาดการมีส่วนร่วมจากพนักงาน ในขณะที่องค์กรแบบกระจายอำนาจก็จะเน้นบุคลิกภาพที่ตรงข้ามกัน วัฒนธรรมเป็นเรื่องคุณค่าร่วมที่อยู่ภายในระหว่างกลุ่ม เป็นสิ่งที่ปฏิบัติที่สอดคล้องกันของกลุ่ม สะท้อนให้เห็นคุณค่าและพฤติกรรมของคน ในทศวรรษนี้หากผู้นำต้องการที่จะปรับเปลี่ยนองค์กร อันดับแรกที่ต้องคิดคือวัฒนธรรมองค์กร การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรต้องทำอย่างละมุนละไมให้เกิดการต่อต้านน้อยที่สุด ทุกองค์กรที่ประสบความสำเร็จต้องมีวัฒนธรรมองค์กรและวัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะนำพลังแห่งความสำเร็จให้เกิดทั้งระบบ การบริหารวัฒนธรรมองค์กรในภาครัฐคือการบริหารระบบราชการทั้งระบบให้มีวัฒนธรรมร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันเช่นการกำหนดให้ความโปร่งใส ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ การมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ในเชิงเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์กรในภาคธุรกิจคือพลังขับเคลื่อนที่ไร้กำแพงกั้น การบริหารธุรกิจใช้วัฒนธรรมองค์กรภาคธุรกิจเช่น บรรษัทภิบาล ผลกำไร ลูกค้า คุณภาพของสินค้า เป็นกลไกขับเคลื่อนพนักงานในองค์กร ผลกระทบเชิงวัฒนธรรมตั้งแต่การบริโภคแบบตะวันตก การใช้วัฒนธรรมตะวันตกเป็นกรอบในการบริหารวัฒนธรรม ส่งผลให้มีการกำหนดนโยบายรัฐที่ทำลายความเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทยเช่นการจัดงานสงกรานต์ที่กรุงเทพมหานคร มีการเล่นน้ำสงกรานต์เอาใจนักท่องเที่ยวต่างประเทศจนหลงลืมความเป็นไทย ตั้งเป้าอย่างเดียวคือการทำรายได้ทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดในภาคเหนือที่เน้นโครงสร้างการคมนาคมอย่างมากเช่นจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ตัวจังหวัดเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก อัตลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่คือวัฒนธรรมกำลังถูกทำลายอย่างไม่รู้ตัว ในอนาคตเด็กเยาวชนจากภาคเหนือจะไม่มีความรู้ในรากเหง่าของตนเองเพราะการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบดังกล่าว 5.3 โครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคมและการดำรงชีวิต ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยได้กลืนกินระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง พอดี พอเพียงที่ควรเป็นทิศทางการดำเนินชีวิตของคนไทย เงินจึงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ การใช้ชีวิตและวิธีคิดของคนส่วนใหญ่ในสังคมคือเอาเงินนำหน้าและปัญญาตามหลัง ทำให้เกิดวิธีคิดและวิธีปฏิบัติที่เห็นแก่ตัว ฟุ้งเฟ้อบริโภคนิยม เศรษฐกิจแบบทุนนิยมเดินควบคู่กันไปกับการเมืองแบบประชาธิปไตย ดังนั้นการเมืองไทยจึงมากด้วยการทุจริต การโกงการเลือกตั้ง การซื้อเสียง การใช้เงินซื้อคะแนนเสียงของประชาชนจึงมีในการเลือกตั้งทุกระดับในสังคมไทย ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ นอกจากนั้นวิธีคิดของคนไทยที่น่ากลัวคือ คิดว่าโกงไม่ว่าขอให้มีผลงาน วิกฤตเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงปี พ.ศ. 2540-41 ที่ทำให้เกิดความโกลาหลขึ้นต่อผู้คนในทุกส่วนของสังคม และเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงด้านลบของระบบโลภาภิวัฒน์อย่างชัดเจน ส่งผลกระทบมากมายโดยไม่มีผู้ใดคาดเดาถึงผลที่ตามมา อันรวมถึงหายนะใหญ่หลวงของปัจจัยในการดำรงชีพต่างๆ ชาวเมืองที่เป็นชนชั้นกลางในระดับล่างกลายเป็นคนจนในเมือง และภาระหนี้สินของเกษตรกรจำนวนมาก เด็กและเยาวชนที่เติบโตมาเป็นหนูทดลองระบบการศึกษาที่เลียนแบบตะวันตก เป็นวิธีคิดที่อยู่ในกรอบของทุนนิยมประชาธิปไตย โครงสร้างสังคมไทยจึงมีระบบการศึกษาที่สอนให้คนเห็นแก่ตัว การบริโภคแบบระบบทุน เน้นการอยู่รอดไปแต่ละวันไม่คำนึงถึงส่วนรวมและสังคม ท่านพุทธทาสให้ความเห็นว่าการศึกษาแบบนี้เป็นการศึกษาแบบหางด้วน เมื่อพลเมืองเติบโตก็จะมีความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่ สังคมจะเติบโตแบบไม่ยั่งยืนเต็มไปด้วยความขัดแย้งในหลากหลายมิติ โครงสร้างทางธุรกิจ การเติบโตของสื่อสารไร้พรมแดน เกิดกิจการขายสินค้าหรือการจำหน่ายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตและสื่อต่างๆ จนบริษัทข้ามชาติสามารถมีอิทธิพลในการครอบงำและกำหนดแบบแผนการบริโภคแก่ผู้คนจำนวนมาก ทำให้เด็กและเยาวช ผู้คนในสังคมมีวิสัยทัศน์ในการดำรงชีพรูปแบบเดียวกันไปหมด ได้แก่ การดำเนินชีวิตภายใต้ความต้องการและรสนิยมที่ถูกสังคมอุตสาหกรรมเป็นตัวชี้นำกำหนดเท่านั้น ตัวอย่างที่ดีเช่นการบริโภคฟาสต์ฟูด ในสังคมไทยทุกวันนี้จะสังเกตเห็นว่า คนไทยพยายามที่จะพัฒนาระบบคุณค่าและรูปแบบการบริโภคตามกระแสของผู้คนทั่วโลกที่มีวัฒนธรรมแตกต่างออกไป ทุกแห่งจะมีร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟูดเช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ เช่น McDonald’s Kentucky Fried Chicken Pizza Hut อยู่มากมายและจะพบว่าในร้านเต็มไปด้วยลูกค้าที่เป็นคนไทยโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ผลกระทบที่เห็นคือปัญหาความขัดแย้งสำคัญที่เกิดอยู่ภายในระบอบทุนนิยมประชาธิปไตยแบบไทยๆ ตลอดมาและรัฐบาลที่ขึ้นมาปกครองแต่ละชุดไม่สามารถแก้ไขได้ เกิดความเสื่อมโทรมทางการเมืองในมุมมองของ Samuel Huntington นำไปสู่การเกิดสภาวะอนาธิปไตยของระบบการปกครอง ระบบการค้าการผลิตที่เอาเปรียบทั่วทั้งสังคม เมื่อธุรกิจใดสร้างผลตอบแทนได้กำไรดี กลุ่มทุนต่าง ๆ ก็แย่งกันขาย แข่งกันผลิตจนเกิด ภาวะล้นเกิน ทำให้แรงงาน ทรัพยากรต่าง ๆ และความมั่งคั่งของสังคมถูกแปรให้กลายเป็นสินค้าที่มากเกินความต้องการอย่างมหาศาล ต้องตั้งเก็บไว้ขายไม่ได้ ระบบโลกาภิวัตน์ในสังคมที่มีระบบการเมืองที่เสื่อมโทรม กลับสร้างและสนับสนุนระบบธุรกิจที่เอื้อประโยชน์กลุ่มทุนใหญ่ที่ได้เปรียบใช้การโฆษณาป่าวร้องว่าทฤษฎีการตลาดหรือกลไกทางการตลาด สินค้ามีมากของถูก สินค้ามีน้อยของแพง ตามความเป็นจริงทฤษฎีนี้เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนผูกขาดในการฮุบกลืนกินกิจการของกลุ่มทุนขนาดเล็ก เมื่อกำลังการผลิตเพิ่มทวีคูณขึ้นอย่างไร้ขีดจำกัด แต่กำลังซื้อของสังคมกลับหดตัวเล็กลงเมื่อเทียบกับผลผลิตที่มากขึ้น ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจที่การผลิตล้นเกินขึ้นในระบอบทุนนิยม ครั้งแล้วครั้งเล่าหมุนเวียนเป็นรอบ ๆ แบบวัฏจักร เป็นจุดอ่อนของระบอบทุนนิยมที่ไม่สามารถแก้ได้ วิกฤติการณ์เหล่านี้ทำให้คนตกงาน โรงงานถูกยึด เครื่องจักรถูกทิ้งร้างหยุดการผลิตไปเป็นจำนวนมาก สภาพเช่นนี้ทำให้พลังการผลิตของสังคมถูกทำลายอย่างร้ายแรงเป็นวัฏจักรครั้งแล้วครั้งเล่า ขัดขวางการพัฒนาไปของพลังการผลิตเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างในประเทศไทย ปี 2525 กลุ่มทุนที่เพาะเลี้ยงลูกไก่ แข่งกันผลิตลูกไก่ออกมามากเกินความต้องการในที่สุดต้องนำลูกไก่นับล้านตัวไปทิ้งให้จมน้ำทะเลตาย และเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจนต้องลดค่าเงินบาทสองครั้งซ้อนในปี 2525 และปี 2527 ต่อมาตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา กลุ่มทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในไทย ก็แข่งกันสร้างตึกแถว บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ คอนโด สนามกอล์ฟ ฯลฯ เกินความต้องการไว้เป็นจำนวนมาก นำมาซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดตามมาในปี 2540 6. บทสรุป สังคมไทยและพลเมืองของประเทศจึงต้องเข้าใจและเรียนรู้โลกาภิวัตน์ ตระหนักในผลกระทบของการพัฒนาประเทศที่เน้นความทันสมัยด้านเดียวที่เกิดขึ้นในอดีต และอาจจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคตของการพัฒนาประเทศ การต่อสู้กับระบบโลกาภิวัตน์จำเป็นต้องอาศัยความเข้มแข็งของระบบประชาสังคม ความเป็นพลเมือง ชุมชนเข้มแข็งและท้องถิ่นภิวัตน์ การสร้างวัฒนธรรมการศึกษาที่หางไม่ด้วนมีคุณธรรม จะช่วยพัฒนาคุณภาพของพลเมืองไทย ให้ยกระดับชุมชนที่อ่อนแอ เป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเอง เพราะส่วนใหญ่ของชุมชนเข้มแข็งในสังคมไทยปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นชุมชนไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนสัจจะวันละหนึ่งบาทที่ จังหวัดสงขลา ชุมชนสามขาที่ จังหวัดลำปาง หลวงพ่อนานที่จังหวัดสุรินทร์ ชุมชนบุญนิยมสันติอโศก ล้วนมีลักษณะที่สำคัญร่วมกันคือเป็นชุมชนของคนดี มีคุณธรรม มีหัวใจธรรมะคือพึ่งตนเอง ช่วยเหลือสังคมโดยใช้หลักธรรมะของตนเองและสังคมเป็นภูมิคุ้มกัน ดังนั้นสังคมที่พลเมืองและชุมชนมีจริยธรรมเท่านั้นจึงจะหลุดพ้นบ่วงดำของความชั่วร้ายของระบบทุนโลกาภิวัตน์ได้ เราทุกคนจึงต้องช่วยกัน พัฒนาหัวใจคุณธรรมในตัวเรา ร่วมทำให้สังคมของเราให้มีแต่คนดี คนมีคุณธรรมเกิดขึ้นมากมายในทุกๆระดับของสังคม
#บทความ ดร.บวร ประพฤติดี
#class room ปโท ราม รัฐศาสตร์

โครงการฝึกอบรมอาชีพการผูกผ้าและจับจีบผ้า แก่ กลุ่มสตรี


โครงการฝึกอบรมอาชีพการผูกผ้าและจับจีบผ้า แก่ กลุ่มสตรีตำบลชัยบุรี
๑.ชื่อโครงการ    โครงการฝึกอบรมอาชีพการผูกผ้าและจับจีบผ้า แก่ กลุ่มสตรีตำบลชัยบุรี
๒.หลักการและเหตุผล
          ปัจจุบันสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนในเขตตำบลชัยบุรี มีประเพณีและงานพิธีต่างๆ มากมาย เช่น งานสวดพระอภิธรรม งานฌาปนกิจศพ งานอุปสมบท งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ งานเฉลิมฉลอง งานสืบสานประเพณี งานรัฐพิธี ที่จำเป็นต้องมีการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งของที่จำเป็นในการประกอบกิจกรรม การจัดสถานที่ โต๊ะ เต็นท์ เก้าอี้ การตกแต่งประดับประดาจำนวนมาก งานต่าง ๆ มีการใช้ผ้าเป็นวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งสถานที่ กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ในภายหลัง และสามารถเลือกสีของผ้า และรูปแบบของการตกแต่งได้ตามลักษณะของงาน จึงทำให้มีผู้ศึกษาวิธีการตกแต่งสถานที่ด้วยการผูกผ้าและจับจีบผ้า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นสำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่างๆได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระลดค่าใช้จ่ายของประชาชนในพื้นที่ในการจัดงานตามจารีตประเพณี วัฒนธรรม และค่านิยมท้องถิ่นในสังคมไทย
          ตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ มาตรา ๖๗ (๖) องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ และแผนพัฒนาสี่ปี (๒๕๖๑-๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการส่งเสริมคุณภาพชีวิต แนวทางด้านสวัสดิการสังคมและสาธารณสุข โครงการ กิจกรรมกลุ่มสตรี          ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมกลุ่มสตรี ที่จะมีบทบาทในสังคมมากขึ้นพร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มของกลุ่มสตรี ให้เกิดความเข็มแข็ง และเพิ่มบทบาทของสตรีภายในครอบครัว จึงเห็นควรจัดทำโครงการผูกผ้าและจับจีบผ้า แก่กลุ่มสตรีตำบลชัยบุรี ขึ้น 
๓. วัตถุประสงค์
          โครงการฝึกอบรมอาชีพการผูกผ้าและจับจีบผ้า แก่ กลุ่มสตรีตำบลชัยบุรี มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ๓ ประการ ได้แก่ 
๑. เพื่อส่งเสริมอาชีพผูกผ้าและจับจีบผ้า ให้แก่กลุ่มสตรี
          ๒. เพื่อเป็นการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้กับกลุ่มสตรี
          ๓. เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มสตรี และพัฒนาทักษะด้านอาชีพให้กับกลุ่มสตรี

๔.  เป้าหมาย
          สตรีในตำบลชัยบุรี จำนวน ๒๐ คน

๕.ระยะเวลาการดำเนินงาน
            สิงหาคม  ๒๕๖๑
๖.  วิธีการดำเนินการ                                                              
          ๖.๑.  ประชุมปรึกษาหารือการจัดทำโครงการ
          ๖.๒.  เสนอโครงการขออนุมัติ
          ๖.๓   จัดซื้อจัดจ้างตามรายละเอียดโครงการ
          ๖.๔   ติดต่อสถานที่ฝึกอบรมและวิทยากร
          ๖.๕   จัดฝึกอบรม ตามกำหนดการ 
          ๖.๖   สรุปผลโครงการเสนอให้องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี
๗.  สถานที่ดำเนินการ
          ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๘.  งบประมาณ
ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ แผนงานงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน  งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน หมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่น ๆ รายการ อบรมอาชีพกลุ่มสตรี จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท          

๙. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
           ๙.๑  กลุ่มสตรีมีอาชีพเสริมเลี้ยงดูคนในครอบครัวได้
           ๙.๒  กลุ่มสตรีมีบทบาทในชุมชนมากขึ้น
           ๙.๓  กลุ่มสตรีเห็นถึงความสำคัญของตนเองต่อสังคมมากขึ้น

๑๐.  ผู้รับผิดชอบโครงการ
          สำนักงานปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี
๑๑.การประเมินผล
          ประเมินผลโดยทำแบบสอบถามความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดทำโครงการฝึกอบรมอาชีพการผูกผ้าและจับจีบผ้า แก่ กลุ่มสตรีตำบลชัยบุรี จำนวน ๒๐ ชุด
                            
                                                 (ลงชื่อ)……………………………….ผู้เขียนโครงการ
                                                           ( นายธนกร ลิ่มวงศ์ )
                                                       นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ    

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี ๒๕๖๑ หลักสูตร “เยาวชนไทย ๔.๐ ห่างไกลยาเสพติด”

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี ๒๕๖๑
หลักสูตร เยาวชนไทย ๔. ห่างไกลยาเสพติด”
๑.หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ เป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสารต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตรวดเร็วฉับไว ส่งทั้งผลดีและผลเสียในเวลาเดียวกัน แต่เยาวชนก็จะได้รับข้อมูลทั้งดีและไม่ดีปะปนกัน ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมต่างๆ มากขึ้น และสามารถเลียนแบบพฤติกรรมต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ทำให้ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและทรัพย์สินของประชาชน ความสงบเรียบร้อยของสังคม และความมั่นคงของประเทศ แม้ว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศทำสงครามกับยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและได้กำหนดนโยบายและแผนงานที่ชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันป้องกันและปราบปรามอย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้ยาเสพติดหยุดชะงักไปชั่วขณะหนึ่ง แต่ยังไม่หมดสิ้นไปจากประเทศไทย เนื่องจากปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดและการแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังดำรงอยู่และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดการแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังดำรงอยู่ และขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัญหากลุ่มวัยรุ่นในชุมชน หมู่บ้าน รวมทั้งในสถานศึกษาที่ยังขาดการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด จากผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และครูอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง  แม้จะมีการปราบปรามยาเสพติดในทุกพื้นที่แล้วก็ตาม
ตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ มาตรา ๖๖ องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (๒๕๖๑-๒๕๖๔) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หน้า ๑๒๔ โครงการที่ ๑ อบรมความรู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี ร่วมกับ สถานีตำรวจภูธรชัยบุรี และโรงเรียนบ้านคลองพังกลาง ได้เห็นความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงจัด โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี ๒๕๖๑ หลักสูตร เยาวชนไทย ๔. ห่างไกลยาเสพติด” เพื่อให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน สามารถปรับตัวตามกระแสการพัฒนาไทยแลนด์ ๔.๐ ให้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๒. วัตถุประสงค์
         ๒.๑  เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชน โรงเรียน สถานศึกษา ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๒.๒  เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคมปัจจุบันและห่างไกลยาเสพติด
๒.๓  เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและร่วมแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
๓.  กลุ่มเป้าหมาย
          นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองพังกลาง เยาวชนในพื้นที่ จำนวน ๑๑๐ คน

๔.ระยะเวลาการดำเนินงาน
          ๒๗ กุมภาพันธ์  ๒๕๖๑
๕.  วิธีการดำเนินการ                                                              
          ๖.๑.  ประชุมปรึกษาหารือการจัดทำโครงการ
๖.๒.  เสนอโครงการขออนุมัติ
๖.๓   จัดซื้อจัดจ้างตามรายละเอียดโครงการ
          ๖.๔   จัดทำฝึกอบรม ตามกำหนดการ 
          ๖.๕   สรุปผลโครงการเสนอให้องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี
๖.  สถานที่ดำเนินการ
           โรงเรียนบ้านคลองพังกลาง ตำบลชัยบุรี
๗.  งบประมาณ
ตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ แผนงานงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน  งานส่งเสริมและสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน หมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่น ๆ รายการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท

๘. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
          ๑. เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เด็ก
              และเยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
          ๒. เด็กและเยาวชนนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้แก่
              ตนเอง และครอบครัว
ผู้รับผิดชอบโครงการ
                   สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี ร่วมกับ สถานีตำรวจภูธรชัยบุรี และโรงเรียนบ้านคลองพังกลาง
๑๐.การประเมินผล
                   ทดสอบความรู้ ความเข้าใจก่อน และหลัง เข้าร่วมอบรม จำนวน ๑๑๐ ชุด

๑๑. ผู้เสนอโครงการ
นักพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ                                                                                              

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561

เกณฑ์การตัดสินค่าทางจริยธรรม (ความดี-ความชั่ว)

เกณฑ์การตัดสินค่าทางจริยธรรม (ดีชั่ว)

ทัศนะของพวกสัมพัทธนิยม  ;  การทำความดี คือ การทำตามความรู้สึกและจารีตประเพณี
เห็นว่าดีชั่วไม่ใช่สิ่งตายตัว การกระทำหรือการปฎิบัติอันใดอันหนึ่งจะดีหรือชั่ว ผิดหรือถูกขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและปัจจัยหลายๆอย่างในสภาพหนึ่งสิ่งหนึ่งอาจจะดีหรือถูก แต่ในสภาพหนึ่งอาจจะเลวหรือผิดก็ได้
พวกสัมพัทธนิยม มีแนวคิดว่าดีชั่ว ถูกหรือผิด มิได้มีจริงแต่เป็นสิ่งสมมุติและมีลักษณะเป็นอัตวิสัย คือ ดีชั่วมิได้มีจริงอย่างแน่นอนตายตัว โดยตัวของมันเอง แต่มันขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคนจะมอง ขึ้นอยู่กับสังคม การกระทำอย่างหนึ่งสำหรับคนหนึ่ง หรือสังคมหนึ่ง อีกสภาพแวดล้อมหนึ่ง และอีกเวลาหนึ่ง อาจถือว่าเป็นสิ่งชั่วก้อได้ บุคคล เวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม ผลที่เกิดขึ้น สภาพทางเศรษฐกิจ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยในการกำหนดดีชั่ว ดีชั่วจึงไม่ใช่สิ่งตายตัว เปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพราะดีชั่วขึ้นกับสิ่งอื่น หรือดีชั่วสัมพัทธ์กับสิ่งอื่น
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
ด้วยเหตุที่พวกสัมพัทธ์นิยมเห็นว่าดีชั่วไม่แน่นอนตายตัว เพราะฉะนั้น เกณฑ์ที่ใช้ตัดสิน ก็ไม่แน่นอนตายตัวด้วย มักขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม ความรู้สึก จารีต ประเพณี เป็นต้น
การกระทำความดี คือ การกระทำในสิ่งที่เรารู้สึกเห็นด้วย จึงกล่าวได้ว่า ดีชั่วขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคน หรือพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ดีชั่วเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ความรู้สึกของใคร ก็ความรู้สึกของคนนั้น
การกระทำความดี คือ การกระทำตามจารีตประเพณี คนต่างจารีตประเพณีกัน จะมองดีชั่วต่างกัน การกระทำแบบเดียวกันถิ่นหนึ่งประเพณีหนึ่งถือว่าเป็นสิ่งดีในขณะที่อีกถิ่นหนึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่เลวไม่ควรทำ
สรุปพวกสัมพัทธ์นิยมถือว่าดีชั่วเป็นเพียงสมมุติหามีจริงไม่ แต่ละท้องถิ่นอาจสมมุติแตกต่างกันออกไป ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆที่สามารถถือได้ว่าเป็นกฎเกณฑ์สากลที่มนุษย์ทุกยุคทุกสถานที่จะยอมรับร่วมกันได้ ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เมื่อดีชั่วไม่มีจริง เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่วก็ไม่มีจริงด้วยมันขึ้นอยู่กับความรู้สึกของมนุษย์แต่ละคนแต่ละกลุ่มเท่านั้นพวกนี้จึงถือว่ามนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง ด้วยตัวของตัวเองคนอื่นไม่เกี่ยวดีชั่วเป็นเรื่องของแต่ละคน ต่างคนต่างความรู้สึก ต่างประเพณี ต่างศาสนา ย่อมตัดสินดีชั่วต่างกัน คนอื่นจะใช้ความรู้สึกของเขามาวัดการกระทำของเราไม่ได้และเราจะใช้ความรู้สึกของเราไปตัดสินการกระทำของคนอื่นก็ไม่ได้เช่นกัน
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่วในทัศนะของพวกสัมพัทธนิยม
เป็นอัตวิสัย คือ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตัวผู้วัดและจารีตประเพณี เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า มนุษย์เป็นเครื่องวัดทุกสิ่งด้วยตัวของตัวเอง
ทัศนะของพวกสัมบูรณนิยม  : การทำดี คือ การทำตามสำนึกมโนธรรม
สัมบูรณ์ คือ ไม่ขึ้นอยู่กับ ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งอื่นใด แต่จะมีลักษณะคงที่แน่นอนตายตัวในตัวของมันเอง
สัมบูรณ์นิยม ถือว่าดีชั่วถูกผิดมีจริงอย่างแน่นอนตายตัว และเด็ดขาดโดยตัวของมันเอง ถืออะไรดีก็ดีเสมอทุกสถานที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์ ถ้าอะไรชั่วก็ชั่วเสมอทุกสถานที่ ทุกเวลา และทุกสถานการณ์  ไม่ใช่ว่าการการทำอย่างเดียวกันบางครั้งดีแต่บางครั้งชั่ว ถ้าการกระทำอย่างหนึ่งดีมันต้องดีเสมอโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ขึ้นอยู่กับผลของการกระทำนั้นว่า จะทำให้มนุษย์เป็นสุขหรือเป็นทุกข์มากขึ้น ไม่ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็น      ผู้ตัดสิน
ลักษณะดีชั่วในทัศนะของพวกสัมบูรณนิยม จึงถือว่าเป็น ปรวิสัย ดีชั่วแบบ ปรวิสัยนี้ไม่ขึ้นอยู่กับใครเป็นผู้ตัดสิน หากดีชั่วอยู่ภายในตัวมันเอง เทียบง่ายๆกับข้อสอบปรนัยถือถูกหรือผิดเป็นปรวิสัย คือ จะถูกข้อ ก ข ค ง ก็ถูกอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ว่าใครจะเป็นคนตรวจ ซึ่งต่างกับข้อสอบแบบอัตนัยซึ่งมีลักษณะเป็นอัตวิสัย
สรุป ผู้ที่เชื่อว่าดีชั่วมีจริงในการกระทำ ย่อมเชื่อต่อไปด้วยว่าถ้าการกระทำอย่างหนึ่งดี มันย่อมดีเสมอ ไม่ว่าใครจะเป็นผู้กระทำ ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำแล้วจะเกิดผลอย่างไร การพูดความจริงย่อมดีเสมอไม่ว่าจะพูดแล้วจะเกิดผลเช่นไร ถ้าหมอบอกความจริงแก่คนไข้แล้วคนไข้ช็อคตาย นั่นก็ไม่ทำให้การพูดความจริงซึ่งมีความดีอยู่ในตัวกลายเป็นสิ่งที่เลวไปได้  การฆ่าคนที่ไม่มีความผิดย่อมเป็นการกระทำที่เลวภายในตัวมันเอง ไม่ว่าจะฆ่าเพื่อชิงทรัพย์หรือช่วยชีวิตคนก็ตาม เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะการกระทำมีความดี ความชั่วภายในตัวมันเอง ความดี ความชั่ว ไม่ขึ้นอยู่กับการกระทำนั้นทำให้มนุษย์สุขหรือทุกข์ ไม่ขึ้นอยู่กับว่าคนชอบหรือไม่ชอบมัน ถ้าการกระทำหนึ่งเลวย่อมเลวเสมอ
เกณฑ์การตัดสินดีชั่ว
คือ มโนธรรม พวกสัมบูรณ์นิยมจึงมีทัศนะว่าการทำดี คือ การกระทำตามสำนึกมโนธรรม  มโนธรรม คือ ความสำนึกทางศีลธรรมที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่ในตัวแล้วโดยธรรมชาตินั่นเอง   มโนธรรม คือ เสียงกระซิบของเหตุผลที่ออกมาจากส่วนลึกของจิตใจในขณะปราศจากกิเลศครอบงำ มโนธรรม จะหยั่งเห็นได้โดยตรงว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร และอะไรไม่ควร
ทัศนะของพวกประโยชน์นิยม  : การกระทำดี คือ การทำประโยชน์สุขให้มหาชน
1. พวกประโยชน์นิยมเป็นสัมพัทธนิยม :ดีชั่วขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น
พวกประโยชน์นิยม มองว่า ดีชั่วถูกผิดไม่แน่นอนตายตัว แต่มันขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงไปตามอีกสิ่งหนึ่ง คือ ประโยชน์สุข การกระทำใดที่จะถือว่าเป็นการกระทำดี ก็คือการกระทำที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุข ส่วนการกระทำใดที่ถือว่าเป็นการประทำชั่ว ก็คือการกระทำที่ก่อให้เสียผลประโยชน์สุข
๒. พวกประโยชน์นิยมเป็นสุขนิยม : ความดีเป็นสิ่งเดียวกับความสุข
พวกสุขนิยม มองว่า ความดีกับความสุขเป็นสิ่งเดียวกัน การกระทำความดี คือการกระทำที่ก่อให้ความสุขมากที่สุดและยังความทุกข์ให้เกิดน้อยที่สุด
ตามทัศนะของพวกประโยชน์นิยม จึงใช้สุขทุกข์เป็นเครื่องตัดสินดีชั่ว คือ ทำดี คือ ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุข ทำชั่ว คือ ทำในสิ่งที่ก่อให้เกิดความทุกข์
พวกสุขนิยม แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ
ปัจเจกสุขนิยม คือ พวกสุขนิยมส่วนตน และ สาธารณสุขนิยม คือ พวกที่เน้นผลหวังผลประโยชน์สุขของสาธารณชนหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
ใช้ผลประโยชน์สุขเป็นเครื่องตัดสินดีชั่ว ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า หลักมหสุข คือ
๑ การกระทำใดก็ตามที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุขมากที่สุด แก่คนจำนวนมากที่สุด ถือว่าเป็นการกระทำที่ดีที่สุด
๒ การกระทำบางอย่างอาจจะก่อให้เกิดทั้งสุขและทุกข์หรือประโยชน์และโทษปนกันถ้าหักลบกันแล้วก่อให้เกิดประโยชน์หรือสุขมากกว่าก็ถือว่าเป็นการกระทำดี
๓ ถ้าในเงื่อนไขที่ไม่สามารถเลือกได้ การกระทำทุกอันล้วนก่อให้เกิดทุกข์ หรือโทษทุกกรณี การกระทำที่ก่อให้เกิดทุกข์หรือน้อยที่สุดก็ถือว่าเป็นการกระทำดีเช่นกัน
ลักษณะของการตัดสินดีชั่วของพวกประโยชน์นิยม
๑ การตัดสินใจทำอะไรลงไปแต่ละครั้งก่อนลงมือกระทำยังไม่อาจบอกได้ว่าการกระทำนั้นดีหรือชั่ว เพราะแนวคิดสายนี้วัดกันที่ ผลที่ได้
๒ การตัดสินดีชั่วไม่คำนึงถึงเจตนาของผู้กระทำว่าทำลงไปโดยเจตนาดีหรือชั่ว แต่พวกประโยชน์นิยมจะตัดสินกันด้วยสิ่งที่แลเห็น คือ ผลที่ได้
ทำโดยเจตนาดี ผลออกมาดี ตัดสินว่าทำดี
ทำโดยเจตนดี ผลออกมาให้โทษ ตัดสินว่าทำชั่ว
เจตนาชั่ว  ผลออกมาชั่ว ตัดสินว่าทำชั่ว
เจตนาชั่ว  ผลออกมาดี ตัดสินว่าทำดี
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
พวกประโยชน์นิยมใช้หลักมหสุข  คือ การกระทำที่ดีที่สุด คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุขมากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด  ถ้าการกระทำใดมีทั้งสุขทั้งทุกข์ปนก็คำนวณดู ถ้าให้สุขมากกว่าก็ถือว่าทำดี แต่ถ้าทุกการกระทำล้วนก่อให้เกิดทุกข์ อันใดก่อให้เกิดทุกข์น้อยที่สุดก็ถือว่าทำดี
ลักษณะของการตัดสินดีชั่ว
การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดดีหรือชั่วไม่คำนึงถึงเจตนา ของผู้กระทำ แต่ให้คำนึงถึง ผลที่ได้ เป็นเกณฑ์
ทัศนะของค้านท์ : การทำดี คือ การทำด้วยเจตนาดี
มองว่าดีชั่วแบบวัตถุวิสัยหรือปรวิสัย คือ มองแบบเดียวกับพวกสัมบูรณ์นิยมที่ถือว่าดีชั่วจะต้องเป็นสิ่งมีจริงอย่างแน่นอนตายตัว เมื่อดีชั่วมีจริงอย่างนี้จะเอาความรู้สึกหรือผลตัดสินดีชั่วได้นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัวเช่นเดียวกัน สิ่งนั้นคือ เจตนาดี  อะไรที่ทำโดยเจตนาดีก็ตัดสินว่าทำดี แต่ถ้าทำโดยเจตนาไม่ดีก็ตัดสินว่าทำไม่ดี
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินดีชั่ว
ค้านท์ ใช้ เจตนา เป็นเกณฑ์ตัดสินดีชั่ว โดยถือว่าการทำดี คือ การกระทำด้วยเจตนาดี  การกระทำโดยเจตนาดี คือ การทำตามหน้าที่  การกระทำตามหน้าที่ คือการกระทำที่เกิดจากแรงจูงใจของเหตุผลและก่อให้เกิดกฎศีลธรรม   ซึ่งเป็นการกระทำที่เกิดจากคำสั่งที่ถูกต้อง ที่ถูกต้อง  แรงจูงใจที่ถูกต้อง คือแรงจูงใจที่เกิดจากเหตุผล  คือ ทำตามหลักการ โดยไม่คำนึงตัวบุคคล ญาติพี่น้อง หรือทำเพราะเมตตาสงสาร กิเลส ตัณหา

เกณฑ์การตัดสินค่าทางจริยธรรม (ดีชั่ว)
ทัศนะของพวกสัมพัทธนิยม  ;  การทำความดี คือ การทำตามความรู้สึกและจารีตประเพณี
ทัศนะของพวกสัมบูรณนิยม  : การทำดี คือ การทำตามสำนึกมโนธรรม
ทัศนะของพวกประโยชน์นิยม  : การกระทำดี คือ การทำประโยชน์สุขให้มหาชน
ทัศนะของค้านท์ : การทำดี คือ การทำด้วยเจตนาดี
.......................................................................................
 สัมพัทธนิยม กับประโยชน์นิยม  มองว่า ดีชั่วไม่มีจริง ไม่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น เช่น เวลา สถานที่  เป็นอัตวิสัย
สัมพัทธนิยม ตัดสินว่า การทำความดี คือ การทำตามความรู้สึก และจารีตประเพณี ตัวเราเป็นเป็นตัดสินว่าดี หรือชั่ว
ประโยชน์นิยม ตัดสินว่า การทำดี คือ การทำประโยชน์สุขให้มหาชน ไม่ดูเจตนา แต่ดูที่ผลของการกระทำ ถ้าผลออกมาแล้วเป็นประโยชน์สิ่งนั้นดี

สัมบูรณ์นิยม กับค้านท์ มองว่า ดีชั่วเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัว เป็นสิ่งที่มีจริง ถ้าการกระทำหนึ่งดี สิ่งนั้นย่อยดีเสมอไม่ว่าจะทำที่ไหนและเมื่อไหร่ เช่นการพูดความจริงเป็นการทำดี เสมอ  เป็น ปรวิสัย
สัมบูรณ์นิยม ตัดสินว่า การทำความดี คือ การทำตามสำนึกของมโนธรรม  เช่น การฆ่าคน ย่อมชั่วเสมอ การโกหก ย่อมชั่วเสมอ
ค้านท์ ตัดสินว่า การทำดี คือ การทำด้วยเจตนาดี

สรุปแนวคิด สอบ ป โท

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

พัฒนาการของทฤษฎีการเรียนรู้

พัฒนาการของทฤษฎีการเรียนรู้
หากมองย้อนไปในประวัติศาสตร์เราจะเห็นว่าแหล่งที่มาของความรู้ที่มนุษย์ได้รับนั้นมีอยู่
หลายแหล่งด้วยกัน ในยุคแรกนิทานพื้นบ้านและความเชื่อต่าง ๆ เป็นที่มาของความรู้ นิทานพื้นบ้าน
ที่เล่าสืบกันในหมู่ชนต่าง ๆ นั้นจะแฝงไว้ด้วยวัฒนธรรม ประเพณี สภาพการดำเนินชีวิตต่าง ๆ ของชุมชน
สุภาษิตและคำพังเพยที่สรุปจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นให้แนวคิดและหลักการในการดำเนินชีวิต เช่น
น้ำขึ้นให้รีบตักช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม เป็นต้น ความรู้จากนิทานพื้นบ้านได้แพร่จากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง
ได้ด้วยการเล่าสืบกันต่อมาจากนักเดินทาง และนักเล่านิทาน อย่างไรก็ดีปัญหาของการแปลความจาก
แหล่งความรู้เหล่านี้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตนั้นมีได้หลากหลายแนวทางซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับ
เพราะยังขาดกระบวนการในการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบหรือที่เรียกว่ากระบวนการแสวงหาความรู้
ความจริง ในยุคเริ่มต้นของการมีอารยธรรม เช่น ในยุคกรีกโบราณ มนุษย์พยายามหาคำอธิบาย
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เช่น การเกิดทะเล พายุ ฟ้าร้อง ตลอดจนถึงพฤติกรรมต่าง ๆ
ของมนุษย์ว่าเกิดจากการกระทำของเทพเจ้าโปซิดอน เป็นต้น แต่คำอธิบายที่มาจากความเชื่อก็ไม่สามารถ
ทำให้โลกพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด
ดังนั้นในยุคต่อมาก่อนที่วิทยาศาสตร์จะเจริญก้าวหน้านั้นจึงได้มีกระบวนการในการแสวงหาความจริง
ที่เรียกว่า ปรัชญาหรือระบบการคิดเชิงตรรกะเข้ามาอธิบายให้ความหมายของธรรมชาติและความจริง
เช่น ความพยายามที่จะตอบคำถามว่า ความจริงคืออะไร ความรู้คืออะไร การรู้ หมายความว่าอย่างไร
ธรรมชาติของความจริงเป็นสิ่งที่คงที่ แน่นอนหรือไม่ ในยุคกำเนิดของปรัชญานี้ มนุษย์พยายามแสวงหา
ความจริงของโลกภายนอกหรือธรรมชาติ และโลกภายในคือความจริงของแต่ละบุคคล นักปรัชญาได้
พยายามให้นิยามความจริง และการเรียนรู้ซึ่งก็คือการแสวงหาความจริงว่าคืออะไร ด้วยวิธีการใช้เหตุผล
เชิงตรรกะหรือวิธีนิรนัย
เพลโต (Plato) นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงซึ่งมีชีวิตก่อนปีคริสตศักราช (327-417 B.C.) ได้ให้
นิยามความจริงคือ ความคิดที่บริสุทธ์ เขาเชื่อว่าความคิดและความคิดรวบยอดต่าง ๆ มีรูปและดำรงอยู่
ภายในบุคคล การเรียนรู้คือ กระบวนการพัฒนาความคิดใฝ่ดีที่มีอยู่ในมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ตามแนวคิด
ของเพลโต ความคิดจะได้รับการพัฒนาผ่านการเรียนรู้วิชาที่เชื่อว่ามีรูปความคิดบริสุทธ์ เช่น คณิตศาสตร์
อริสโตเติล (Aristotle) ศิษย์ของเพลโต ให้นิยามความจริง คือความสัมพันธ์ที่พบในธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ดังนั้นแหล่งของความรู้ ก็คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเรียนรู้เกิดขึ้นผ่าน
การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดของอริสโตเติล ความรู้เกิดจากการสร้างภาพ (image) จาก
ประสบการณ์และการเชื่อมโยงของภาพเหล่านั้น ปัญหาของการใช้วิธีการปรัชญาในการสร้างความรู้
เกี่ยวกับโลกแห่งความจริงก็คือ ประการแรก วิธีการทางปรัชญาหรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะใช้ได้กับ
คำถามทั่วไป ไม่สามารถตอบคำถามเฉพาะที่ต้องการได้ และได้สารสนเทศจำกัด ประการต่อมาขาด
การทดสอบ ดังนั้นจึงพบข้อบกพร่องในการสรุปและการอธิบายเหตุและผลของปรากฏการณ์ ในช่วง
ระหว่างปีก่อนคริสตศักราช 400 B.C. ถึง ศตวรรษที่ 19 วิธีการทางปรัชญานับเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ
ของความรู้
การวิจัยเชิงประจักษ์ (empirical research) หรือการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นตั้งแต่
ศตวรรษที่ 16 เมื่อกาลิเลโอบุกเบิกการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือการค้นหาความจริงเกี่ยวกับโลก
ด้วยกระบวนการหาหลักฐาน ข้อมูลจากการสังเกตอย่างเป็นระบบ หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์
กาลิเลโอได้ใช้การทดลองเพื่อตรวจสอบกฎเกณฑ์ในธรรมชาติ โดยทำการทดลองที่มีชื่อเสียงมากที่เมืองปิซา
ประเทศอิตาลี จากการทดลองปล่อยวัตถุสองก้อนที่มีน้ำหนักต่างกันลงมาพร้อมกัน พบว่าวัตถุตกลง
ถึงพื้นดินพร้อมกัน การทดลองนี้พิสูจน์ว่าแรงโน้มถ่วงของโลกกระทำต่อวัตถุทั้งสองเท่ากัน วิธีการหา
ความรู้ด้วยการทดลองเชิงประจักษ์ได้ทำให้เกิดข้อความรู้มากมายเพื่อตอบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโลก
ธรรมชาติ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญซึ่งเปลี่ยนแปลงความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ที่สำคัญก็คือ
การค้นพบของชาลส์ ดาวินส์ (Charles Darwins) เรื่อง กำเนิดของสิ่งมีชีวิต (origin of species) ในปี
ค.ศ. 1859ซึ่งก่อกำเนิดทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ที่อธิบายว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกที่พบเห็นอยู่ในปัจจุบันนั้น
มิได้ดำรงอยู่อย่างที่เป็นในอดีต แต่เกิดจากการที่สิ่งมีชีวิตนั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่
เปลี่ยนแปลงมาอย่างยาวนาน ความคิดของมนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวิวัฒนาการ
ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1930-1950 ซึ่งเป็นช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นักจิตวิทยาที่ศึกษาค้นคว้า
เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ได้ใช้การทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อที่จะสร้างทฤษฎีที่จะอธิบายการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้ค้นพบความสัมพันธ์ของสิ่งเร้าและการตอบสนองที่มีผลต่อการ
แสดงพฤติกรรม ข้อความรู้จากนักจิตวิทยาเป็นประโยชน์ต่อนักการศึกษา แพทย์ นักธุรกิจและบุคคล
อื่นๆ ในการนำไปใช้ปรับพฤติกรรมของมนุษย์ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของทฤษฎี
การเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม แต่ช่วงที่มีการประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ มาสู่การออกแบบการเรียน
การสอนที่สำคัญคือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งเป็นแบ่งได้ 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1950-1975 จากห้องปฏิบัติการสู่ห้องเรียน
เป็นช่วงของการนำทฤษฎีการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นในห้องทดลองมาประยุกต์ใช้ใน
การออกแบบกระบวนการฝึกอบรมบุคคลให้มีทักษะการปฏิบัติ
ระยะที่ 2 ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1975-1990 ช่วงก่อกำเนิดของทฤษฎี
การเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมที่สนใจกระบวนการคิด การแก้ปัญหามากกว่าการทำเป็น ทำได้ดังเช่นใน
ช่วงแรก
ระยะที่ 3 ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1980-ปัจจุบัน เป็นช่วงที่ปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรมและปัจจัย
ด้านบุคคลได้รับความสนใจว่ามีผลกระทบต่อการเรียนรู้อย่างไร
ระยะที่ 4 ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1990-ปัจจุบัน เป็นช่วงการก่อกำเนิดของทฤษฎีการสร้างความรู้ที่เชื่อว่า
ความรู้เป็นสิ่งที่บุคคลแต่ละคนสร้างความหมาย ความเข้าใจของตนขึ้นจากประสบการณ์และความรู้เดิมที่มีอยู่
พัฒนาการของทฤษฎีการเรียนรู้ในแต่ละช่วงเวลาดังกล่าวจะช่วยให้เราเข้าใจแนวคิดและแนวโน้มของการออกแบบ
การเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปตามทฤษฎีการเรียนรู้ที่ยึดถือเป็นพื้นฐาน ซึ่งจะกล่าวถึงในรายละเอียด ดังนี้ (Gredler,
1997, pp. 51-60)
ระยะที่ 1 จากห้องปฏิบัติการสู่ห้องเรียน (ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1950-1975)
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ประกอบด้วยประเทศอเมริกา อังกฤษและ
ประเทศที่เป็นพันธมิตรมีความต้องการทางการทหารในการฝึกฝนคนให้สามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มี
ความซับซ้อนเพื่อใช้ในการสงคราม เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร การยิงปืนต่อสู้อากาศยาน เป็นต้น จึงเป็น
จุดเริ่มต้นของการน าแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ซึ่งวิจัยในห้องทดลองมาใช้จริงในการฝึกอบรม ซึ่งพบ
ปัญหาว่าหลักการเรียนรู้เกี่ยวกับผลของรางวัลที่มีต่อการฝึกหัดไม่ได้ผลมากนัก เพราะยังมีพฤติกรรมอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดและการรับรู้สารสนเทศ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวางเงื่อนไขของสิ่งเร้า
และการตอบสนองเท่านั้น จึงก่อให้เกิดความพยายามในการออกแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
มากขึ้น โดยคำนึงถึงองค์ประกอบในการเรียนการสอนต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะและ
ความสามารถในการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดีความต้องการทางการทหารในการฝึกคนในช่วงสงครามก็
ไม่ได้ทำให้การออกแบบการเรียนการสอนได้รับความสนใจและเห็นว่าเป็นความจำเป็นในระดับต้น ๆ
จนกระทั่งรัสเซียสามารถปล่อยยานอวกาศสปุทนิค (sputnik) ขึ้นสู่วงโคจรของโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
ในโลกเมื่อปี ค.ศ. 1957 ทำให้อเมริกาเริ่มตระหนักว่า ระบบการศึกษาของตนนั้นล้มเหลวและ
จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการศึกษาอย่างรีบด่วนโดยเฉพาะวิชาที่สำคัญ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
และภาษาศาสตร์ อเมริกาได้ทุ่มเทงบประมาณในการพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการพัฒนาทักษะด้านการคิด
การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบและให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น ในระยะนี้นักวิจัยทางการศึกษาสนใจที่จะ
นำทฤษฎีการเรียนรู้มาแปลงสู่การปฏิบัติหรือการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ได้มากขึ้น บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรและการออกแบบการเรียน
การสอนจนได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเสนอทฤษฎีการสอนเป็นคนแรกคือ บรูเนอร์
(Bruner, 1966, p. 40) โดยบรูเนอร์เป็นผู้ที่กล่าวว่า ทฤษฎีการสอนควรอธิบายหลักการสำหรับการออกแบบ
การเรียนการสอนในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังกล่าวว่าทฤษฎีการเรียนรู้เป็นข้อความ
ที่อธิบาย พรรณนาการเรียนรู้ว่าเป็นอย่างไร (descriptive) ในขณะที่ทฤษฎีการสอนเป็นข้อความเชิงบรรยาย
และพรรณนา (prescriptive) สภาพการณ์ของการจัดการเรียนการสอนว่าทำอย่างไร นอกจากบรูเนอร์แล้ว
แนวคิดในการออกแบบการเรียนการสอนของบุคคลที่มีผู้นำไปใช้ในห้องเรียนมากที่สุดในช่วงเวลานี้ คือ
แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner) เพียเจต์ (Piaget) และกานเย (Gagné) ผลงานในการนำทฤษฎี
การเรียนรู้ไปใช้ในการออกแบบหลักสูตรและการเรียนการสอนของบุคคลเหล่านี้ ได้แก่
1. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของบรูเนอร์ บรูเนอร์เป็นผู้ที่เสนอว่า เป้าหมายทางการ
ศึกษาควรเป็นไปเพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้และสติปัญญา ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีความสามารถในการ
แก้ปัญหา หลักสูตรควรเอื้อต่อการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยผ่านกระบวนการสืบสอบและค้นพบ
บรูเนอร์ได้แบ่งระดับการพัฒนาสติปัญญาว่ามี 3 ลำดับ ได้แก่
ขั้น enactive เป็นขั้นการลงมือปฏิบัติหรือขั้นทำเป็น แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ว่ามี
ขั้นตอนในการทำอย่างไร
ขั้น iconic เป็นขั้นที่สามารถสรุปสิ่งที่เห็นเป็นภาพ คือ สามารถนำเสนอสิ่งที่ทำได้เป็น
แผนภูมิ แผนภาพได้
ขั้น symbolic เป็นขั้นการคิดอย่างเป็นนามธรรม คือ สามารถใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์
เพื่ออธิบายประสบการณ์หรือการกระทำของตนได้
ในการเรียนรู้วิชาการต่าง ๆ จึงควรนำเสนอความรู้ให้เป็นไปตามลำดับการพัฒนาทาง
สติปัญญาของผู้เรียนคือ จากการกระทำสู่ภาพและสัญลักษณ์ หลักสูตรควรออกแบบเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ให้มีความรู้อย่างถ่องแท้ โดยการจัดโครงสร้างของเนื้อหาวิชาหรือการจัดความคิดรวบยอดที่ค่อย ๆ
พัฒนาผู้เรียนไปตามลำดับจากพื้นฐานยกระดับไปสู่ความคิดรวบยอดที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการจัดหลักสูตรแบบ
ก้าวเวียน “spiral curriculum” นอกจากนี้บรูเนอร์ยังได้กล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนที่อาจกล่าวได้
ว่าเป็นแนวคิดหรือหลักการในการออกแบบการเรียนการสอนว่า
“เราสามารถสอนวิชาใดก็ได้ให้กับนักเรียนไม่ว่าจะอยู่ในระดับขั้นพัฒนาการใดให้
เรียนรู้ได้ ถ้าจัดให้อยู่ในรูปแบบที่สอดคล้องกับสติปัญญาของผู้เรียน” (Bruner, 1964 cited in
Gredler, 1997, p. 53)
2. เครื่องช่วยสอนของสกินเนอร์ (Skinner’s teaching machine) สกินเนอร์เป็น
นักทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่ศึกษาการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (operant conditioning
theory) ในหลากหลายลักษณะเพื่อศึกษาผลของการตอบสนองต่อสิ่งเร้า สกินเนอร์สนใจการให้
แรงเสริมที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปสำคัญในการเรียนรู้ว่า การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับ
การเสริมแรงมีแนวโน้มที่จะกระทำซ้ าอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงมีแนวโน้มว่าความถี่ของ
การกระทำจะลดลงและหายไปในที่สุด สกินเนอร์ได้นำหลักการให้แรงเสริมนี้ไปพัฒนาเครื่องสอน
(teaching machine) สำหรับใช้ในห้องเรียนและสื่อที่ใช้ร่วมกับเครื่องสอนนี้ที่เรียกว่า บทเรียนแบบ
โปรแกรม (program instruction) ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ในยุคหลังสงคราม การสอนประกอบด้วย
สื่อที่ให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตนเอง (self-paced) และสื่อที่เรียนด้วยตนเอง (standalone)
โดยไม่ต้องมีผู้สอน เนื้อหาที่นำมาสอนจะจัดเป็นกรอบความรู้ที่เรียงลำดับจากง่ายไปยาก ผู้เรียน
เรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อที่จัดไว้ตามลำดับ สื่อการเรียนแบบโปรแกรมนี้ได้รับความนิยมในช่วง
ค.ศ. 1957-1965 หลังจากนั้นก็เสื่อมความนิยมลง เนื่องมาจากการออกแบบการเรียนการสอนโดยผู้ที่ไม่
เข้าใจการออกแบบและประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่เชื่องช้าในยุคนั้น อย่างไรก็ตามเครื่องสอนของ
สกินเนอร์ได้เป็นต้นแบบที่พัฒนามาเป็นบทเรียนส าเร็จรูปหรือบทเรียนแบบโปรแกรมในปัจจุบัน
ระยะที่ 2 การก่อกำเนิดของทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1975-1990)
การพัฒนาของทฤษฎีการเรียนรู้ในช่วงนี้คือ การค้นคว้าและหาพยานหลักฐานของการเรียนรู้
ที่เป็นการสร้างความหมาย ความเข้าใจของมนุษย์ โดยเชื่อว่ากระบวนการคิดของผู้เรียนคือปัจจัยสำคัญ
ในการอธิบายการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีที่ผู้เรียนรับรู้สารสนเทศ กระบวนการจัดกระทำกับสารสนเทศ
และการประยุกต์ใช้สารสนเทศ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมมุ่งอธิบายโครงสร้างทางความคิด
การเปลี่ยนแปลงความคิดและสิ่งที่เป็นตัวแทนความคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญในช่วงนี้คือทฤษฎี
เกสตัลต์ (gestalt theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อยู่กึ่งกลางระหว่างทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยมก่อนจะก้าวสู่
ทฤษฎีกลุ่มพุทธินิยม เป็นทฤษฎีที่สนใจเกี่ยวกับการรับรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นรูปร่างหรือรูปแบบที่เป็นภาพรวม
ของสิ่งนั้น หรือรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นสถานการณ์เดียวกัน
ทฤษฎีที่สำคัญอีกทฤษฎีหนึ่งคือ ทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ (information
processing theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาของเครื่องคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
ซึ่งมีศักยภาพในจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก ทฤษฎีนี้เปรียบเทียบการทำงานของสมองในการเปลี่ยน
สารสนเทศที่ได้รับมาเป็นโครงสร้างของความคิดที่เก็บเป็นความทรงจำของมนุษย์กับการประมวลผล
สารสนเทศของเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสนใจศึกษาเรื่อง“การรู้คิด” (metacognition) ซึ่ง
หมายถึง การตระหนักรู้เกี่ยวกับความรู้และความสามารถของตนเองและใช้ความเข้าใจในการรู้ดังกล่าวใน
การจัดการควบคุมกระบวนการคิด การท างานของตนด้วยกลวิธีต่าง ๆ อันจะช่วยให้การเรียนรู้และงาน
ที่ทำประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ (ทิศนา แขมมณี, 2555, หน้า 82)
ระยะที่ 3 การก่อกำเนิดของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1980-ปัจจุบัน)
ในช่วงที่ผ่านมา ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมไม่สามารถอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ที่
มีความซับซ้อนได้ ซึ่งทำให้นักจิตวิทยาให้ความสนใจผลกระทบของปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มี
ต่อการเรียนรู้ เป็นที่มาของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (social learning theory) เนื่องจากพฤติกรรม
การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งมีความซับซ้อน ต่างจากการศึกษา
พฤติกรรมของสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการมากนัก นักทฤษฎีการเรียนรู้คนสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ แบนดูรา
(Bandura, 1977) ซึ่งต่อมาได้รับการกล่าวถึงในฐานะนักทฤษฎีพุทธินิยมเชิงสังคม (social-cognitive
theory) หลักการพื้นฐานที่สำคัญของทฤษฎีนี้กล่าวว่า ผู้เรียนเรียนรู้พฤติกรรมใหม่จากการสังเกตพฤติกรรม
ของผู้อื่นหรือที่เรียกว่าพฤติกรรมตัวแบบและผลที่ตามมาของการแสดงพฤติกรรมและนำสารสนเทศที่ได้รับ
จากการสังเกตมาใช้ในการตัดสินใจว่าจะยอมรับพฤติกรรมใดเพื่อนำไปปฏิบัติ กระบวนการในการสังเกต
และตัดสินใจนี้เป็นกระบวนการภายในที่เกิดกับผู้เรียนเกี่ยวกับการประมวลผลสารสนเทศ ทฤษฎีการเรียนรู้
ของแบนดูราจึงเป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานจากทั้งทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยมและทฤษฎีกลุ่มพุทธินิยม แบนดูรา
ยังพบว่าทั้งตัวแบบและความเชื่อที่บุคคลมีต่อตนเองเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้ (Gredler, 1997)
ไวก็อทสกี (Vygotsky) เจ้าของทฤษฎีประวัติศาสตร์สังคม (socio-historical theory) เป็น
อีกผู้หนึ่งที่ได้รับการจัดให้เป็นนักทฤษฎีในกลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมนี้ด้วย ผลงานของไวก็อทสกี
แม้ว่าจะเป็นงานที่ทำมานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1924-1938 ซึ่งเป็นงานที่อธิบายกระบวนการคิดของมนุษย์
เช่นเดียวกับงานของเพียเจต์แต่มีแนวคิดในลักษณะที่แตกต่างกัน แต่กว่าผลงานของเขาจะได้รับการแปล
จากภาษารัสเซียเป็นภาษาอังกฤษและได้รับการตีพิมพ์ให้โลกตะวันตกได้ทราบนั้นก็ล่วงมาถึง ปี ค.ศ. 1980
ซึ่งทำให้ทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism) ซึ่งพัฒนาต่อจากทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมได้รับ
ความสนใจจากนักการศึกษาทั่วโลกอย่างแพร่หลาย (Gredler, 1997, p. 237)
ระยะที่ 4 การก่อก าเนิดของทฤษฎีการสร้างความรู้ (ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1990-ปัจจุบัน)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism) มีพื้นฐานมาจากปรัชญาเหตุผลนิยม (rationalism)
ปรัชญานี้มีความเชื่อว่าเหตุผลเป็นแหล่งกำเนิดของความรู้ ความจริงได้จากการสร้างมากกว่าการค้นพบ
นักปรัชญาเหตุผลนิยมเชื่อว่าไม่มีความจริงเดียวที่ได้รับการค้นพบ แต่ละคนสร้างความจริงที่เป็นของตนเอง
(Smith & Ragan,1999, p. 15) เมื่อสืบสาวถึงที่มาของทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism)
พบว่าพื้นฐานสำคัญมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (cognitive development) ของเพียเจต์
และทฤษฎีประวัติศาสตร์สังคม (socio-historical theory) ของไวก็อทสกี ทั้งสองทฤษฎีทำให้เกิดหลักการ
สำคัญในการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีผู้นำมาใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลกในปัจจุบัน
การปฏิรูปการศึกษาของไทยทศวรรษแรก ระหว่างปี พ.ศ. 2540–2550 ที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด ก็ได้มี
การนำทฤษฎีการสร้างความรู้นี้มาเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการจัดการเรียนรู้
จากพัฒนาการของทฤษฎีการเรียนรู้ในแต่ละระยะที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าทฤษฎีการ
เรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญในการออกแบบการเรียนการสอน ในช่วงแรกคือ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่ม
พฤติกรรมนิยม (behaviorism) ต่อมาทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (cognitivism) ทฤษฎีการเรียนรู้
ทางสังคม ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมและทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมนี้เองซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ
ของทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีบทบาทสำคัญในการออกแบบการเรียน
การสอนในปัจจุบัน

//ที่มา https://sites.google.com/site/hnwykarreiynru123/phathnakar-khxng-thvsdi-kar-reiyn-ru
24/04/2561 google.com